ถ้าสงสัยตั้งครรภ์หรือแพ้ท้อง ควรทำการทดสอบ การตั้งครรภ์ด้วยการใช้ชุดตรวจปัสสาวะสำเร็จรูป หากตรวจ 2 ครั้งแล้วให้ผลลบ อาจต้องส่งตรวจหาระดับ ฮอร์โมนเอชซีจีในเลือด ซึ่งให้ผลแน่นอนกว่าและสามารถตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ของการตั้งครรภ์
หากพบว่ามีการตั้งครรภ์ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไป ตรวจที่คลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ซึ่งมีแนวทางการดูแลครรภ์ ดังนี้
1.ตรวจเช็กสุขภาพทั่วไปของมารดาและทารกในครรภ์ ประเมินอายุครรภ์* และความเสี่ยง โดยการชัก ประวัติตรวจร่างกายอย่างละเอียด และทำการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจระดับความเข้มข้นของเลือด รวมทั้งขนาด และลักษณะของเม็ดเลือดแดงกลุ่มเลือด (ABOและ Rh) ตรวจกรองโรคเบาหวาน โรคติดเชื้อ (เช่น ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบีเอดส์ หัดเยอรมัน เป็นต้น) ทาลัสซีเมีย บางรายแพทย์อาจทำการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อดูลักษณะและความผิดปกติของทารกในครรภ์
2.ให้การดูแลภาวะสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ให้ยาบำรุงโลหิต ในรายที่มีภาวะโลหิตจางให้ยาควบคุมความดันโลหิตสูง เบาหวาน เอดส์ เป็นต้น ถ้าพบว่ามีภาวะรุนแรง เช่น แท้งบุตร มีการเกาะต่ำรกลอกตัวก่อนกำหนดครรภ์เป็นพิษครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นต้นก็ให้การดูแลรักษาให้ปลอดภัย บางกรณีอาจจำเป็นต้องรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
3.ในรายที่มีอาการแพ้ท้อง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัว ดังนี้
- ดื่มนมหรือเครื่องดื่มร้อนๆ หลังตื่นนอน
- กินอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย ควรกินอาหารที่ยังอุ่น ๆ แบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ วันละ 5-6 มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารมันหรือรสจัด
- เมื่อรู้สึกคลื่นไส้ จิบน้ำอุ่น หรือดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ
- ถ้าแพ้ท้องมาก กินอะไรออกหมด ให้อมลูกอมบ่อย ๆ จิบน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ทีละน้อยบ่อย ๆ เพื่อให้พลังงานและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- หลังอาเจียน ควรดื่มน้ำอุ่น ๆ และกลั้วคอล้างกลิ่นที่อาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้พะอืดพะอม
โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะมีอาการอยู่นาน14-16 สัปดาห์ แล้วทุเลาไปได้เอง
ในรายที่มีอาการอาเจียนมากจนกินอาหารไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาแก้อาเจียน เช่น ไดเฟนไฮดรามีน ไดเมนไฮดริเนต หรือดอมเพอริโดน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั่ง ก่อนอาหาร ครึ่งชั่วโมง
ในรายที่มีอาการอาเจียนรุนแรงและต่อเนื่อง มีภาวะขาดน้ำ ภาวะเลือดเป็นกรด (มีอาการหายใจหอบลึก) ขาดสารอาหาร ตาพร่ามัวซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน หรือดีซ่านหรือสงสัยเป็นอาหารแพ้ท้องอย่างแรง แพทย์จะรับตัว ผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลมักจะต้องให้น้ำเกลือทาง หลอดเลือดดำ และให้อาหารทางสายยางหรือหลอดเลือด ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอาจต้องทำการยุติการ ตั้งครรภ์เพื่อป้องกันมิให้มารดาได้รับอันตราย
4.ให้ยาบำรุงโลหิต เช่น เฟอร์รัสฟูมาเรต 200 มก./วัน เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง
ในรายที่กินอาหารได้น้อย ควรให้วิตามินและ แร่ธาตุอื่น ๆ เสริม
5. ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก