โรคกระดูกแตก คือ ภาวะที่กระดูกได้รับแรงกระแทกมากเกินไป ส่งผลให้กระดูกไม่สามารถรองรับน ้าหนักจากแรงดังกล่าวได้และเกิดหัก ก่อให้เกิดอาการปวด เสื่อมสมรรถภาพในการท้างาน รวมทั งมีเลือดออกและได้รับบาดเจ็บบริเวณรอบกระดูกที่ได้รับแรงกระแทก โดยทั่วไปแล้ว กระดูกจัดเป็นเนื อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย
แคลเซียมและเซลล์กระดูก ตรงกลางกระดูกจะอ่อนกว่า เรียกว่าไขกระดูก ซึ่งท้าหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
กระดูกแต่ละส่วนจะประกอบกันเป็นโครงสร้างกระดูกที่รองรับร่างกาย ช่วยในการเคลื่อนไหว และปกป้อง
อวัยวะภายในของร่างกาย หากร่างกายได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง จะส่งผลให้กระดูกแตกหรือหักได้
การมีชิ้นส่วนของกระดูกหักหรือแตกแยกจากกัน หรือมีการร้าว การเดาะของเนื้อกระดูก
สาเหตุ โรคกระดูกแตก
ชนิดของโรคกระดูกแตกของกระดูกแบ่งเป็นหลายลักษณะ ดังนี้
1. จำแนกตามบาดแผล
1.1 Closed or simple fracture โรคกระดูกแตกแบบปิด คือบริเวณที่มีโรคกระดูกแตกไม่มีทางเชื่อมกับสิ่งแวดล้อมภายนอก (ไม่มีแผลเปิด)
1.2 Open or compound fracture โรคกระดูกแตกแบบเปิด คือการที่โรคกระดูกแตกและมีบาดแผลร่วมด้วยทำให้มีทางติดต่อระหว่างโรคกระดูกแตกและสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย
2. จำแนกตามรอยหักของกระดูกเช่น หักตามขวาง (transverse fracture) หักแบบเฉียง (oblique fracture) หักบิดเป็นเกลียว (spiral fracture) หักเป็นท่อนๆ มากกว่า 2 ท่อน (segmental fracture) แตกเป็นชิ้นหลายๆชิ้น (comminuted fracture) กระดูกที่แตกร้าวไม่เคลื่อนที่/ไม่แยกออกจากกัน (non-displaced fracture) กระดูกที่หักและเคลื่อนไปจากที่เดิม (displaced fracture) เป็นต้น
3. อื่นๆ เช่น กระดูกสันหลังแตกจากการถูกอัดจนยุบ (compression fracture) การหักที่มีการแตกกระจายออก (burst fracture) นอกจากนี้แบ่งตามตำแหน่งที่หัก เช่น ส่วนต้นของกระดูก (proximal) ส่วนตรงกลางลำกระดูก (middle หรือ shaft) ส่วนปลายของกระดูก (distal) เป็นต้น
อาการ โรคกระดูกแตก
ผู้ป่วยที่โรคกระดูกแตกจะเกิดอาการดังต่อไปนี้อาการใดอาการหนึ่ง หรือหลาย ๆ อาการร่วมกัน คือ
- อาการเจ็บปวดตรงกระดูกที่หักหรือรอบ ๆ บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหวหรือใช้มือกดถูกอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บดังกล่าว แต่ถ้าไม่มีอาการเจ็บปวดให้มั่นใจได้เลยว่ากระดูกไม่หัก (ยกเว้นในคนที่ไม่มีความรู้สึกในบริเวณที่หัก เช่น ผู้ที่เป็นอัมพาต หรือเส้นประสาทที่เลี้ยงบริเวณนั้นขาด)
- อาการบวมรอบ ๆ บริเวณที่กระดูกหัก เกิดรอยเขียวช้ำ และอาจมีเลือดออกมาจากผิวหนัง (ถ้าไม่มีอาการบวมก็มั่นใจได้เลยว่ากระดูกไม่หัก แต่ถ้าเพียงร้าว ในช่วงแรกอาจบวมได้ไม่มาก หรือกระดูกบางแห่ง เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาจมีลักษณะบวมและปวดเพียงเล็กน้อย จนทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพียงข้อเคล็ดข้อแพลงได้)
- ส่วนที่หักอาจมีลักษณะผิดรูปผิดร่างหลังการบาดเจ็บ เช่น แขนขาโก่งงอ สั้นยาวกว่าข้างที่ปกติ หรือหักบิดในลักษณะที่ผิดปกติ ซึ่งมั่นใจได้เลยว่ามีกระดูกหัก
- ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดกระดูกที่หักทิ่มแทงทะลุออกมานอกเนื้อ
- ไม่สามารถขยับหรือใช้งานส่วนที่มีการหักของกระดูกได้ หรือรู้สึกเคลื่อนไหวส่วนนั้นได้ลำบากหรือเคลื่อนไหวแล้วจะเจ็บปวดมาก
- อาจได้ยินเสียงกระดูกหักตอนประสบอุบัติเหตุ และบางครั้งถ้าลองจับหรือกดเบา ๆ ลงบนกระดูกบริเวณที่หัก อาจได้ยินเสียงกระดูกสีกัน หรือรู้สึกกรอบแกรบ
วิธีป้องกัน โรคกระดูกแตก
- ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก เพราะกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณมาก เพราะแอลกอฮอล์จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก
- งดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
- ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจกรองโรคกระดูกพรุน ในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนหรือกระดูกหัก
การรักษา โรคกระดูกแตก
การรักษาโรคกระดูกแตกมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้กระดูกที่หักเมื่อหายแล้วกลับมาอยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงปกติมากที่สุด มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด และผู้ป่วยสามารถลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้โดยเร็วที่สุด
ซึ่งในการรักษาโรคกระดูกแตกนั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะของโรคกระดูกแตกมากหรือน้อยอย่างไร อายุของผู้ป่วย สภาพร่างกายของผู้ป่วย (แข็งแรงดีหรือมีโรคประจำตัวหรือไม่) รวมถึงอาชีพที่แตกต่างกันไปของผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนการจะเลือกรักษาด้วยวิธีใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจร่วมกันของแพทย์และผู้ป่วย โดยแพทย์จะเป็นผู้อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงเหตุผลและวิธีการรักษาต่าง ๆ ซึ่งผู้ที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางรักษาในขั้นสุดท้ายก็คือตัวผู้ป่วยเอง