ปัญหาของโรคที่เกิดขึ้นกับดวงตาเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาบอดได้ เช่น
- โรคต้อหิน หมายถึงอาการความดันสูงภายในตา ที่สูงเกินไปจนเกิดการกดทับเส้นประสาทตาของคุณ ซึ่งขัดขวางการทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากตาไปยังสมองจึงทำให้มองไม่ชัด
- โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่สามารถทำลายดวงตาส่วนหนึ่งได้ ซึ่งทำให้ตาของคุณนั้นเกิดการมองไม่เห็นส่วนมากอาการนี้มักเกิดกับผู้สูงอายุ
- โรคต้อกระจก เกิดจากการมองเห็นที่พล่ามัวสามารถพบได้ในผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน
- อาการสายตาขี้เกียจ สามารถทำให้เกิดการมองเห็นได้ยากมากขึ้นซึ่งนำมาสู่การสูญเสียการมองเห็น
- โรคเส้นประสาทตาอักเสบเป็นอาการอักเสบที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นชั่วคราวหรือถาวรได้
- โรคประสาทตาเสื่อม คือการที่จอประสาทตาถูกทำลาย ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้ในบางกรณีเท่านั้น
- โรคต้อเนื้อ ทำให้จอประสาทตาและเส้นประสาทตานั้นเกิดความเสียหาย อาจนำไปสู่โรคตาบอดได้
เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบจำนวนคนตาบอดในประชากรโลกจากประเทศต่าง ๆ ได้ องค์กรอนามัยโลกได้ให้คำนิยามคนตาบอดไว้ใช้เหมือนกัน โดยกำหนดไว้ว่า คนตาบอด หมายถึงคนที่มีสายตาในข้างดีกว่าเห็นน้อยกว่า 3/60 หรือมีลานสายตาแคบกว่า 10 องศา ด้วยเหตุที่สายตาข้างดีขนาดนี้มักจะช่วยตัวเองไม่ได้ จากคำนิยามนี้ ถ้าคนใดตาบอดหนึ่งข้าง ข้างที่ดีกว่าเห็นปกติหรือดีกว่า 3/60 จึงไม่ใช่คนตาบอด ด้วยนิยามนี้พบว่าในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว มีเศษฐานะดี พบจำนวนคนตาบอดเป็น 0.1-0.4% หรือ 1-4 คนต่อประชากร 1,000 คน และโรคที่ทำให้ตาบอดมักจะเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่ได้ โรคทางกรรมพันธุ์ที่ยังรักษาไม่ได้ ตลอดจนโรคที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน หรือโรคที่รักษาไม่ได้
ส่วนประเทศด้อยหรือกำลังพัฒนา พบคนตาบอดได้ 0.5-1.5% หรือ 5-15 คนในประชากร 1,000 คน และมักเป็นโรคที่รักษาได้ แต่อาจรักษาไม่ทัน หรือจำนวนแพทย์มีไม่พอที่จะรักษาได้แก่ โรคต้อกระจก แผลติดเชื้อที่ตาดำ ภาวะขาดวิตามินเอ ตลอดจนพยาธิในตา จำนวนคนตาบอดของประชากรในแต่ละประเทศ อาจบอกถึงความเจริญทางสาธราณะสุขทางการแพทย์ของประเทศนั้น