การส่องกล้องดูไส้ตรงลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง และลำไส้ใหญ่ส่วนคด (Proctosigmoidoscopy) เป็นการใช้กล้องส่องลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง (proctoscope) ส่วน ซิกมอยด์ (sigmoidoscope) และการตรวจด้วยนิ้วมือเพื่อประเมินเยื่อบุของลำไส้ใหญ่ ส่วนซิกมอยด์ (sigmoid colon) ทวารหนัก (rectum) และช่องทวารหนัก (anal canal) การตรวจนี้ใช้ตรวจผู้ป่วยที่มีนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป มีอาการปวดท้องส่วนล่างและปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน มีอาการคันที่ผิวหนัง (pruritus) และมีมูกเลือด หรือหนองในอุจจาระ สิ่งส่งตรวจอาจได้จากการตัดชิ้นส่วนจากเยื่อบุของลำไส้บริเวณที่สงสัยจากการล้าง (lavage) หรือใช้แปรงเซลล์ (cytology brush) หรือใช้ไม้ป้ายเพื่อเพาะเชื้อ (culture swab) ภาวะแทรกซ้อนของการตรวจนี้ คือ มีเลือดออกทางทวารหนัก และอาจพบลำไส้ทะลุได้
วัตถุประสงค์การส่องกล้องดูไส้ตรง ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง และลำไส้ใหญ่ส่วนคด
- เพื่อช่วยวินิจฉัยการอักเสบ การติดเชื้อ และโรคลำไส้เป็นแผล
- เพื่อชี้ขาดว่าเลือดออกจากจากส่วนใดของลำไส้และมีฝีในทวารหนักหรือไม่
การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อดูเยื่อบุของลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์และทวารหนัก
2.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้ใช้เครื่องมือ 2 อย่างผ่านทางทวารหนัก และบอกว่าใครจะเป็นผู้ตรวจ ตรวจอย่างไร และตรวจที่ไหน
3.ตรวจสอบประวัติเรื่องการแพ้ การได้รับยา และข้อมูลการเจ็บป่วยต่าง ๆสอบถามว่าผู้ป่วยเคยได้รับการตรวจด้วยแป้งแบเรียมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่ เนื่องจากแป้งแบเรียมในลำไส้ที่มีอยู่จากการตรวจด้วยแป้งแบเรียมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเป็นอุปสรรคในการตรวจอย่างแน่นอน
4.การเตรียมเรื่องอาหารและลำไส้ สำหรับการตรวจนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ ให้ทำตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด บอกผู้ป่วยว่าการทำให้ลำไส้โล่ง จะช่วยให้มองเห็นได้ดีกว่า
5.แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่เป็นน้ำ ๆ (liquid diet) 24 – 48 ชั่วโมง ก่อนตรวจ โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานผัก ผลไม้ก่อนตรวจ และงดอาหารเช้าวันตรวจโดยทำตามแพทย์สั่ง
6.ก่อนตรวจ 3 – 4 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะได้รับการสวนอุจจาระด้วยน้ำอุ่น หรือ สวนอุจจาระด้วยโซเดียมไบฟอสเฟต (sodium biphosphate) บางครั้งการตรวจอาจ ไม่ต้องเตรียมลำไส้เพราะการสวนอุจจาระอาจไปรบกวนลำไส้และกระทบกระเทือนต่อ เยื่อบุลำไส้ ดังนั้นการสวนอุจจาระด้วยน้ำสบู่ (soapsuds enema) จึงไม่เหมาะกับการสวนก่อนการตรวจชนิดนี้ นอกจากการตรวจมีอุปสรรคเนื่องจากมีปริมาณอุจจาระมาก อาจจำเป็นต้องสวนอุจจาระก่อนตรวจ
7.บอกผู้ป่วยว่าขณะตรวจ อาจต้องทำเตียงให้เอียง และหมุนขึ้นลง ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง
