กระดูกซี่โครงหัก มักเกิดจากแรงกระแทกถูก บริเวณซี่โครงโดยตรง เช่น ถูกตี ถูกเตะ หกล้ม กระแทก ถูกพื้นหรือมุมโต๊ะ ถูกรถชน เป็นตัน ส่วนมากจะไม่มีอาการรุนแรงและค่อยๆ หายได้เองส่วนน้อยอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง
อาการ กระดูกซี่โครงหัก
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขณะก้มงอ บิดตัวหรือหายใจแรง ๆ และเมื่อใช้นิ้วกดถูกเบา ๆ จะรู้สึกเจ็บ
ถ้ากระดูกหักรุนแรง ทิ่มแทงถูกเนื้อปอด อาจทำให้เกิดภาวะมีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดหรือปอดทะลุ หรือมีเลือดออกในโพรงเยื่อหุ้มปอด (hemothorax) ผู้ป่วยจะมีอาการหอบ ตัวเขียวไอออกเป็นฟองเลือดสดๆ หรือช็อก หน้าอกเคาะโปร่ง (ถ้ามีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด) หรือเคาะทึบ (ถ้ามีเลือดในโพรงเยื่อหุ้มปอด )
ถ้ามีบาดแผลที่ผิวหนัง ทะลุถึงปอด จะมีลมจากภายนอกผ่านบาดแผลเข้าไปในโพรงเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดภาวะมีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดได้เช่นกัน
ถ้ากระดูกซี่โครงหักหลายแห่ง (มักพบในกรณี ที่เกิดจากรถชน รถคว่ำ) อาจทำให้เกิดภาวะอกรวน (flail chest) จะมีอาการหอบ ตัวเขียว ช็อก และหายใจผิดธรรมดา คือ หน้าอกส่วนนั้นจะยุบลงเวลาหายใจเข้า และโป่งขึ้นเวลาหายใจออก ซึ่งตรงกันข้ามกับหน้าอกส่วนปกติ ภาวะอกรวนมักเกิดในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปมากว่าคนหนุ่มสาว
การรักษา กระดูกซี่โครงหัก
- ถ้ามีอาการหอบ ตัวเขียว ซ็อก หรือสงสัยมีลม หรือเลือดอยู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอด หรือสงสัยมีภาวะอกรวน ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้ามีผลที่ผิวหนังทะลุถึงปอด ให้ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซหนาๆ ปิดอุดรูรั่ว ถ้ามีภาวะอกรวน ให้ใช้มือกอบริเวณนั้นไว้ หรือให้ผู้ป่วยนอนตะแคงให้ส่วนนั้นทับบนหมอน หรือ ใช้ผ้าขาวม้าหรือผ้าเช็ดตัวพับหลายทบวางบนส่วนนั้น แล้วใช้ผ้าพันไว้ไม่ให้หน้าอกยุบพองอีก
- ถ้ากระดูกซี่โครงหักแบบธรรมดา ไม่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว เพียงแต่รู้สึกเจ็บปวด ขณะเคลื่อน ไหวหรือหายใจแรงๆ ให้นอนพัก พยายามเคลื่อนไหวให้ น้อยที่สุด อย่าหายใจเข้าออกแรงๆ และให้กินยาแก้ปวด ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าพันหรือเข้าเฝือกรอบหน้าอก อาการเจ็บป่วยจะค่อยๆ ดีขึ้น อาจกินเวลา 1-2 สัปดาห์ และกว่าอาการปวดจะหายขาดอาจกินเวลาเป็นเดือนๆ ถ้าอาการปวดไม่ทุเลาขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ หรือ มีอาการหายใจหอบ ไอเป็นเลือดสด ๆ ซีด หรือสงสัยมี ภาวะแทรกซ้อน ควรส่งโรงพยาบาล