สาเหตุที่พบบ่อยการสูญเสียความอยากอาหารอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น อายุที่มากขึ้น ความกระวนกระวาย ซึมเศร้า ภาพและกลิ่นที่น่ารังเ
เนื่องจากอาการ “อาหารไม่ย่อย” เป็นอาการแสดงของโรค มิได้หมายถึงโรคจำเพาะชนิดใดชนิดหนึ่ง จึงอาจมีสาเหตุได้ต่าง ๆ ได้แก่
- สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด (ประมาณร้อยละ 30–50 ของผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อย) ก็คือ อาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผล (non ulcer dyspepsia) ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมาก หรืออาจสัมพันธ์กับฮอร์โมน ความเครียดทางจิตใจ หรืออาหาร (เช่น อาหารมัน อาหาร รสจัด อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารย่อยยาก) หรืออาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ เป็นต้น
- โรคแผลเพ็ปติก กระเพาะอาหารอักเสบ
- โรคกรดไหลย้อน
- เกิดจากยา (เช่น แอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ สตีร้อยด์ ยาเม็ดโพแทสเซียมคลอไรด์เตตราไซคลีน อีริโทรไมซิน เฟอร์รัสซัลเฟต ทีโอฟิลลีนเป็นต้น) รวมทั้งแอลกอฮอล์ (เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์) ชา กาแฟ และเครื่องดื่มกาเฟอีน
- โรคของตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน เช่น ตับอักเสบ ตับแข็ง นิ่วน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
- มะเร็ง เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ เป็นต้น ซึ่งมักพบในคนอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
- กระเพาะอาหารขับเคลื่อนตัวช้า ทำให้มีอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารอยู่นาน เช่น ผู้ป่วยเบาหวานที่ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม มีแผลหรือเนื้องอกในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
- อื่น ๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
[Total: 0 Average: 0]