มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยนัก พบได้ประมาณ ร้อยละ1 ของมะเร็งทางเดินอาหาร พบในผู้ชายมากกว่า ผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า มักพบในช่วงอายุ 40-70 ปี
สาเหตุ มะเร็งตับอ่อน
ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น การ สูบบุหรี่โรคเบาหวาน ตับอ่อนอักเสบเนื้อรังจากความ ผิดปกติทางกรรมพันธุ์และการดื่มแอลกอฮอล์จัดภาวะ น้ำหนักเกินหรืออ้วน การบริโภคอาหารไขมันสัตว์มาก และผักผลไม้น้อย การสัมผัสสารเคมี(เช่น น้ำมันเบนซิน)การมีประวัติโรคนี้ในครอบครัว
อาการ มะเร็งตับอ่อน
ระยะแรกมักไม่มีอาการแสดง จนกว่ามะเร็งลุกลาม มากแล้วก็จะมีอาการปวดท้องส่วนบนและปวดร้าวไปที่ หลัง ซึ่งมักปวดเวลาหลังอาหารหรือนอนลง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีอาการแบบอาหารไม่ย่อย ดีซ่าน อุจาระ สีซีดขาว (เนื่องจากก้อนมะเร็งอุดกั้นทางเดินน้ำดี) คันตามผิวหนัง อาจคลำได้ก้อนในท้อง ตับโต คลื่นไส้ อาเจียน (เนื่องจากลำไส้อุดกั้นจากก้อนมะเร็ง) ท้องเดินเรื้อรัง(เนื่องจากผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารได้น้อย ทำให้ การดูดซึมผิดปกติ) หรือมีอาการที่เกิดจากมะเร็งแพร่ กระจายไปยังที่อื่น เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหาร ตับ ปอด เป็นต้น
การป้องกัน มะเร็งตับอ่อน
โรคนี้ยังไม่มีวิธีป้องกันอย่างได้ผล อย่างไรก็ตามก็ควรลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้โดย
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์จัด
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- กินอาหารที่มีไขมันสัตว์ต่ำ และกินผักและผลไม้ให้มาก ๆ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
การรักษา มะเร็งตับอ่อน
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล แพทย์จะวินิจฉัยโดยการตรวจอัลตราซาวนด์ ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การส่องกล้องและ ฉีดสีเข้าไปในท่อน้ำดี (endoscopic retrograde cholangiopancreatography/ERCP) ตรวจชิ้นเนื้อโดยการใช้เข็มเจาะดูด (fine needle aspiration)หรือใช้กล้องส่องเข้าช่องท้อง และตัดชิ้นเนื้อตรวจ ให้การรักษาด้วย การผ่าตัด หรือให้รังสีบำบัดและเคมีบำบัดในรายที่ผ่าตัด ไม่ได้ ผลการรักษาไม่สู้ดี มักอยู่ได้ไม่นาน มีประมาณ ร้อยละ 15-20 เท่านั้นที่อาจอยู่ได้นานเกิน 5 ปีหลังผ่าตัด ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อมีอาการมาพบแพทย์ก็มักจะพบว่าเป็น มะเร็งระยะท้ายๆ แล้ว