สาเหตุ ภาวะไทรอยด์เกิน

ภาวะพิษจากไทรอยด์  มีสาเหตุที่พบบ่อย ดังนี้    

1.โรคเกฟส์ (Graves’disease)

เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด (ประมาณร้อยละ 60-80 ของผู้ที่มีภาวะเป็นพิษจากไทรอยด์ทั้งหมด)  พบมากในคนอายะ  20-40 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5-10 เท่า ผู้ป่วยมักมีต่อมไทรอยด์โตลักษณะแบบกระจาย (diffuse toxic goiter) และมักมีอาการตาโปนร่วมด้วย โรคนี้จัดเป็นโรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune disease) ชนิดหนึ่ง ซึ่งพบมีการสร้างสารภูมิต้านทานต่อไทรอยด์ (thyroid antibody) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่  thyroid stimulating  immunoglobulin) (TSI) ซึ่งจะไปจับกับ ตัวรับฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (TSH) ที่ต่อมไทรรอยด์ กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมาโดยอยู่นอก เหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง ทำให้มีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน จนเกิดภาวะพิษจากไทรอยด์

                สาเหตุของการเกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ (พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย) และกรรมพันธุ์ (พบว่ามีประวัติพ่อแม่พี่น้อง เป็นโรคนี้ด้วย) นอกจากนี้ยังพบว่า ความเครียดมีส่วนกระตุ้นให้โรคกำเริบ

                โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง บางรายอาจมีระยะสงบ (หายจากอาการเจ็บป่วย) แต่ก็อาจกำเริบได้ใหม่

                 ผู้ที่เป็นโรคเกรฟส์  พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิต้านตนเองอื่น ๆ เช่น ไมแอสที่เนียเกรวิส เบาหวาน ชนิดที่ 1โรคแอดดิสัน ผมร่วงเป็นหย่อม ภาวะอัมพาตครั้งคราวจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ เป็นต้น

2.คอฟอกเป็นพิษชนิดหลายปุ่ม 

(toxic multi Nodular goiter) ซึ่งมีชื่อรียกว่าโรคพลัมเมอร์ (Plummer’sdisease) เป็นภาวะที่มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการคอพอกลักษณะโตเป็นปุ่มหลายปุ่ม มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง

3.เนื้องอกไทรอยด์ชนิดเป็นพิษ 

(toxic thyroid adebina) เป็นภาวะที่พบได้น้อยกว่า 2 ชนิดดังกล่าว ต่อมไทรอยด์ มีลักษณะโตเป็นก้อนเนื้องอกเดี่ยว ขนาดมากว่า 2.5 ซม.ซึ่งมีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง

4.ต่อมไทรอยด์อักเสบ 

ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ในระยะแรกเนื้อเยื่อที่อักเสบจะมีการปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์ที่สะสมอยู่ในต่อมไทรอยด์ (ในปริมาณที่สร้างตามปกติ) ออกมาในกระแสเลือดมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดภาวะพิษจากไทรอยด์ขึ้นมา ส่วนใหญ่มักจะเป็นอยู่ชั่วระยะหนึ่ง หลังจากนั้นอาจมีภาวะขาดไทรอยด์  อย่างถาวรตามมา

                  5.สาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้น้อย เช่น

  • เนื้องอกต่อมใต้สมอง ที่มีการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์มากเกิน
  • เนื่องอกรังไข่ชนิด dermoid  cyst บางรายอาจมีเนื้อเยื่อไทรอยด์สามารถหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ออกมาในกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะพิษจากไทรอยด์
  • ครรภ์ไข่ปลาอุก ที่มีการหลั่งฮอร์โมนเอชชีจี (HCG) ออกมาจำนวนมาก ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้
  • การใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ (ไทร็อกซีน) ขนาดสูงในการบำบัดโรค เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ ปุ่มไทรอยด์เป็นต้น
  • ผลข้างเคียงจากยา ที่พบบ่อยได้แก่ อะมิโอดาโรน (amiodarone) ซึ่งเป็นยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะยานี้มีส่วนผสมของไอไอดีถ้าใช้ในขนาดสูงอาจกระตุ้น ให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้นและอาจทำให้ต่อมไทรอยด์อับเสบจึงมีผลทำให้เกิดภาวะพิษจากไทรอยด์ได้ พบได้ประมาณร้อยละ 2.5 ของผู้ที่ใช้ยานี้
  • การได้รับสารไอโอดีนมากเกินไป ซึ่งอาจอยู่ในอาหารหรือยาที่บริโภค ซึ่งจะกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ ทำงานเกินได้
[Total: 0 Average: 0]