การเห็นภาพเบลอโดยทั่วไปนั้นเกี่ยวข้องกับสภาพของดวงตา คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายตาสั้น, สายตายาว, สายตาผู้สูงอายุ, สายตาเอียง และโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) ทั้งหมดนี้สามารถก่อให้เกิดปัญหามองเห็นไม่คมชัดได้ อย่างไรก็ตามบางกรณีอาจมีสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับดวงตาโดยตรง – ยกตัวอย่างเช่น ไมเกรน หรือโรคลมชัก เป็นต้น
สาเหตุอื่นๆ ของตามัว
- การติดเชื้อที่ตา – เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา หรือไวรัส อาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่ส่วนต่างๆ ของดวงตา
- ตาแห้ง – ถ้าการกระพริบตาช่วยให้หายตามัวได้ แสดงว่าปัญหาอาจเกิดจากอาการตาแห้ง บางครั้งกระจกตา (ชั้นฟิล์มบางๆที่เคลือบอยู่บนลูกตา) ขาดน้ำหล่อลื่นอย่างที่ควรมีตามปกติ หรือสภาวะอาการเจ็บป่วยบางอย่าง การใช้ยาหยอดตาช่วยบรรเทาอาการได้ในบางกรณี
- ไมเกรน – สามารถทำให้เกิดอาการตามัวได้ในระยะเวลาสั้นๆ
- โรคเส้นประสาทตาอักเสบ – เป็นภาวะที่เส้นประสาทซึ่งนำส่งข้อมูลไปยังดวงตาเกิดการอักเสบ มักเกี่ยวเนื่องกับโรคปลอกระบบประสาทอักเสบของระบบประสาทส่วนกลาง (MS)
- โรคตาบอดตอนกลางคืน – เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบยาก โรคนี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์จอประสาทตา (เนื้อเยื่อบางๆ ที่อยู่ด้านหลังของดวงตา) ส่งผลให้ตามัวในเวลากลางคืน และสูญเสียความสามารถในการมองเห็นรอบๆ
- ต้อกระจก – เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่อเลนส์ตาเริ่มเป็นฝ้ามัว ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน
- ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา – ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานขึ้นจอตา เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนทำให้กระจกตาเกิดการเป็นฝ้ามัว
- โรคหลอดเลือดสมอง – สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองอย่างหนึ่งก็คืออาการผิดปกติของสายตา บางครั้งผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา เนื่องจากเส้นประสาทที่ส่งข้อมูลถึงดวงตาถูกทำลาย
ขั้นถัดมาคือการให้จักษุแพทย์ตรวจตาดูว่าเกิดจากส่วนนำภาพ (Ocular media in origin) หรือส่วนรับภาพ (Sensory system in origin) ส่วนนำภาพเป็นโรคของลูกตาซึ่งมักมีอาการปวดตาร่วมด้วย (เว้นแต่จะเป็นชนิดเรื้อรังหรือเป็นส่วนนำภาพทางด้าน) ส่วนรับภาพเป็นโรคทางระบบประสาทและหลอดเลือดที่มีผลต่อจอรับภาพซึ่งมักไม่มีอาการปวดตา ความเร็วในการมัวก็เป็นอีกหนึ่งประวัติที่ช่วยแยกโรคเฉียบพลันกับโรคเรื้อรัง โรคที่เป็นเรื้อรังมักจะค่อย ๆ มัว ระบุวันที่เริ่มต้นมัวได้ลำบาก หากประมาณการก็เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ขณะที่โรคเฉียบพลันจะมัวทันทีหรือค่อนข้างเร็ว ผู้ป่วยสามารถบอกวันที่หรือเวลาได้ อีกกรณีหนึ่งคืออาการมัวที่เป็นชั่วคราวแล้วหายไปเองแต่อาจเป็นบ่อย ๆ ลักษณะนี้มักเป็นโรคอื่นที่มีอาการแสดงทางตาหรือเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดชั่วคราว หากผู้ป่วยให้ประวัติเหล่านี้ชัด กลุ่มโรคที่พบบ่อยจะเป็นดังนี้