การรักษา ต่อมไทรอยด์อักเสบ

                หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล มักจะวินิจฉัยโดย การตรวจเลือดทดสอบการทำงานของไทรอยด์ (thyroid function test) ตรวจหาสารภูมิต้านทานต่อไทรอยด์ สแกนต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์ ในบางรายอาจทาการตรวจชิ้นเนื้อ (fine needle aspiration biopsy)  เพื่อแยกโรคมะเร็งไทรอยด์

                การรักษา ให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ  ดังนี้

                • ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิต้านตนเอง ในรายที่มีภาวะขาดไทรอยด์ แพทย์จะให้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน ได้แก่ เลโวไทร็อกชีน (มีชื่อทางการค้า เช่น เอลทร็อกซิน) กินวันล่ะ 1 – 2 เม็ด ส่วนในรายที่ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ  มักจะนัดมาตรวจเลือด เป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะพบมีภาวะขาดไทรอยด์ตามา

                • ต่อมไทรอยด์อักเสบจากไวรัส ให้แอสไพริน ครั้งละ 2 - 3 เม็ด วันละ 4 ครั้ง หรือยาต้านอักเสบ ที่ไม่ใช่สตีรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ในรายที่เป็นรุนแรง แพทย์อาจให้เพร็ดนิโชโลน นาน 1สัปดาห์ แล้วค่อยๆ ลดขนาดยาลงทีละน้อย จนหยุดยาภายใน 6 - 8 สัปดาห์

                ถ้ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน แพทย์จะให้ยาปิดกั้นบีตา เช่นโพรพราโนลอล 10 - 40 มก.ทุก 6 ชั่วโมง

                ถ้ามีภาวะขาดไทรอยด์ (ซึ่งมักเป็นชั่วคราว) แพทย์จะให้ฮอร์โมนไทรอยด์  เช่น เอลทร็อกชินทดแทน

                •   ต่อมไทรอยด์อักเสบจากการติดเชื้อเฉียบ พลัน แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่เป็นสา เหตุในรายที่กลายเป็นฝี  อาจต้องทำการผ่าตัดระบายหนอง

•  ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบรีเดล  แพทย์มักจะต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อ  เพื่อแยกออกจากโรคมะเร็งไทรอยด์ หากพบว่าเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบแบบรีเดล ก็จะให้ยาทาม๊อกซิเฟน (tamoxifen) ซึ่งมักจะช่วยให้ก้อนไทรอยด์ยุบลลงได้ภายใน 3 - 6 เดือน และผู้ป่วยควรกิน ยานี้ต่อไปนานเป็นแรมปี ในรายที่ก้อนโตจนกดอวัยวะ ข้างเคียงหรือมีอาการปวด มักจะให้เพร็ดนิโชโลน ร่วมด้วยในช่วงระยะสั้น ๆในรายที่ก้อนโตกดท่อลม (หายใจลำบาก) อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด  ส่วนในรายที่มีภาวะขาดไทรอยด์ก็จะให้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน

[Total: 1 Average: 5]