การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) เป็นการตรวจพิเศษภายในหัวใจและหลอดเลือด โดยการเจาะเลือดสวนปลาย เช่นที่ขาหนีบ ต้นคอ แล้วใส่สายสวนขนาดเล็กเข้าไป และสอดผ่านตามแนวหลอดเลือดไปถึงหัวใจและหลอดเลือด หัวใจ เพื่อวัดความดันและความอิ่มตัวของออกซิเจนในตำแหน่งต่าง ๆ ของหัวใจ และ ฉีดสารทึบรังสีพร้อมกับบันทึกภาพด้วยเอกซเรย์ เพื่อศึกษาลักษณะภายในห้องหัวใจและ หลอดเลือด เช่น สมรรถภาพการทำงานของหัวใจ การตีบหรือรั่วของลิ้นหัวใจ หรือ การตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการรักษาที่ถูก ต้องต่อไป การตรวจสวนหัวใจทำโดยทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่หลายคนกรรมวิธีการตรวจจะสะอาดและปราศจากเชื้อโรค
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมินความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (เช่น ลิ้นหัวใจตีบ) ผนังกั้นห้องหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจและเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและการเคลื่อนที่ของผนังหัวใจมีความผิดป
การเตรียมตรวจ
- บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้ช่วยประเมินหน้าที่ของหัวใจและหลอดเลือด
- แจ้งผู้ป่วยว่าอาจได้รับยานอนหลับแต่ยังคงรู้สึกตัวขณะตรวจ ผู้ป่วยจะนอนบนเตียงราบ พร้อมทั้งมีกล้องที่หมุนได้เพื่อถ่ายภาพหัวใจในมุมต่าง ๆ
- แจ้งผู้ป่วยว่าทีมผู้ตรวจจะสวมถุงมือ หน้ากาก และเสื้อคลุม เพื่อป้องกันการติดเชื้อมายังผู้ป่วย
- บอกผู้ป่วยว่าผู้ตรวจจะฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำที่แขน และตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ติด EKG บริเวณหน้าอกระหว่างการตรวจ แต่จะไม่รู้สึกเจ็บ)
- บอกผู้ป่วยว่าสายสวนจะถูกสอดเข้าทางหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำที่แขนหรือขา หากผิวหนังบริเวณหลอดเลือดที่จะแทงเข็มมีขนมากจะต้องโกนออก และทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ
- ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนถึงกำหนดเวลาทำการตรวจประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง แต่รับประทานยาที่แพทย์สั่งต่อไปได้ ยกเว้นแพทย์จะสั่งเป็นอย่างอื่น
- อธิบายการตรวจ รวมทั้งผู้ตรวจและสถานที่ที่จะตรวจ
- บอกผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาก่อนตรวจ
- บอกผู้ป่วยว่าจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยขณะที่แพทย์แทงเข็มฉีดยาชาบริเวณที่จะใส่สายสวน อาจจะรู้สึกมีแรงดันสายเข้าไปในหลอดเลือด
- บอกผู้ป่วยว่าขณะฉีดสีเข้าทางสายสวนจะรู้สึกร้อน ๆ วูบวาบ (หน้าแดง) หรือคลื่นไส้ และอาการจะหายไปอย่างรวดเร็ว แนะนำให้ผู้ป่วยไอหรือหายใจลึก ๆ
- อธิบายผู้ป่วยว่าจะได้รับยาหากมีอาการเจ็บหน้าอกระหว่างการตรวจและ อาจได้ยาไนโตรกลีเซอรีนเป็นระยะ ๆ เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ เห็นภาพดีขึ้น ให้ความมั่นใจว่าจะพบภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายหลอดเลือดอุดตัน
- ตรวจสอบประวัติของผู้ป่วยว่ามีการแพ้อาหารทะเล ไอโอดีนหรือสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยอื่นหรือไม่ รายงานให้แพทย์ทราบว่า เคยมีการแพ้หรือไม่
- งดยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ใช้รักษาอยู่เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจาการเสียเลือดทางหลอดเลือด
- ก่อนตรวจให้ผู้ป่วยปัสสาวะและสวมเสื้อคลุมของโรงพยาบาล