8.บอกผู้ป่วยว่า ผู้ตรวจจะใช้นิ้วผู้ตรวจและเครื่องมือ ซึ่งทาด้วยสิ่งหล่อลื่นก่อนใส่เข้าไปในทวารหนัก เพื่อช่วยให้ใส่เข้าทวารหนักได้ง่ายขึ้น ขณะที่ใส่เครื่องมือเข้าไปในทวารหนักตอนแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกเย็น ๆ และอาจจะรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระเมื่อ เครื่องมือเคลื่อนเข้าไปเรื่อย ๆ
9.บอกผู้ป่วยว่าเครื่องมืออาจทำให้ผนังลำไส้ตึง และเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อเกร็งหรือปวดท้องบริเวณส่วนล่าง
10.แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจทางปากลึก ๆ และช้า ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อท้อง คลายตัว ซึ่งจะช่วยให้ลดความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระและลดความไม่สุขสบายลง
11.บอกผู้ป่วยว่าอาจใส่ลมเข้าทางกล้องส่องตรวจไปยังลำไส้เพื่อทำให้ผนังลำ ไส้ตึง ซึ่งอาจทำให้ท้องอืดผู้ป่วยไม่ต้องกลั้นลมไ
12.บอกผู้ป่วยว่าจะมีเครื่องดูดเอาเลือด เมือก หรืออุจจาระเหลว ๆ ที่บดบังการมองเห็น แต่จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบาย
13.บอกผู้ป่วยว่าอาจมีสายน้ำเกลือเพื่อให้ยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ หากผู้ป่วยไม่ได้นอนโรงพยาบาลหลังจากตรวจเสร็จควรมีผู้อื่นพากลับบ้าน
14.ก่อนตรวจให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาให้เรียบร้อย
15.หากผู้ป่วยมีการอักเสบที่ทวารหนัก ต้องฉีดยาชาประมาณ 15 – 20 นาที ก่อนตรวจเพื่อลดอาการเจ็บปวดบริเวณทวารหนัก
การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจ
1.บันทึกสัญญาณชีพก่อนตรวจและระหว่างการตรวจ
2.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเข่าชิดอก (knee – chest position) หรือท่านอนตะแคงซ้ายและงอเข่าพร้อมจัดเสื้อผ้า (drape) ให้ผู้ป่วยด้วย
3.หากใช้ท่านอนตะแคงซ้าย อาจใช้หมอนทรายรองใต้สะโพกซ้ายของผู้ป่วย เพื่อช่วยหนุนให้ก้นสูงขึ้นจากขอบเตียง ก้นขวาสูงขึ้นเล็กน้อย แล้วตรวจทวารหนักและ บริเวณอุ้งเชิงกรายอย่างนุ่มนวล
4.บอกผู้ป่วยให้หายใจทางปากลึก ๆ และช้า ๆ ผู้ตรวจจะคลำช่องทวารหนัก (anal canal) ทวารหนัก (rectum) และเยื่อบุทวารหนัก (rectal mucosa) เพื่อหาบริเวณกดเจ็บ ผู้ตรวจเอานิ้วออก และตรวจสอบว่ามีเลือดอก เมือก หรืออุจจาระหรือไม่
5.หล่อลื่นกล้องส่องลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ และบอกผู้ป่วยว่าจะใส่กล้องเข้าทางทวารหนัก ยกก้นขวาขึ้น และกล้องส่องลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ใส่เข้าไปในทวารหนัก กล้องจะใส่เข้าไปผ่านหูรูดทวารหนัก บอกให้ผู้ป่วยกลั้นอุจจาระไว้เพื่อช่วยให้กล้องสามารถผ่านเข้าไปได้ในลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ โดยผ่านเข้าทางทวารหนัก
6.ระหว่างรอยต่อไส้ตรง กับลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ ใส่ลมเข้าไปเล็กน้อยเพื่อเปิดช่องทางของลำไส้ให้กล้องผ่ายเข้าไปยังลำไส้ใหญ่
7.นำกล้องส่องลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ออกช้า ๆ ใส่ลมเข้าไปและนำเยื่อเมือกลำไส้ไปตรวจ
