การรักษา อาหารไม่ย่อย

1. ถ้ามีลมในท้องหรือเรอ ให้ยมแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ  หรือยาต้านกรดที่มีไซเมทิโคนผสม ในเด็กเล็ก ให้กินไซเมทิโคน ½ – 1 หยด (0.3 – 0.6 มล.) ผสมน้ำ 2 – 4 ออนซ์ – ¼ หรือใช้ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ทาหน้าท้อง ถ้าไม่ได้ผล หรือคลื่นไส้ อาเจียนให้เมโทโคลพราไมด์   หรือดอมเพอริโน ก่อนอาหาร 3 มื้อ

                ถ้ามีความเครียด วิตกกังวล หรือนอนไม่หลับให้ไดอะซีแพม

2. ถ้าทีอาการแสบท้องเวลาหิวหรือตอนดึก หรือจุกเสียดแน่นท้องหลังอาหาร  เรอเปรี้ยว หรือมีประวัติกินยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์  หรือดื่มแอลกอฮอล์ ให้ยาต้านกรดร่วมกับยาลดการสร้างกรด เช่น รานิทิดีน ถ้ารู้สึกทุเลาหลังกินยาได้ 2–3 ครั้ง ควรกินต่อจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้ารู้สึกหายดีควรกินยานานประมาณ 8 สัปดาห์ เพื่อครอบคลุมโรคแผลเพ็ปติกที่อาจเป็นสาเหตุของอาหาร
ไม่ย่อยได้

ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจพิเศษเพิ่มเติม  ถ้ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • กินยาต้านกรดและยาลดการสร้างกรด 2 – 3 ครั้งแล้วยังไม่รู้สึกทุเลาแม้แต่น้อย หรือลุเลาแล้วแต่กินยาจนครบ 2 สัปดาห์แล้วรู้สึกไม่หายดี  หรือกำเริบซ้ำหลังจากหยุดกินยาจนครบ 8 สัปดาห์แล้ว
  • มีอาการเบื่ออาหาร  กลืนลำบาก  น้ำหนักลด ซีด ตาเหลือง ตับโต  ม้ามโต  คลำได้ก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด  หรือถ่ายดำ
  • สงสัยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด  หรือนิ่วน้ำดี
  • พบในผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป

การวินิจฉัยอาจต้องทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ ตรวจคลื่นหัวใจ เอกซเรย์กระเพาะลำไส้โดยการกลืนแป้งแบเรียม (barium meal/upper GI study) ใช้กล้องตรวจกระเพาะลำไส้ (endoscopy) เป็นต้น แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

[Total: 0 Average: 0]