- ผู้ป่วยเด็กต้องมาอยู่โรงพยาบาล 1 วัน ก่อนการตรวจและได้รับยานอนหลับโดยการรับประทาน และฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 30 นาทีก่อนเวลาตรวจ
- ยกเว้นใน รายที่จะได้รับการดมยาสลบ สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่โดยทั่วไปไม่ต้องให้ยานอนหลับก่อนการ ตรวจ มีบางรายอาจได้รับการดมยาสลบซึ่งแพทย์จะแจ้งให้ทราบ
การตรวจ
1.เมื่อผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจในท่านอนราบ ซึ่งปรับระดับขึ้นลงได้ และผูก ยึดให้ความมั่นคงปลอดภัยของตัวผู้ป่วย เจ้าหน้าที่จะติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อ ตรวจดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ตลอดเวลาพร้อมอธิบายอุปกรณ์รอบ ๆ ตัวผู้ป่วยแพทย์ จะทายาฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่จะเจาะตรวจ แล้วปูผ้าปลอดเชื้อบนตัวผู้ป่วย เปิดเส้นให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำด้วย 5% D/W หรือ NSS
2.แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่ใส่สายสวน เช่น ขาหนีบหรือต้นคอ
3.เมื่อชาแล้วแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะบริเวณที่ฉีดยาชา แล้วใส่ท่อเล็กขาดสั้นคาไว้ จากนั้นจะสอดใส่สายสวนหัวใจขนาดเล็กผ่านท่อนี้
4.สายสวนหัวใจจะถูกสอดผ่านตามแนวหลอดเลือดไปห้องหัวใจและหลอดเลือดหัวใจที่ต้องการตรวจ โดยใช้รังสีเอกซเรย์ตามดูตลอด จะมีการตรวจหาข้อมูลในบริเวณที่ต้องการดังกล่าวข้างต้น และฉีดสารทึบรังสีในบริเวณที่มีรอยโรค และบันทึกภาพเอกซเรย์ลงบนแผ่นซีดี ระหว่างตรวจอาจมีการเปลี่ยนสายสวน 2 – 3 ครั้ง
5.บอกผู้ป่วยให้ไอหรือจามลึก ๆ เพราะการอจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ หรือลดอาการหน้าแดง ซึ่งเป็นผลจากสารทึบรังสี และแก้ไขอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ การหายใจลึก ๆ จะช่วยให้ใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือด ที่ไปเลี้ยงปอด (pulmonary) ได้ง่ายขึ้น หรือช่วยให้กะบังลมหย่อนตัวจะช่วยให้ เห็นหัวใจได้ชัดเจนขึ้น
6.ระหว่างตรวจ ผู้ป่วยจะได้รับยาไนโตรกลีเซอรีน เพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อขณะสอดใส่สายสวน หรือเพื่อตรวจดูผลจากยาที่มีต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
7.เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว แพทย์จะดึงสายสวนและท่อที่คาไว้ออก แล้วกดบริเวณที่แทงเข็มเข้าหลอดเลือดนานประมาณ 10 นาที หรือจนกว่าเลือดจะหยุด แล้วปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
8. หลังตรวจเมื่อแพทย์เห็นว่าปลอดภัยแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดที่หอผู้ป่วย และห้ามงอขาข้างที่เจาะหลอดเลือดอย่างน้อย 6 – 12 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ เลือดออก หากมีเลือดออกหรือรอยแผลที่เจาะบวมขึ้นหรือรู้สึกไม่สุขสบาย ต้องแจ้งแพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแล
9.แพทย์ผู้ตรวจจะแจ้งผลการตรวจและแนวทางการรักษาพอสังเขปให้ผู้ป่วย หรือญาติทราบหลังตรวจเสร็จ
10.ส่วนใหญ่ผลการตรวจจะได้รับการนำเข้าที่ประชุมร่วมระหว่างแพทย์โรค หัวใจและศัลยแพทย์ทรวงอกและหัวใจ เพื่อพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การดูแลภายหลังตรวจ
1.บันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาที 2 ชั่วโมงหลังตรวจ ทุก 30 นาที 2 ชั่วโมง ต่อมา และทุกชั่วโมง 2 ชั่วโมง (หรือบันทึกอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ การหายใจ อัตราชีพจร และความดันโลหิตบ่อย ๆ ) ระหว่างการตรวจหากไม่มีเลือดออก ใต้ผิวหนังห้อห้อเลือดหรือปัญหาอื่น ๆ เกิดขึ้น เริ่มบันทึกทุก 4 ชั่วโมง หากสัญญาณ ชีพไม่สม่ำเสมอ ให้บันทึกทุก 5 นาที และรายงานให้แพทย์ทราบ
2.สังเกตตำแหน่งของสายสวนว่ามีห้อเลือดหรือมีเลือดอกหรือไม่ หากมีต้องควบคุมไม่ให้เลือดออก
3.ตรวจดูสีผิว อุณหภูมิของผิวหนัง และชีพจรส่วนปลายต่ำกว่าตำแหน่งที่เจาะ ตรวจดูชีพจรบริเวณข้อพับอาจพบการหดเกร็งของหลอดเลือด
(มีอาการมือเย็น และชีพจรเบา) ตรวจดูใน 2 ชั่วโมงหลังตรวจ
4.ให้ผู้ป่วยพยายามนอนพักอยู่บนเตียงนาน 8 ชั่วโมง หากใส่สายสวนที่ขาหนีบให้ผู้ป่วยเหยียดขาไว้ 6 – 8 ชั่วโมง หากใส่สายสวนที่ข้อพับแขนให้เหยียดแขน ไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง
5.หากผู้ป่วยได้รับยาก่อนตรวจ ให้ตรวจสอบกับแพทย์เรื่องการหยุดให้ยาไว้ชั่วคราว
5.ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
6.กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น น้ำส้ม เพราะต้องให้ยาขับปัสสาวะสำหรับขับสารทึบรังสี
7.เพื่อให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยหลังตรวจควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อตรวจสอบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
ข้อควรระวัง
1.ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด มีหน้าที่ของไตบกพร่องไม่มีแรง ไม่ควรสวนหัวใจทั้ง 2 ข้าง ยกเว้นติดเครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ ชนิดชั่วคราว (temporary pacemaker) เพื่อการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง ผู้ป่วยที่มีการนำไฟฟ้าในหัวใจด้านซ้ายถูกปิดกั้น (left bundle – branch block) มีข้อห้ามทำการสวนหัวใจข้างขวา
2.หากผู้ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจควรให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพื่อป้องกันโรคเยื่อบุห้องหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Subacute bacterial endocarditis; SBE)
ผลการตรวจที่เป็นปกติ
การตรวจสวนหัวใจไม่ควรจะตรวจพบสิ่งผิดปกติของขนาดห้องหัวใจ หรือโครงสร้างของหัวใจ การเคลื่อนไหวของผนังเยื่อบุหัวใจ หรือความหนาของผนังเยื่อบุหัวใจ ทิศทางของการไหลของเลือด หรือปิดเปิดของลิ้นหัวใจ ได้แก่ หลอดเลือดแดงหัวใจควรจะเรียบและมีรูปร่างที่สม่ำเสมอ และเห็นหลอดเลือดชัดเจน
การตรวจสวนหัวใจจะช่วยให้ทราบข้อมูลของความดันในห้องหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ความดันที่สูงกว่าปกติเป็นการตรวจพบทางคลินิกที่สำคัญ ความดันโลหิตต่ำกว่าปกติจะพบในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกซึ่งไม่สำคัญ
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
ความผิดปกติที่พบบ่อยที่ยืนยันโดยการตรวจสวนหัวใจ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (coronary artery disease; CAD) กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ (myocardial incompetence) โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) และ ผนังหัวใจมีรูรั่ว (septal defects)
ในโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การตรวจสวนหัวใจจะเห็นการตีบของหลอดเลือดแดงโคโรนารี การตีบของหลอดเลือดที่มากกว่าร้อยละ 70 เห็นลักษณะเฉพาะ ของรอยโรคที่ใกล้เคียง เห็นการแคบลงของ left main coronary และการอุดตันหรือการตีบแคบใน left anterior descending artery ซึ่งเป็นข้องบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือด (รอยโรคนี้เป็นการตอบสนองที่ดีที่สุดต่อการทำ coronary artery bypass grafting)