8.หากอุจจาระขัดขวางการมองเห็นจากเลนส์ (eyepiece) ที่กล้อง ให้นำอุจจาระออกก่อนแล้วใช้สำลีป้าย (cotton swab) ผ่านกล้อง และอาจดูดเอาเลือด สารคัดหลั่ง หรือน้ำอุจจาระออกด้วย9. นำสิ่งส่งตรวจจากตำแหน่งของเยื่อยุลำไส้ที่สงสัยว่าผิดปกติโดยใช้ปากคีบตัดชิ้นเนื้อ (biopsy forceps) แปรงเซลล์ (cytology brush) หรือใช้ไม้ป้ายเอาส่วนที่ผิดปกติออกมาเพื่อส่งเพาะเชื้อ(culture swab) ผ่านทางกล้องส่องลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ (sigmoidoscope)
10.อาจตัดติ่งเนื้ออกเพื่อส่งตรวจชิ้นเนื้อ โดยใส่ห่วงไฟฟ้าตัดผ่านกล้อง
11. ส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการและดูพยาธิสภาพ และส่งทันทีโดยใส่ใน 10% formalin ส่งสไลด์เพื่อตรวจดูเซลล์ (cytology slides) ในโถแก้วย้อมสไลด์ (coplin Jar) ใส่ใน 95% ethyl alcohol และใช้ไม้ป้ายเพื่อเพาะเชื้อในหลอดเพาะเชื้อ (culture tube)
12.หลังจากเอากล้องส่องลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ออก หล่อลื่นกล้องส่องลำไส้ใหญ่ส่วนพรอคโต และบอกผู้ป่วยว่าจะใส่กล้องอีกครั้
13. ยกก้นขวาขึ้นและใส่กล้องส่องลำไส้ใหญ่ส่วนพรอคโต ผ่านทวารหนักและเลื่อนเข้าไปจนสุด
14. เลื่อนกล้องลงมาผ่านเยื่อยุของทวารหนักตรวจอย่างละเอียด สิ่งส่งตรวจอาจได้จากบริเวณเยื่อบุลำไส้ที่สงสัย
15.หากต้องการตัดชิ้นเนื้อบริเวณทวารหนัก ให้ฉีดยาชาก่อน
16.หลังจากตรวจเสร็จแล้วเอากล้องออก
17.หากผู้ป่วยได้รับการตรวจด้วยท่าเข่าชิดอก (knee – chest) แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนในท่านอนหงายราบสักระยะหนึ่งก่อนที่จะยืนขึ้น เพื่อป้อนกันอาการหน้ามืดขณะเปลี่ยนท่า (orthostatic hypotension)
18. สังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ลำไส้ทะลุ และเป็นลมเนื่องจากภาวะเครียด หากผู้ป่วยมีอาการต้องรายงานให้แพทย์ทราบทันที
19.ไม่ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารจนกว่าจะรู้สึกตัวดี
20.บันทึกสัญญาณชีพตามมาตรฐานจนกว่าผู้ป่วยจะรู้สึกตัวดี
21.หากมีลมเข้าไปในลำไส้ จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่เป็นส่วนตัวหลังตรวจเสร็จบอกผู้ป่วยว่ามีลมในลำไส้มากอาจทำให้ผายลมได้บ่อย ๆ
22.หากตัดชิ้นเนื้อด้วย บอกผู้ป่วยว่าอาจทำให้มีเลือดออกมากับอุจจาร
ข้อควรระวัง
1.หากมีชิ้นเนื้อ หรือส่งไม้ป้ายเพื่อเพาะเชื้อ (culture swab)ให้เขียนติดสิ่งส่งตรวจให้ชัดเจน และรีบส่งทันที
2.โดยทั่วไปการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่เป็นข้อห้ามอย่างไรก็ตามจะทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการมีเลือดออกได้
3.หากผู้ป่วยได้รับยานอนหลับ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุราเป็นเวลา 24 ชั่วโมงและไม่ควรขับรถเป็นเวลา 12 ชั่วโมง
ผลการตรวจที่เป็นปกติ
เยื่อบุบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ (sigmoid colon) จะมีสีชมพูอมส้มส่วนเยื่อบุทวารหนัก (rectal mucosa) จะเป็นสีแดง เนื่องจากมีหลอดเลือดมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
จาการตรวจและการคลำจะเห็นความผิดปกติของช่องทวารหนัก (anal canal) และทวารหนัก (rectum) ซึ่งประกอบด้วย มีริดสีดวงทวาร มีติ่งเนื้อ มีฝี มีก้อนมะเร็งการตรวจอาจจะเห็นการอักเสบของลำไส้กล้องเนื้องอก นอกจากนี้การตัดชิ้นเนื้อไปเพาะเชื้อ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ มีความจำเป็นเพื่อตรวจหาความผิดปกติอื่น ๆ ต่อไป