มะเร็งต่อมลูกหมาก คือโรคที่พบมากเป็นอันดับที่ 5 ของมะเร็งในผู้ชาย มักพบในผู้ชายอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในช่วงอายุ 40-60 ปี อาจพบได้แต่น้อย
ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับฮอร์ โมนเพศชาย-แอนโดรเจน (androgen) ได้แก่ เทสโทสเทอโรน ร่วมกับปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ (พบว่าถ้าทีพ่อหรือพี่น้องเป็นโรคนี้ ก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้มากกว่าคนทั่วไป) อาหาร(มะเร็งชนิดนี้พบมากในคนอ้วน ผู้ที่บริโภคเนื้อแดงหรือไขมันมาก กินผักและผลไม้น้อย) การทำหมัน (พบว่าผู้ชายที่ทำหมันเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ทำหมัน) และการมีระดับฮอน์โมนเทสโทรเทอโรนในเลือดสูง (เช่น การใช้ฮอร์โมนชนิดนี้เป็น เวลานานๆ)
มะเร็งชนิดนี้มักมีการลุกลามช้า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักไม่มีอาการแสดง จนกว่าก้อนโตมากจนเกิดภาวะอุด กั้นท่อปัสสาวะ ก็จะมีอาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ แบบเดียวกับต่อมลูกหมากโต รวมทั้งอาจมีอาการ ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ในรายที่มะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหลัง ซี่โครงหรือเชิงกราน (ถ้ามะเร็งแพร่ไปกระดูกหลังซี่โครงหรือเชิงกราน) เท้าบวม (ถ้าแพร่ไปที่ประสาทไขสันหลัง) ปวดศีรษะ เดินเซ แขนขาอ่อนแรงชัก (ถ้าแพร่ไปที่สมอง) เป็นต้น
ในปัจจุบันยังไม่แนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองมะ เร็งต่อมลูกหมากในคนทั่วไปที่ไม่มีอาการ เช่น การตรวจ พีเอสเอในเลือด การใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก เพราะยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่ามีประโยชน์ เนื่องจากผู้ป่วย มะเร็งต่อมลูกหมากที่ไม่มีอาการแสดงมักเป็นมะเร็งชนิด เจริญช้าไม่แพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมากและ สามารถมีชีวิตที่เป็นปกติเป็นเวลายาวนาน นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองโรคด้วยการตรวจพีเอสเอในเลือดยังขาดความแม่นยำ มีโอกาสพบผลบวกลวงค่อนข้างมาก ซึ่งอาจนำไปสู่การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ไม่จำเป็นและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติโรคนี้ในครอบครัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาถึงผลดีผลเสียของการตรวจคัดกรองมะเร็งชนิดนี้
ถึงแม้มะเร็งชนิดนี้ป้องกันได้ยาก แต่การปฏิบัติตัว ต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และชะลอการลุกลามของโรค
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล แพทย์จะวินิจฉัยโดยการใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก พบต่อมลูกหมากเป็นก้อนแข็งหรือขรุขระ ตรวจพบระดับพีเอสเอ (prostate specific antigen/PSA) ในเลือดสูง และทำการตรวจอัลตราซาวนด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก (transrectal ultrasound/TRUS) และตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์
การรักษา แพทย์จะเลือกวิธีรักษาตามความ รุนแรงระยะของโรค และอายุของผู้ป่วย เช่น
ผู้ป่วยที่มะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก และมีอายุต่ำกว่า 65 ปี หรือคาดว่าสามารถอยู่ได้นาน เกิน10 ปี มักจะทำการผ่าตัดต่อมลูกหมาก
หลังการรักษาไม่ว่าด้วยวิธีใด แพทย์จะติดตามตรวจระดับพีเอสเอเป็นระยะ ถ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติแสดงว่าโรคสงบหรือทุเลา แต่ถ้ามีค่าสูงขึ้นก็แสดงว่าโรคอาจกำเริบขึ้นอีก โดยทั่วไปผลการรักษาค่อนข้องดีและสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่มีการเจริญหรือลุกลามช้า