การเคลื่อนไหวของผนังห้องหัวใจที่ลดลงเป็นข้อบ่งชี้ของกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้จาก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การโป่งพองของหลอดเลือด โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) หรือหัวใจมีความพิการแต่กำเนิด (congenital anomalies) เปรียบเทียบขนาดของหัวใจห้องล่างซ้ายในช่วงบีบตัวและคลายตัว ช่วยประเมินประสิทธิภาพของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การเคลื่อนไหวของผนังหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจ (ejection fraction; EF) หาก EF ต่ำกว่า 35% การเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่และลดความสำเร็จในการผ่าตัด
โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) จะบ่งชี้โดยความแตกต่างของความดันเหนือและใต้ลิ้นหัวใจ เช่น ความดันขณะหัวใจบีบตัววัดได้ขณะที่ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ หากเวนตริเคิลซ้ายบีบตัวมีความดันเลือดวัดได้ 200 มม.ปรอท และเอออร์ติกบีบัวมีความดันเลือดที่วัดได้ 120 มม.ปรอท แสดงว่า gradient ผ่านทะลุลิ้นหัวใจ 80 มม.ปรอท เนื่องจากความดันเหล่านี้ควรจะปกติเท่า ๆ กับระหว่างหัวใจบีบตัว เมื่อลิ้นหัวใจเอออร์ติกเปิด gradient ของความสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าต้องการการผ่าตัดเพื่อ แก้ไขในลิ้นหัวใจรั่ว สามารถมองเห็นได้ระหว่างการแดสารทึบรังสีในห้องหัวใจห้องล่าง (Ventriculography) โดยเผ้ามองภายหลังการไหลของสารทึบรังสี (contrast medium) ไหลเข้าลิ้นหัวใจระหว่างการบีบตัวของหัวใจ
โรคที่มีความผิดปกติของผนังห้องหัวใจ (septal defects) ทั้งผนังกั้นห้องหัวใจห้องบน (atrium) และห้องล่าง (ventricle) สามารถยืนยันโดยการวัดปริมาณ ออกซิเจนในเลือดในหัวใจทั้งสองข้าง ระดับออกซิเจนในเลือดในหัวใจข้างขวาบ่งชี้ถึงประเภทที่มีเลือดลัดวงจรจากซ้ายไปขวา (Left – right atrial shunt) หรือสายระบายจากโพรงสมอง (ventricular shunt) หากระดับออกซิเจนในเลือดในหัวใจข้างซ้ายลด ลงบ่งชี้ถึงประเภทที่มีเลือดลัดวงจรจากขวาไปซ้าย (right – to – left shunt)
ปริมาณเลือดที่ส่งออกจากหัวใจใน 1 นาทีสามารถวัดได้โดยวิเคราะห์ระดับออกซิเจนในเลือดในห้องหัวใจ การวัดนี้อาจทำให้สมบูรณ์โดยการดูดเลือดจากห้อง หัวใจหรือโดยการฉีดสีเข้าไปในเลือดดำและวัดความเข้มข้นของเลือดที่เคลื่อนผ่านสายสวนที่วัดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของเลือด (thermodilution catheter)
ภาวะแทรกซ้อน
น้อยกว่าร้อยละ 2 และส่วนใหญ่มักเป็นชนิดไม่รุนแรง เช่น เลือดออกจากบริเวณที่เจาะ หลอดเลือดฉีกขาด หลอดเลือดอุดตัน การติดเชื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายถึงชีวิตพบน้อยมาก (ประมาณ 1:10,000)
ระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาล
ผู้ป่วยจะต้องอยู่โรงพยาบาล 1 – 2 คืน ในกรณีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ในเช้าวันรุ่งขึ้น ยกเว้นในบางรายที่อาจต้องอยู่โรงพยาบาลต่อเพื่อรอการตรวจรักษาเพิ่มเติม
วันกลับบ้าน
ผู้ป่วยและหรือญาติจะได้รับการนัดมาฟังผลการตรวจ และแนวทางการ รักษาในสัปดาห์ถัดไป เพราะผลสุดท้ายของการตรวจมักต้องผ่านที่ประชุมร่วมของ อาจารย์แพทย์ดังกล่าวแล้ว