นิ่วท่อไต

นิ่วท่อไต (นิ่วในท่อไต ก็เรียก) เป็นนิ่วขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในไตแล้วตกลงมาในท่อไต เป็นเหตุให้ท่อไต เกิดการบีบตัว เพื่อขับนิ่วออก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องรุนแรง เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้องบ่อยในคนทั่วไป

อาการ นิ่วท่อไต

                ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง โดยมีลักษณะปวดบิดเป็นพัก ๆ ตรงบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียวนานเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ

                ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ จะมีอาการปวดร้าวไปที่หลังและต้นขาด้านใน (ปวดไปที่อัณฑะหรือช่องคลอดข้างเดียวกับท้องน้อยที่ปวด)  ผู้ปวดมักจะปวดจนดิ้นไปมา หรือใช้มือกดไว้จะรู้สึกดีขึ้น

                บางรายอาจปวดมากจนมีอาการเหงื่อออก ตัวเย็นใจสั่นใจหวิว คลื่นไส้ อาเจียน

                ผู้ป่วยจะไม่มีอาการขัดเบา ปัสสาวะมักจะใส เช่น ปกติ ไม่ขุ่น ไม่แดง (ยกเว้นบางรายอาจมีปัสสาวะขุ่นแดง)

การป้องกัน นิ่วท่อไต

  1. นิ่วท่อไตส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีด (ขนาดเล็กกว่า 6 มม.) ซึ่งมักจะหลุดออกมาได้เอง ควรบอกให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะลงกระโถน เพื่อสังเกตดูว่ามีก้อนนิ่วออกมาหรือไม่ ส่วนมากมักจะหลุดออกมาภายในไม่กี่วัน
  2. อาการปวดท้องจะหายดังปลิดทิ้ง เมื่อนิ่วหลุดออกมา แต่ก็อาจเกิดนิ่วก้อนใหม่ในภายหลังได้อีก
  3. ถ้านิ่วก้อนใหญ่หลุดออกเองไม่ได้ อาจต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องสลายนิ่วหรือผ่าตัด หากปล่อยทิ้งไว้อาจมีโรคแทรกซ้อนที่อันตรายได้
  4. เมื่อรักษาหายแล้ว ควรป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ

การรักษา นิ่วท่อไต

  1. ให้แอนติสปาสโมดิก เช่น อะโทพีนหรือไฮออสซีน 1-2 เม็ด ถ้าปวดรุนแรงควรให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยต์ เช่น ไดโคลฟีแนกฉีดเข้ากล้าม ครั้งละครึ่ง – 1 หลอด และ/ หรือไฮออสซีนฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำครั้งละ ครึ่ง – 1 หลอด ถ้าดีขึ้นก็ให้ยาเม็ดกินต่อครั้งละ 1-2 เม็ด  ทุก 6 ชั่วโมง
  2. ถ้าให้ยาแล้วไม่ทุเลาใน 6 ชั่วโมง หรือกลับ ปวดซ้ำอีก ควรส่งโรงพยาบาล มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ (พบว่ามีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ) เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้กล้องส่องตรวจท่อไต

ถ้านิ่วก้อนเล็ก แพทย์จะให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ และ/หรือแอนติสปาสโมดิบรรเทาอาการปวดเช่นเดียวกัน แต่ถ้านิ่วก้อนใหญ่อาจต้องผ่าตัด หรือใช้ เครื่องสลายนิ่ว (ESRL)

[Total: 1 Average: 4]