มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง คือ โรคมะเร็งที่พบได้บ่อยทั้งในผู้ชายและผู้หญิง พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว และพบมากขึ้นตามอายุ มักพบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว และพบมากขึ้นตามอายุ มักพบบ่อยในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ พบมากเป็นอันดับที่ 8 ของมะเร็งในผู้ชาย และอันอับที่ 9 ของมะเร็งในผู้หญิง

ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดอ่อน ลุกลามช้า ไม่แพร่กระจาย ได้แก่ มะเร็งเซลล์หนังกำพร้าชั้นตื้น (squamouscell carcinoma ซึ่งพบได้น้อยกว่าชนิดอื่น) และมะเร็งเซลล์หนังกำพร้าชั้นฐาน (basal cell carcinoma)

ส่วนน้อยเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรง ได้แก่ มะเร็งเซลล์สร้างเม็ดสี (melanoma/malignant melanoma) ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่าน  กระแสเลือดไปทั่วร่างกายได้ หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 1 ปี

สาเหตุ มะเร็งผิวหนัง

ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสแสงแดด (แสงอัลตราไวโอเลต) มากเกินเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การสัมผัสสารก่อมะเร็ง (เช่น สารหนู น้ำมันดิน พารัฟฟิน เรเดียม เป็นต้น) การถูกรังสีเอกซเรย์ในปริมาณสูง การกินสารหนูที่ผสมอยู่ในยาจีน ยาไทย การอักเสบหรือการบาดเจ็บของผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบ (eczema) การสสัก แผลเป็นจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การสูบบุหรี่ การมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เช่น เอดส์) การมีประวัติมะเร็งผิวหนังในครอบครัว

อาการ มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งหนังกำพร้าชั้นตื้น  มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงลักษณะหยุ่น ๆ อาจแตกเป็นแผล เลือดออกง่ายหรือมีลักษณะเป็นปื้นแบนราบ ผิวเป็นขุยหรือตกสะเก็ดมักพบที่ใบหน้า ริมฝีปาก หู คอ มือ หรือแขน

  •  มะเร็งหนังกำพร้าชั้นฐาน มีลักษณะเป็นตุ่มนูนใส ขอบม้วน สีคล้ายขี้ผึ้งหรือไข่มุก อาจแตกเป็นแผลมีเลือดออกง่าย มักพบที่ใบหน้า หู คอ บางรายอาจมีอาการเป็นปื้นแบนราบแข็งติดกับผิวหนัง สีเดียวกับสีผิวหรือสีน้ำตาล มักพบที่หน้าอกหรือหลัง
  •  มะเร็งเซลล์สร้างเม็ดสี มีลักษณะเป็นไฝ ขี้แมลงวัน หรือจุดดำบนผิวหนังที่มีการเปลียนไปจากปกติ เช่น มีสีคล้ำมากขึ้น หรือบางจุดในเม็ดไฝมีสีแตกต่างจากจุดอื่น มีอาการปวดหรือคัน หรือลอกมีเกล็ดขุย มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหล มีขนาดโตขึ้น (มากกว่า 6 มม.) มีการกระจายของเม็ดสีไปรอบๆ เม็ดไฝ ไฝกลายเป็นแผลหรือมีเลือดออก หรือกลายเป็นก้อนแข็ง ผิวหยาบ

การป้องกัน มะเร็งผิวหนัง

หมั่นตรวจดูผิวหนังทั่วร่างกายเป็นระยะ หากมีอาการเปลี่ยนแปลงผิดสังเกต เช่น หูด ไฝ ขี้แมลงวัน ปาน แผลเป็น ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ทำงานอยู่กลางแดดมีประวัติมะเร็งผิวหนังในครอบครัว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละครั้ง

การรักษา มะเร็งผิวหนัง

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล แพทย์จะวินิจฉัยโดยการตรวจชิ้นเนื้อ และให้การรักษาด้วยการผ่าตัดรอยโรคออกไป ในรายที่พบระยะแรกและมีขนาดเล็กอาจจี้ด้วยความเย็น (cryosurgery) เป็นส่วนผิวอาจใช้แสงเลเซอร์รักษา ถ้าเป็นที่ติ่งหู หนังตา หรือปลายจมูกอาจใช้รังสีบำบัด (ฉายรังสี) ถ้าแผลลึกอาจต้องทำการปลูกถ่ายผิวหนัง

ในรายที่เป็นมะเร็งเซลล์สร้างเม็ดสี หากมีการแพร่กระจายไปแล้ว ก็จะให้รังสีบำบัดร่วมกับเคมีบำบัด ผลการรักษา ส่วนใหญ่จะได้ผลดี และหายขาดได้

[Total: 0 Average: 0]