การรักษา โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

1.ในรายที่อัตราชีพจรอยู่ในเกณฑ์ปกติ (60 -100 ครั้ง/นาที) เพียงแต่ตรวจพบว่าชีพจรเต้นรัวหรือวูบหาย เป็นบางจังหวะ และผู้ป่วยรู้สึกสบายดี น่าจะเกิดจาก ภาวะหัวใจห้องบนหรือห้องล่างเต้นก่อนกำหนดก็ไม่ต้องให้ยารักษา เพียงแต่แนะนำให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด หลีกเลี่ยงยาและ สารกระตุ้น (งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ กาเฟอีน ยาแก้หืด ยา แก้หวัด ยาลดความอ้วน เป็นต้น)

                แต่ถ้ามีอาการชีพจรเต้นรัวหรือวูบหายแบบถี่ ๆ นาทีละหลายครั้ง  หรือชีพจรเต้นจังหวะไม่สม่ำเสมอและ  แรงไม่เท่ากันตลอด (อาจเป็นภาวะหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว โดยมีอัตราชีพจร < 100 ครั้ง/นาที ก็ได้)  หรือมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย หรือฟังหัวใจได้ยิน เสียงฟู่  ก็ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุ

                สำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นก่อนกำหนด อาจพบว่ามีโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย หรือลิ้นหัวใจพิการร่วมด้วย ถ้าตรวจพบ   แพทย์ก็จะทำการรักษาโรค เหล่านี้ ในรายที่มีโรคลิ้นหัวใจพิการ (ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วและอาจทำให้เสียชีวิตฉับพลันได้)  แพทย์จะให้ยาปิดกั้นบีตา เช่น โพรพราโนลอลกินควบคุมอาการ

                2.ในราที่ชีพจร < 50 ครั้ง/นาที หรือ > 120 ครั้ง/นาที  หรือชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ และรงไม่เท่ากันตลอด  ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกมาก หายใจหอบเหนื่อย  แขนขาอ่อนแรงข้างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันเป็นลมหมดสติ หรือชัก ควรให้การรักษาขั้นต้น  แล้วส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญภายใน 24 ชั่วโมง

การรักษา  แพทย์จะรีบแก้ไขภาวะแทรกซ้อนและ ให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูมาติก พิษจากยา (เช่น ไดจอกซิน) พร้อมทั้งให้การรักษาเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจให้กลับเป็นปกติ ดังนี้

  •  ในรายที่มีภาวะหัวใจเต้นช้า แพทย์อาจให้ยกกระตุ้น ได้แก่ อะโทรพีน ถ้าไม่ได้ผลหรือ เป็นรุนแรงอาจจำเป็นต้องผ่าตัดใส่ตัวคุมจังหวะหัวใจ (cardiac pacemaier) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตประจุไฟฟ้ากระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • ในรายที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว มักจะต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ถ้ามีภาวะฉุกเฉินรุนแรงก็รีบให้การแก้ไข  และพิจารณาให้การรักษาเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจให้กลับเป็นปกติ (cardioversion) โดยการใช้เครื่องช็อกหัวใจ (defibillator) หรือการใช้ยาร่วมกับการให้สารกันเลือดเป็นลิ่ม (เช่น เฮพาริน วาร์ฟาริน) ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาและให้ยาตามระยะของโรคที่เป็นและความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดหลุดอุดตันหลอดเลือดสมอง

              หลังจากนั้นแพทย์จะให้ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ (antiarrhythmic) และสารกันเลือดเป็นลิ่ม (โดยให้กินวาร์ฟารินในรายที่มีความเสี่ยงสูงหรือแอสไพริน ในรายที่มีความเสี่ยงต่ำ) อย่างต่อเนื่อง 

                บางรายแพทย์อาจให้การรักษาด้วยวิธีตัดปม ประจุไฟฟ้าเอวี (atrioventricular/AV node ablation) โดยการแยงสายอิเล็กโทรดเข้าไปสร้างความร้อนทำลายเนื้อเยื่อ (catheter radiofrequency ablation) และถ้าการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ได้ผล ก็จะทำการผ่าตัดเนื้อเยื่อหัวใจส่วนที่เป็นต้นตอของโรค

  •  ในรายที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วชนิดโรคกลับฉับพลัน (PAT) แพทย์จะให้ยาต้านหัวใจเต้น ผิดจังหวะควบคุมอาการ   เช่น ยาปิดกั้นบีตาผู้ป่วยส่วนน้อยที่ใช้ยาไม่ได้ผล อาจต้องทำการรักษา ด้วยเครื่องช็อกหัวใจ หรือตัดปมประจุไฟฟ้าเอวีด้วยการใส่สายอิเล็กโทรด
[Total: 0 Average: 0]