รกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำ หมายถึง ภาวะที่รกเกาะอยู่ใกล้กับปากมดลูก หรือขวางปากมดลูก

พบในหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 200 ราย มักพบในครรภ์หลัง (ยิ่งครรภ์หลัง ๆ ยิ่งมีโอกาสพบได้มากขึ้น) หรือในครรภ์แฝดนอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของมดลูก (เช่น มีก้อนนี้งอกในมดลูก) หรือเคย มีประวัติการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมาก่อนก็อาจทำให้การเกาะตัวของรกกับผนังมดลูกปกติไป เมื่อใกล้คลอดมักทำให้เกิดมีอาการตกเลือดซึ่ง อาจเป็นอันตรายได้

อาการ รกเกาะต่ำ

                มีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นพัก ๆโดยไม่มีอาการปวดเจ็บในท้องแต่อย่างใด และมดลูกนุ่มเป็นปกติโดย มากมักจะเกิดเมื่อครรภ์ได้ 7  เดือนขึ้นไป ถ้าเป็นไม่มาก เลือดอาจออกเล็กน้อยและหยุดไปได้เอง และทารกสามารถคลอดตามปกติได้

แต่ถ้ารกเกาะต่ำมากหรือขวางปากมดลูก อาจทำให้ตกเลือดมาก จนผู้ป่วยเกิดภาวะช็อกได้ หรือทารกใน ครรภ์ขาดออกซิเจนตายในท้องได้ โรคนี้บางครั้งอาจแยกไม่ออกจากรกลอกตัวก่อนกำหนด

การรักษา รกเกาะต่ำ

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลทุกราย มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจอัลตราซาวด์

                ถ้าเลือดออกไม่มาก ควรให้ผู้ป่วยนอนพักในโรงพยาบาลจนกว่าเลือดจะหยุด หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยกลับบ้าน และนัดมาตรวจอย่างใกล้ชิด   จนกระทั่งเด็กคลอด ในกรณีนี้อาจคลอดตามธรรมชาติได้แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

                ถ้าเลือดออกมากอาจต้องให้เลือด และทำการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ในการตรวจภายในช่องคลอด ต้องทำด้วยความระวัดระวัง และเตรียมพร้อมที่จะให้เลือดและทำการผ่าตัดได้ทันที

[Total: 0 Average: 0]