ไส้เลื่อน หมายถึง ภาวะที่มีลำไส้บางส่วนไหลเลื่อนมาตุงที่ผนังหน้าท้อง เห็นเป็นก้อนบวมตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของช่องท้อง หรือขาหนีบ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ส่วนใหญ่มักมีความผิดปกติมาแต่กำเนิดส่วนน้อยอาจเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย
เกิดจากผนังหน้าท้องบางจุดมีความอ่อนแอ (หย่อน) ผิดปกติ ซึ่งส่วนมากจะเป็นมาแต่กำเนิด ทำให้ลำไส้ที่อยู่ข้างใต้ไหลเลื่อนทะลักเข้าไปในบริเวณนั้น ทำให้เป็นก้อนตุง มักมีอาการแสดงเฉพาะเวลามีแรงดันในช่องท้องสูง เช่น เวลาไอ จาม ร้องไห้ เบ่งถ่าย ยกของหนัก
ไส้เลื่อน มีหลายชนิด ซึ่งจะมีอาการภาวะแทรกซ้อน และการรักษาแตกต่างกันไปขึ้นกับตำแหน่งที่เป็นที่พบได้บ่อย ได้แก่
ถึงแม้ว่าหน้าท้องตรงบริเวณขาหนีบจะอ่อนแอมาตั้งแต่เกิด แต่อาการของไส้เลื่อนมักจะปรากฏเมื่อย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หรือวัยกลางคน หรือเมื่อเป็นโรคไอ เรื้อรัง เช่น หลอดลมอักเสบ ถุงลมปอดโป่งพอง
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสะดือจุ่น และไส้เลื่อนที่ขาหนีบซึ่งพบมากกว่าไส้เลื่อนชนิดอื่น
สะดือจุ่น ทารกมีอาการสะดือจุ่น หรือสะดือโป่ง เวลาร้องไห้ ซึ่งเป็นมาตั้งแต่แรกเกิด โดยไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ
ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ มีอาการเป็นก้อนตุงที่บริเวณขาหนีบหรือถุงอัณฑะ ซึ่งจะเห็นขณะลุกขึ้นยืน ยกของหนัก ไอ จาม หรือเบ่งถ่ายเวลานอนหงายก้อนจะเล็กลงหรือยุบหายไป ก้อนมีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆโดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด
สะดือจุ่น ไม่ต้องทำอะไร ยกเว้นในรายที่ก้อนโตมาก ให้ใช้ผ้าพันรอบเอว กดสะดือจุ่นไว้ไม่ให้ลำไส้โผล่ออกมา รอจนอายุ 2 ปี ถ้ายังไม่หายอาจต้องผ่าตัดแก้ไข ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ควรแนะนำไปผ่าตัดที่โรงพยาบาล
ในรายที่สงสัยมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปวดท้อง รุนแรง อาเจียนรุนแรง หรือก้อนติดคา ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องผ่าตัดฉุกเฉิน