มะเร็งปอด

มะเร็งปอด คือโรคที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 ของมะเร็ง ในผู้ชาย และอันดับที่ 4 ของมะเร็งในผู้หญิง พบมาก ในช่วงอายุ 50-75 ปี มะเร็งปอดมีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ร้ายแรงแพร่กระจายเร็วได้แก่ small cell carcinoma

สาเหตุ มะเร็งปอด

ร้อยละ 80-90 เกิดจากการสูบบุหรี่ ยิ่งสูบมากและ นานก็ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น ร้อยละ 5 เกิดจากการรับควันบุหรี่จากผู้อื่น

อาจเกิดจากการสัมผัสสารใยหินหรือแอสเบสตอส จากการทำงาน เช่น การก่อสร้างอาคาร การทำงานที่เกี่ยว กับผ้าเบรก คลัตซ์  ฉนวนกันความร้อน อุตสาหกรรม สิ่งทอ เหมืองแร่ เป็นต้น ซึ่งใช้เวลาสัมผัสนาน 15-35 ปีกว่าจะเป็นมะเร็งปอด ถ้าสูบบุหรี่ด้วยก็ยิ่งเสียงมากขึ้น 

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการสัมผัสเรดอน (radon ซึ่ง เป็นก๊าชกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียมในหินและดิน กระจายอยู่ในอากาศและน้ำ ใต้ดิน อาจพบตามเหมืองใต้ดิน อาคารที่ใช้วัสดุก่อสร้าง ที่ปนเปื้อนก๊าชนี้) มลพิษทางอากาศ (เช่น ควันพิษจากรถยนต์) โรงงานถลุงเหล็กนิกเกิลโครเมียม แคดเมียม โรงงานน้ำมัน ดินน้ำมัน เขม่าจากโรงงาน การดื่มน้ำที่มี สารหนูเจือปน การกินผักและผลไม้น้อย

บางครั้งพบมะเร็งปอดในผู้ป่วยที่มีแผลเป็นใน ปอดจากโรคปอด เช่น วัณโรคปอด ถุงลมโป่งพอง ภาวะเยื่อพังผืด (fibrosis) ในปอด เป็นต้น มักพบในมะเร็งปอดชนิดเซลล์ต่อมเมือก (adenocarcinoma) ในผู้หญิงและผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (มะเร็งปอดที่พบบ่อยเป็น ชนิดเซลล์เยื่อบุที่เรียกว่า squamous cell carcinoma ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่)

บางรายอาจเป็นมะเร็งปอดโดยไม่มีประวัติการสูบบุหรี่หรือการสัมผัสสารก่อมะเร็งมาก่อนก็ได้

อาการ มะเร็งปอด

ข้อสำคัญคือ ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสัมผัส  ควันบุหรี่ สารใยหิน และมลพิษทางอากาศ กินผักและ ผลไม้ให้มากๆ ปนกับเสมหะ หายใจลำบากมีก้อนแข็งที่ข้างคอ

ระยะแรกเริ่มไม่มีอาการ ต่อมาจะมีอาการไอ เรื้อรัง อาจไอมีเลือดปนเสมหะหรือไอออกเป็นเลือดสด จำนวนมาก (หากมะเร็งลามถูกหลอดเลือด) หายใจมี เสียงดังวี้ด (หากหลอดลมถูกอุดกั้นจากก้อนมะเร็ง) หรือเจ็บหน้าอกเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน (หาก ลามไปที่เยื่อหุ้มปอด หรือกระดูกซี่โครง) อาจทำให้เข้าใจ ผิดว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

ต่อมาผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หายใจหอบเหนื่อย (จากภาวะมีน้ำในโพรง เยื่อหุ้มปอด) และอาจมีปอดอักเสบ  แทรกซ้อน

หากมะเร็งลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ก็อาจมีอาการ เสียงแหบ กลืนลำบาก ปวดแขน แขนชาและอ่อนแรง หนังตาตกและรูม่านตาหดเล็กข้างหนึ่ง มีอาการบวมที่ ใบหน้า คอ และหน้าอกส่วนบน หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ระยะท้าย มะเร็งมักจะลูกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ที่คอหรือแอ่งไหปลาร้า และอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง (มีอาการปวดศีรษะ สับสน ชัก) ตับ (ตับโต ดีซ่าน ท้องมาน)ไขสันหลัง (ขาชาและอ่อนแรง) กระดูก (ปวดกระดูก) เป็นต้น บางครั้งผู้ป่วยอาจมาปรึกษาแพทย์ด้วยอาการที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะเหล่านี้มากกว่า อาการของมะเร็งปอดโดยตรง (ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด)

การรักษา มะเร็งปอด

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล แพทย์จะทำการ วินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ปอด ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ตรวจหาเซลล์ มะเร็งในเสมหะ ใช้กล้องส่องตรวจหลอดลม (bron-choscopy) การใช้เข็มเจาะเนื้อปอดนำไปตรวจชิ้นเนื้อ (needle biopsy) แพทย์จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด รังสีบำบัด และ/หรือเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและ ระยะของมะเร็งที่พบ เนื่องจากมะเร็งปอดมักจะลุกลามเร็วและวินิจฉัย


[Total: 3 Average: 5]