โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณคอ

โพรงกระดูกสันหลังคอแคบ (cervical stenosis) หมายถึง ภาวะตีบแคบของโพรงกระดูกสันหลังคอ (cervical spinal canal) เป็นหนึ่งประเภทของ โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ทำให้กดเบียดประสาทไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังระดับคอ จนเกิดพยาธิสภาพต่อเนื้อประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทไขสันหลังจนมีอาการเกิดขึ้น ตำแหน่งที่มีการกดเบียดมักเป็นตำแหน่งช่องกระดูกสันหลังคอส่วนล่าง ได้แก่ กระดูกสันหลังคอลำดับที่ 5, 6, 7 ผู้ที่มีภาวะโพรงกระดูกคอแคบนี้มักเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยจะเริ่มมีอาการเมื่อมีอายุประมาณ 40-60 ปี อาการมักจะเริ่มด้วยอาการปวดชาที่แขนและคอ รู้สึกตึงคอ อาการมักจะไม่รุนแรงค่อยเป็นค่อยไป บางคนมีความรู้สึกปวดเสียวร้าวจากหลังไปที่สะโพกและขาขณะก้มหรือเงยศีรษะ ต่อมาเมื่อมีการกดเบียดมากขึ้น หรือมีภาวะนี้มานานโดยไม่ได้รับการรักษาหรือแก้ไข อาจมีผลต่อการเดิน เริ่มมีลักษณะการเดินแบบเกร็งๆ เดินแข็งๆ เริ่มมีการสูญเสียความสามารถหรือความคล่องตัวในการใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ บางคนอาจมีปัสสาวะบ่อย แต่ยังสามารถกลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้ มีการสูญเสียการรับรู้ของประสาทรับความรู้สึก กล้ามเนื้อแขนและมือเริ่มอ่อนแรง มีกล้ามเนื้อลีบลง มีกล้ามเนื้อกระตุก

โพรงกระดูกสันหลังตีบบริเวณคอ (Cervical foraminal stenosis) ก่อให้เกิดอาการปวดคอที่พัฒนาอย่างช้านานนับปี และแสดงอาการเมื่อผู้ป่วยมีกิจกรรมหรืออยู่ในท่าทางบางลักษณะ อายุของข้อต่อคอเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด

สาเหตุ โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณคอ

เกิดจากการเสื่อมตัวไปตามอายุที่สูงขึ้นและการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลันหรือ บาดเจ็บสะสมเรื้อรังจากการทำงาน แล้วค่อยๆ ทำให้ของเหลวในหมอนรองกระดูก (Nucleus pulposus) ไหลออกมาเสื่อมสภาพ พังผืดหุ้มหมอนรองกระดูก (Annulus fibrosus) ฉีกขาดปลิ้นออกมา ช่องว่างระหว่างกระดูกต้นคอแคบลง เอ็นที่ยึดกระดูกต้นคอเกิดความ เสียหาย หย่อนยาน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่มั่นคงของตัวกระดูกสันหลัง เมื่อเยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) ถูกดึงยืดออกและกดทับ ก็จะทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยในบริเวณนั้นแตกและมีเลือดออก ห้อเลือด และเกิดการสะสมตัวในบริเวณที่ห้อเลือด เกิดการสึกหรอ และมีหินปูนมาพอกตัวหนาขึ้น
จนในที่สุดก็กลายเป็น Osteophyte (ปุ่มกระดูกงอก หรือ กระดูกงอก) หมอนรองกระดูกที่ยื่นออกมาและกระดูกงอกจะไปกระตุ้นหรือไปกดทับ บริเวณรากประสาทไขสันหลัง (Nerve root) หลอดเลือดแดง (Vertebral artery) หรือไขสันหลัง (Spinal cord) ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ การอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เกิดปฏิกิริยาการซ่อมแซมตัวเอง เป็นต้น และเป็นผลทำให้เกิดอาการของโรคกระดูกต้นคอตามมาได้

นอกจากนี้แล้วการที่มีโพรงกระดูกต้นคอตีบแคบหรือมีรูปร่างผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด ในคนสูงอายุที่หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ มีการสึกหรอจากการทำงานหนัก หรือการได้รับอุบัติเหตุ ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น

อาการ โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณคอ

อาการของโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณคอ ที่เกิดขึ้นบริเวณไขสันหลัง รากประสาทและระบบไหลเวียนเลือดที่ระดับคอ เนื่องจากการงอกของกระดูกคอ หมอนรองกระดูกกดทับ หรือการหนาตัวของแผ่นเส้นเอ็น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดบริเวณศีรษะ คอ หัวไหล่ แขน หรือหน้าอกได้ โดยโรคที่เกิดจากกระดูกคอคือ บริเวณกระดูกคอ ข้อต่อหมอนรองกระดูก และบริเวณเนื้อเยื่อบาดเจ็บเสื่อมสภาพ

การรักษา โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณคอ

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณคอ สามารถวินิจฉัยอาการได้หลายวิธี (ตรวจคลื่นแม่เหล็ก (MRI), ตรวจโรคเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan), ตรวจระบบไขสันหลัง (myelogram), และอื่นๆ) แม้ว่าสิ่งแรกที่แพทย์แนะนำคือ ให้รักษาโดยออกกำลังกายและฉีดยาร่วมกัน แต่การผ่าตัดจำเป็นมากขึ้นในสภาพที่ไม่ต้องตอบสนอง (ซึ่งลดระดับการปวดของผู้ป่วย) แน่นอนว่าการปวดคออาจเกิดจากสาเหตุทางการแพทย์อื่นๆ เช่นกัน แต่จะพบน้อย ตัวอย่างหนึ่ง เช่น มีการติดเชื้อในลำคอที่เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดในผู้ป่วย

[Total: 2 Average: 5]