โรค | สาเหตุ | อาการ | การรักษา
ไขมันในเลือดสูง (Hypperlipidemias)ไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemias)
ภาวะผิดปกติของไขมันในเลือด มีอยู่หลายแบบ และมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
- ไขมันในเลือดสูง (hyperlipidemias) หมายถึง ภาวะคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
- คอเลสเตอรอลในเลือดสูง (hypercholesterolemia) หมายถึง ภาวะคอเสลเตอรอลในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว
- ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (dyslipoproridemia) หมายถึง ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว
- ไลโพโปรตีนในเลือดผิดปกติ (dyslipoproteinemia) หมายถึง ภาวะที่มีไลโพโปรตีนชนิดต่าง ๆ ในเลือดผิดปกติ ซึ่งอาจสูงหรือต่ำกว่าปกติก็ได้ ตัวอย่างเช่น hyperbetalipoproteinemia หมายถึง ภาวะแอลดีแอล คอเลสเตอรรอลสูง hypoalphlipoproteinemia หมายถึง ภาวะ เอชดีแอลคอเลสเตอรอลต่ำ
สำหรับเกณฑ์การตัดสินภาวะไขมันผิดปกติในเลือด
ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะแอลดีแอลคอเลสเตอรอลสูงและภาวะเอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งชักนำให้เกิดโรคต่าง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือด สมองตีบทั้งนี้หากพบร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆได้แก่ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็จะทำให้ มีโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งมากยิ่งขึ้น
ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ พบได้บ่อยทั้งชาย และหญิง พบมากในผู้ที่มีประวัติทางกรรมพันธุ์ อ้วนชอบกินอาหารพวกไขมันมาก ๆ หรือทำงานเบา ๆ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
สาเหตุ ไขมันในเลือดสูง
1.ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติชนิดปฐมภูมิ (primary dyslipidemia) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยไม่มีสาเหตุชัดเจนมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ทางกรรมพันธุ์ โดยมีพ่อแม่พี่น้องมีภาวะไขมันในเลือด ผิดปกติร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจมีรูปร่างสมส่วน หรือผอม และการควบคุมอาหารอย่างเต็มที่ก็ไม่ได้ทำให้ระดับไขมันในเลือดเป็นปกติ ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของไขมันในเลือดหลายแบบร่วมกัน (เรียกว่า familial combined hyperlipidemia)
2.ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติชนิดทุติยภูมิ (secondary dyslipidemia) มักมีสาเหตุ ดังนี้
- คอเลสเตอรอลในเลือดสูง (มก./ดล.) และ/หรือแอลดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (160 มก./ดล.) อาจเกิดจากโรคตับที่มีภาวะอุดกั้นของ ทางเดินน้ำดี (obstructive liver disease)โรคไตเนโฟรติก ภาวะขาดไทรอยด์ โรคคุชชิง การใช้ยาขับปัสสาวะการใช้ยาโพรเจสเทอโรน หรือไซโคลสปอรีน
- ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (200 มก./ดล.) อาจเกิดจากความอ้วน ความเครียด ขาดการออกกำลังกายการตั้งครรภ์ เบาหวาน โรคคุชิง ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคตับอักเสบเฉียบพลันมะ เร็งต่อมน้ำเหลือง เอสเอลอี โลหิตเป็นพิษ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์จัด การใช้ยา เอสโทรเจน (ยาเม็ดคุมกำเนิด) สตีรอยด์ ยาขับปัสสาวะยาปิดกั้นบีตา ยาต้านไวรัสเอชไอวีกลุ่ม protease inhibitors
- เอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ (< 40มก./ดล.) อาจเกิดจากความอ้วน การสูบบุหรี่ การใช้ ยาปิดกั้นบีตา การใช้ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนโพรเจสเทอโรน หรืออะนาบอลิกสตีรอยด์ ภาวะขาดอาหารขาดการออกกำลังกาย
3. ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจากอาหาร อาหารที่ทำให้แอลดีแอลคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงหรือมีไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fat) มาก เช่น ไขมันสัตว์ เนย เนื้อที่มีมันมาก หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์ หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอก กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไข่แดง อาหารทะเล(หอยนางรม กุ้ง ปู หลาหมึก)
ส่วนอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง ได้แก่ อาหารที่ให้พลังงานเกินความต้องการของร่างกาย อาหาร พวกแป้งน้ำตาล ของหวาน ผลไม้รสหวาน น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของทอดด้วยน้ำมันพืชซ้ำหลาย ๆ ครั้ง (เช่น มันฝรั่งทอด ปาท่องโก๋ เปาะเปี๊ยะ) ขนมเบเกอรี่ เนยเทียม (เช่น มาร์การีน)
อาการ ไขมันในเลือดสูง
ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ส่วนมากจะไม่มีอาการแสดงแต่อย่างใด มักจะตรวจพบขณะตรวจเช็กสุขภาพ หรือขณะมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก ปวดน่องเวลาเดินมาก ๆ ภาวะหย่อน สมรรถภาพทางเพศ หรือองคชาตไม่แข็งตัว (erectiledysfunction/ED) อัมพาต เป็นต้น
ข้อแนะนำ
1. เนื่องจากภาวะไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติมักไม่มีอาการแสดงเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่ามีสุขภาพทั่วไป แข็งแรงดี ก็ควรเซ็กไขมันในเลือดเป็นระยะโดย เฉพาะในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง
ในการตรวจเซ็กไขมันในเลือด ควรอดอาหาร (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 12 ชั่วโมง และในระยะ 3 สัปดาห์ก่อนตรวจ ควรมีน้ำหนักตัวคงที่ บริโภคอาหาร เครื่องดื่ม และทำกิจวัตรประจำวันตามปกติที่เคยทำ ทั้งนี้จะได้พบว่า พฤติกรรมที่เป็นนิสัยปกตินั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดหรือยัง
ถ้าผลเลือดปกติ สำหรับกลุ่มเสี่ยง ควรตรวจซ้ำ ทุก 1-3 ปี ส่วนผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงควรตรวจทุก 5 ปี
2. แม้ว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน จะมีความเสี่ยง สูงต่อการมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ แต่ผู้ที่มีน้ำหนัก ตัวปกติหรือผอม หากมีปัจจัยเสี่ยงก็อาจมีภาวะดังกล่าวได้ หากไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค ก็อาจเกี่ยว เนื่องกับความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงมาก
3. ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ ควรได้รับ การรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อควบคุมระดับไขมันให้ได้ตามเป้าหมายรวมทั้งควบคุมปัจจัยเสี่ยง อื่น ๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาการเมตาบอลิก) ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
4. การรักษาโรคนี้จำเป็นต้องอาศัยการปรับพฤติ กรรมเป็นพื้นฐาน หากไม่ได้ผลก็ควรใช้ยาลดไขมัน ควบคู่กันไปโดยแพทย์จะทำการเลือกใช้ยาและปรับขนาดของยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้น ผู้ป่วย ควรติดตามรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง
การป้องกัน ไขมันในเลือดสูง
