มะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ําดี (Cholangiocarcinoma – Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวภาย ในท่อน้ําดีเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ จนอาจไปกดเบียดหรือลุกลามอวัยวะข้างเคียงซึ่ง ประกอบด้วยตับ ตับอ่อน หรือลําไส้เล็กส่วนต้น ส่วนใหญ่มักเริ่มเป็นจากเซลล์เยื่อบุผิวของท่อน้ำดี

ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย พบมากกว่ามะเร็งถุงน้ำดี

ประเภท มะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ขึ้นอยู่กับว่าเริ่มเป็นที่บริเวณใด ได้แก่ มะเร็งท่อน้ำดีในตับ (Intrahepatic Bile Duct Cancer) และมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ (Extrahepatic Bile Duct Cancer) ซึ่งมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับแบ่งย่อยเป็น 2 ประเภทได้ดังนี้

  • มะเร็งท่อน้ำดีที่อยู่บริเวณขั้วตับ (Perihilar Bile Duct Cancer) บริเวณขั้วตับเป็นที่ที่มักเกิดมะเร็งท่อน้ำดีขึ้น มะเร็งท่อน้ำดีเกิดขึ้นบริเวณนี้ถึง 50%
  • มะเร็งท่อน้ำดีส่วนปลาย (Distal Bile Duct Cancer) อัตราการเกิดมะเร็งบริเวณนี้สูงเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งจะเกิดขึ้นบริเวณส่วนปลายของท่อน้ำดีที่อยู่ใกล้ ๆ กับลำไส้เล็ก

หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ส่วนมากผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อปรากฏอาการรุนแรง เช่น ตัวเหลือง ซึ่งทำให้รักษาได้ยาก และมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

ระยะ มะเร็งท่อน้ำดี

  • ขั้น 1 เอ (Stage 1A) มะเร็งอยู่เฉพาะบริเวณท่อน้ำดี
  • ขั้น 1 บี (Stage 1B)  มะเร็งลุกลามออกจากท่อน้ำดี แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะใกล้เคียง
  • ขั้น 2 เอ (Stage 2A) มะเร็งลุกลามไปที่ตับ ตับอ่อน หรือถุงน้ำดี หรือหลอดเลือดใกล้เคียง แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง
  • ขั้น 2 บี (Stage 2B)  มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
  • ขั้น 3 (Stage 3) มะเร็งลุกลามไปที่หลอดเลือดหลักที่นำเลือดเข้าและออกจากตับหรือลุกลามไปที่ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร หรือผนังช่องท้อง และแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง
  • ขั้น 4 (Stage 4) มะเร็งลุกลามไปที่อวัยวะห่างไกล เช่น ปอด เป็นต้น

สาเหตุ มะเร็งท่อน้ำดี

– ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง: เพราะโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งท่อน้ำดี…มักจะทำให้เกิดอาการท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง
– นิ่วในท่อน้ำดีหรือถุงน้ำดี: โดย 20% – 57% ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี จะตรวจพบว่านิ่วในท่อน้ำดีหรือในถุงน้ำดีด้วย
– ท่อน้ำดีผิดรูปร่าง (อาการท่อน้ำดีขยายมาตั้งแต่เกิด): การมีซีสต์ในท่อน้ำดีมาตั้งแต่เกิด อาจส่งผลให้การไหลเวียนของท่อตับอ่อนและท่อน้ำดีผิดปกติ ของเหลวจากตับอ่อนจะไหลย้อนเข้าไปในท่อน้ำดี เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณเยื่อบุผิวท่อน้ำดี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง
– โรคพยาธิใบไม้ตับ (Chinese liver fluke): การทานปลาดิบ..จะทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินน้ำดี ภาวะคั่งของน้ำดี เกิดพังผืดรอบท่อน้ำดีและท่อน้ำดีงอกขยายขึ้น เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งท่อน้ำดีได้

อาการ มะเร็งท่อน้ำดี

ถ้ามะเร็งเกิดในท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินน้ำดี จากตับไปลำไส้เล็ก ส่งผลให้น้ำดีย้อนกลับเข้ากระแสเลือดและเนื้อเยื่อ ก่อให้เกิดอาการ

การรักษา มะเร็งท่อน้ำดี

การรักษาหลักของมะเร็งท่อน้ําดีคือ การผ่าตัด กรณีของมะเร็งท่อ น้ําดีในตับ การผ่าตัดจะประกอบด้วยการผ่าตัดตับ (Hepatic resection/ Hepatectomy) ส่วนในกรณีของมะเร็งท่อน้ําดีนอกตับ การผ่าตัดจะประกอบด้วยการผ่าตัด ตัดท่อทางเดินน้ําดี (Bile duct resection) อาจต้องมีการผ่าตัดตับ หรืออาจต้อง ผ่าตัดตับอ่อนและลําไส้เล็กส่วนหนึ่งร่วมด้วย (Pancreaticoduodenectomy) ถ้ามะเร็งท่อน้ําดีมีการลุกลามมาที่บริเวณดังกล่าว

เนื่องจากผลในการรักษาด้วยยาเคมีบําบัดหรือฉายแสงรักษาในปัจจุบันนั้น ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงไม่ได้ใช้เป็นการรักษาหลัก แต่อาจใช้เป็นการรักษาร่วมใน กรณีก่อนผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด

ผลการรักษา

ในปัจจุบันผลการรักษาของมะเร็งท่อน้ําดียังไม่สู้ดีนักเนื่องจาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งท่อน้ําดีมีขนาดใหญ่หรือลุกลามแล้ว ดังนั้นจึงพบว่ามีผู้ป่วยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่สามารถทําการผ่าตัดได้ โดยถ้าสามารถ ผ่าตัดเอามะเร็งท่อน้ําดีออกได้หมดจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีอยู่ที่ประมาณ 10-40% แต่ถ้าพบว่ามีการลุกลามไปแล้วอัตราการรอดชีวิตจะต่ํากว่านั้นมาก

[Total: 0 Average: 0]