โรคโพรงประสาทส่วนเอวตีบแคบ คือ ภาวะที่มีการตีบแคบลงของโพรงที่เป็นช่องว่าง ตลอดความยาวภายในกระดูกสันหลัง ที่เรียกกันว่าโพรงกระดูกสันหลัง หรือโพรงประสาท (Spinal canal)
ซึ่งเป็นช่องทางผ่านของเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal cord) โดยการตีบแคบอาจเกิดเพียงระดับเดียว หรือหลายระดับของโพรงกระดูกสันหลังก็ได้
ช่องโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ อาจเกิดจากภาวะกระดูกหนาตัวขึ้น, เอ็นหนาตัวขึ้น, หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน (ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง), กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis ), หรือมีภาวะต่างๆ ดังกล่าวเกิดขึ้นร่วมกัน
โรคนี้พบได้บ่อยใน
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ที่พบได้ คือ
โรคนี้ มักทำให้ผู้ป่วยเกิดมีอาการปวดหลังโดยอาจพบร่วมกับ อาการปวดร้าวลงขาข้างเดียว หรือ 2 ข้างพร้อมๆกันก็ได้, เดินแล้วมีกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงหรือปวดขา ปวดน่อง จนต้องหยุดเดินเป็นพักๆ (Neurogenic claudication) ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทเอวถูกกดทับ หรือภาวะขาดเลือดของเส้นประสาท, และพบบ่อยว่าทำให้เกิดอาการเดินลำบาก และส่งผลถึงการดำรง ชีวิตได้
นอกจากนั้น อาจมีอาการ ปวด ชา และ/หรือ รู้สึกหนักบริเวณก้น ร้าวลงขา ในขณะกำลังเดินหรือยืนนาน อาจมีอาการผิดปกติทาง ปัสสาวะ อุจจาระได้ (เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่ออก และ/หรือ ท้องผูก) และอาจเกิดภาวะนกเขาไม่ขันได้ ทั้งนี้ อาการต่างๆมักดีขึ้นเมื่อก้มตัวหรือนั่งลง และมักไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมากเมื่อนั่งหรือนอนหงาย และ/หรือจะเดินได้ไกลมากขึ้น และปวดน้อยลง เมื่อก้มตัวไปด้านหน้า แต่อาการจะมากขึ้นเมื่อแอ่นหลัง
ป้องกันโรคโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบได้ด้วยวิธีการเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวแล้ว ในหัวข้อการดูแลตนเอง ซึ่งที่สำคัญ คือ
การรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบประกอบด้วย การใช้ยา, การทำกายภาพ บำบัด, การผ่าตัด, และวิธีอื่นๆ
1.การรักษาด้วยยา เช่น
2.การทำกายภาพบำบัด เพื่อรักษาอาการปวด เช่น การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยการใช้เครื่อง Transcutaneous electrical nerve stimulation (TENS), การนวด, การใช้คลื่น อัลตราซาวด์, การฝังเข็ม (Acupuncture), การดึงขยายข้อต่อกระดูกสันหลัง (Traction ), และการฝึกกล้ามเนื้อหลัง และขาให้มีความแข็งแรง เพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดี 3. การผ่าตัด จะใช้เมื่อการใช้ยา และการทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล, อาการที่เกิดขึ้นมีผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน, และมีการเสียการควบคุมระบบขับถ่าย โดยจุดประสงค์ของการผ่าตัด เพื่อลดการกดทับต่อเส้นประสาทและต่อไขสันหลัง และให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคง เป็นการผ่าตัดเพื่อเอากระดูกสันหลังทางด้านหลัง (Lamina) ออก เพื่อลดการกดทับต่อเส้นประ สาท รวมไปถึงการตัดกระดูกที่งอกออก (ถ้ามีกระดูกงอก) และ/หรือการเอาหมอนรองกระดูกสันหลังที่แตก/ที่เสื่อมออก ในผู้ป่วยที่มีการกดทับเส้นประสาทจากหมอนรองกระดูกฯ นอกจาก นั้น การผ่าตัดอาจใช้เทคนิค การผ่าตัดเชื่อมกระดูก (Fusion) ที่พิจารณาในรายที่มีการเสื่อมของกระดูกสันหลังอย่างมาก จนกระดูกสันหลังสูญเสียความมั่นคง และ/หรือในรายที่ผ่าตัดเอากระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกแล้ว กระดูกสันหลังสูญเสียความมั่นคง คือ เคลื่อนที่ได้ง่าย 4. การรักษาวิธีการอื่นๆ ได้แก่