ลดการกินอาหารพวกไขมันชนิดอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล กินผักผลไม้และเมล็ดธัญพืชให้มาก ๆ อย่าดื่มแอลกอฮอล์จัด อย่ากินน้ำตาลและของหวานมากเกินไป ออกกำลังกายเป็นประจำ และระวังอย่าให้อ้วน
การรักษา ไขมันในเลือดสูง
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง (เช่น มีประวัติทางกรรมพันธุ์ของโรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาตหรือภาวะไขมันใน เลือดสูงอ้วนขาดการออกกำลังกาย ชอบกินอาหารมันๆ ดื่มแอลกอฮอล์จัด สูบบุหรี่ เป็นต้น) มีอาการผิดปกติ (เช่นพบกระเหลือง) หรือเป็นโรค (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต) จำเป็นต้องตรวจดูระดับไขมันในเลือด
ส่วนคนทั่วไม่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อมีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจดูระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยทุก 5 ปี
การรักษา แพทย์จะทำการตรวจเพื่อประเมินสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงร่วมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาการ เมตาบอลิก รวมทั้งภาวะแทรกซ้อน และให้การดูแลรักษา โดยแนะนำการปรับพฤติกรรม และ พิจารณาให้ยารักษาตามเกณฑ์ รวมทั้งให้การรักษาโรคหรือภาวะเสี่ยงที่พบร่วม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักเกิน เป็นต้น
ในรายที่ระดับไขมันสูง ในขนาดที่ยังไม่ต้องให้ยา ลดไขมัน จะให้ผู้ป่วยลองปรับพฤติกรรมนาน 3-6 เดือน หากควบคุมไม่ได้ตามเป้าหมาย จึงค่อยพิจารณาให้ยาลดไขมัน ซึ่งมีแนวทางดังนี้
เลือกใช้ยาลดไขมันตามชนิดของความผิดปกติ ที่พบเช่นในรายที่มีแอลดีแอลคอเลสเตอรอลสูงหรือ คอเลสเตอรอลรวมสูง โดยไตรกลีเซอไรด์ปกติมักจะเลือกใช้ยากลุ่มสแตติน ยากลุ่มเรซิน หรือกรดนิโคตินิก เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งก่อน ถ้าคุมไม่ได้หรือมีค่าสูงมาก ๆ ก็จะให้สเตตินร่วมกับยากลุ่มแรซินหรือโพรบูคอล แต่ถ้ามีไตรกลีเซอไรด์สูงร่วมด้วยก็จะให้สแตตินร่วมกับยา กลุ่มไฟเบรต หรือกรดนิโคตินิก
ในรายที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงเพียงอย่างเดียว โดยแอลดีแอลปกติ (<130 มก./ดล.) และคลอเลสเตอร รวมปกติ (< 200 มก./ดล.) ก็จะให้ยากลุ่มไฟเบรตหรือ กรดนิโคตินิก
ก่อนให้ยากลุ่มสแตตินและไฟเบรต ควรตรวจเลือดดูว่าการทำงานของตับและไต ถ้าพบว่าเอนไซม์ตับ (AST, ALT) มีค่ามากกว่า 3 เท่าของค่าปกติ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ ถ้าพบว่าครีอะตินีนมีค่ามากกว่า 2 มก./ดล. ก็ควรลดขนาดของยากลุ่มไฟเบรต และหากครีอะตินีนมีค่ามากกว่า 4 มก./ดล. ก็ไม่ควรให้ ยากลุ่มนี้
หลังให้ยาลดไขมัน 6-12 สัปดาห์ ควรติดตาม ตรวจหาระดับไขมันในเลือด และควรตรวจซ้ำทุก 3-6 เดือน
หลังให้ยากลุ่มสแตตินหรือไฟเบรตหลัง 6-12 สัปดาห์ ควรตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์ตับ (AST,SLT) หลังจากนั้นควรตรวจซ้ำ
ปีละ 1-2 ครั้ง แต่ถ้าใช้ยาขนาดสูงหรือใช้ยาลดไขมันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ควรตรวจทุก 3-6 เดือน หากพบค่าเอนไซม์ตับสูงมากกว่า 3 เท่าของค่าปกติ ก็ให้หยุดยา
นอกจากนี้ หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังใช้ยาลดไขมันก็ควรตรวจเลือดหาระดับ เอนไซม์ CPK ซึ่งถ้ามีค่ามากกว่าปกติ 10 เท่า แสดงว่า มีอาการอักเสบของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงได้
ในกรณีให้ยากลุ่มสแตตินร่วมกับไฟเบรต ควรติดตามตรวจเอนไซม์ตับทุก 1-2 เดือน ในระยะ 6 เดือนแรกเนื่องจากผู้ป่วยมีความเสียงต่อการเกิดโรคตับอักเสบและภาวะกล้ามเนื้อถูกทำลายมากกว่าปกติ