ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง พบมากในเด็กอายุ 5-9 ปี รองลงมา 10-15 ปี ใน ขวบปีแรกมักพบในอายุ 7-9 เดือน ส่วนในกลุ่มอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ก็มีแนวโน้มพบได้มากขึ้น มักพบระบาดในฤดูฝนในช่วงที่มียุงลายชุกชุม
สาเหตุ ไข้เลือดออก
เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี (dengue virus) ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ชนิด 1, 2, 3 และ 4
โดยทั่วไปเมื่อได้รับเชื้อเด็งกีเข้าไปครั้งแรก (สามารถติดเชื้อตั้งแต่อายุได้ 6 เดือนขึ้นไป)โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 3 -15 วัน (ส่วนมาก 5-7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงคล้ายไข้หวัดใหญ่อยู่ 5-7 วัน และส่วนมากจะไม่มี อาการเลือดออก มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีเลือด ออก หรือมีอาการรุนแรง เรียกว่า ไข้เด็งกี (dengue fever/DF)
ต่อมาเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อซ้ำ (ซึ่งอาจเป็นเชื้อ เด็งกีชนิดเดียวกัน หรือคนละชนิดกับที่ได้รับครั้งแรกก็ได้ และมีระยะฟักตัวสั้นกว่าครั้งแรก) ร่างกายก็จะเกิด ปฏิกิริยาทำให้หลอดเลือดฝอยเปราะ และเกล็ดเลือดต่ำ จึงทำให้พลาสมา (น้ำเลือด ไหลซึมออกจากหลอดเลือด(ตรวจพบระดับฮีมาโทคริตสูง มีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด และช่องท้อง) และมีเลือดออกง่าย ก็เป็นเหตุให้เกิดภาวะช็อก
โดยทั่วไปการติดเชื้อครั้งหลัง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการ รุนแรง มักจะเกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อครั้งแรกประมาณ 6 เดือนถึง 5 ปี มักจะทิ้งช่วงไม่เกิน 5 ปี ด้วยเหตุ นี้ไข้เลือดออกที่มีอาการรุนแรงจึงมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี มากกว่าในวัยอื่น
โรคนี้มียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหนะนำโรค กล่าวคือ ยุงลายจะกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก่อนแล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียง (ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร) ก็จะแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ต่อไป ยุงชนิดนี้ชอบเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น ตุ่มน้ำ โอ่งน้ำ จานรองตู้กับข้าว แจกัน ฝากะลา กระป๋อง หลุมที่มีน้ำขังเป็นต้น เป็นยุงที่ออกหากิน (กัดคน) ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน
อาการ ไข้เลือดออก
อาการของไข้เลือดออกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง
ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ซึ่งเกิดขึ้น ฉับพลันมีลักษณะไข้สูงลอยตลอดเวลา (กินยาลดไข้ก็มักจะไม่ลด) หน้าแดง ปวดศีรษะ กระหายน้ำผู้ป่วยจะซึม มักมีอาการเบื่ออาหารและอาเจียนร่วมด้วยเสมอ บางรายอาจบ่นปวดท้องในบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือ ชายโครงขวา หรือปวดท้องทั่วไป อาจมีการท้องผูก หรือถ่ายเหลว
ส่วนมากมักจะไม่ค่อยมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือไอมากอย่างผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดหรือออกหัด แต่บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ คอแดงเล็กน้อย หรือไอบ้างเล็กน้อย ในราววันที่ 3 ของไข้ อาจมีผื่นแดงไม่คัน ขึ้นตามแขนขนและลำตัว ซึ่งจะเป็นอยู่ 2-3 วัน บางรายอาจมีจำเขียวด้วยก็ได้) ขึ้นตามหน้า แขน ขา ซอกรักแร้ ในช่องปาก (เพดานปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้นไก่) ในระยะนี้อาจคลลำพบตับโต และมีอาการกดเจ็บเล็กน้อย
การทดสอบทูร์นิเคต์ ส่วนใหญ่จะได้ผลบวกตั้งแต่ วันที่ 2 ของไข้ และในวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว มักจะพบมีจุดเลือดออกมากกว่า 10-20 จุดเสมอ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยอยู่ประมาณ 2-7 วัน ถ้าไม่มี อาการรุนแรง ส่วนมากไข้ก็จะลดลงในวันที่ 5-7 บางราย อาจมีไข้กิน 7 วันได้ แต่ถ้าเป็นมาก ก็จะปรากฏอาการระยะที่ 2
ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก
มักจะพบในไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อเด็กที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 อาการจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของโรค ซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤติของโรค อาการไข้จะเริ่มลดลง แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการทรุด หนัก มีอาการปวดท้อง และอาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือเท้าเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะ ออกน้อย ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว (อาจมากกว่า 120 ครั้ง/ นาที) และความดันต่ำ ซึ่งเป็นอาการของภาวะช็อก ภาวะ นี้เกิดขึ้นเนื่องจากพลาสมาไหลซึมออกจากหลอดเลือด ทำให้ปริมาตรของเลือดลดลงมาก ถ้าเป็นรุนแรง ผู้ป่วย อาจมีอาการไม่ค่อยรู้สึกตัว ตัวเย็นชืด ปากเขียว ชีพจร คลำไม่ได้ และความดันตกจนวัดไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ก็อาจตายได้ภายใน 1-2 วัน
นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น) เลือดกำเดาไหล อาเจียน เป็นเลือดสดๆ หรือเป็นสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด สดๆ หรือเป็นสีน้ำมันดิบๆ ถ้ามีเลือดออกมักทำให้เกิดภาวะช็อกรุนแรงและผู้ป่วยอาจเสียชีวิตในเวลารวดเร็ว
ระยะที่ 2 นี้ จะกินเวลาประมาณ 24-72 ชั่วโมง ถ้าหากผู้ป่วยสามารถผ่านช่วงวิกฤติไปได้ ก็จะเข้าสู่ ระยะที่ 3
ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว
ในรายที่มีภาวะช็อกไม่ รุนแรง เมื่อผ่านช่วงวิกฤติไปแล้วก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกรุนแรง เมื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็จะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ อาการที่ส่อว่าดีขึ้น ก็คือ ผู้ป่วยจะเริ่มอยากกินอาหาร แล้วอาการต่าง ๆ จะกลับคืนสู่สภาพปกติ ระยะนี้อาจกิน เวลา 7-10 วัน หลังผ่านระยะที่ 2
รวมเวลาตั้งแต่เริ่มป่วยเป็นไข้จนแข็งแรงดีประมาณ 7-14 วัน ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อย อาจเป็นอยู่ 3-4 วัน ก็หายได้เองส่วนอาการไข้ (ตัวร้อน) อาจเป็น อยู่ 2-7 วัน บางรายอาจนาน 10 วัน ก็ได้
การป้องกัน ไข้เลือดออก
1. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น
- ปิดฝาโอ่งน้ำ และล้างโอ่งน้ำทุก 10 วัน
- เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 10 วัน สำหรับแจกันพลูด่าง ต้องใช้น้ำชะล้างไข่หรือลูกน้ำที่เกาะติดตามราก
- จานรองตู้กำข้าว ควรใส่น้ำเดือดลงไปทุก10 วัน หรือใส่เกลือแกงในน้ำที่อยู่ในจานรองตู้ ขนาด 2 ช้อนชา/น้ำ 1 แก้ว
- ควรเก็บกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่าๆ หรือสิ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำ ซึ่งอยู่ในบริเวณบ้านโรงเรียนและแหล่งชุมชน ทำลายหรือฝังดินให้หมด
- ปรับพื้นบ้านและสนามอย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อที่มีน้ำขังได้
- วิธีที่สะดวก คือใส่ทรายอะเบต (abate) ชนิด 1% ลงในตุ่มน้ำและภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิดในอัตราส่วน10 กรัม /น้ำ 100 ลิตร (ตุ่มมังกรขนาด 8 ปีบใช้อะเบต 2 ช้อนชา ตุ่มซีเมนต์ขนาด 12 ปีบใช้อะเบต 2.5 ช้อนชา) ควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน น้ำที่ใส่ทราย อะเบตสามารถใช้ดื่มกินได้อย่างปลอดภัย
2. ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเมื่อเข้าใกล้ฤดูฝน และทำการรณรงค์ให้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง พร้อมๆ กันทั้งในบ้าน โรงเรียน และแหล่งชุมชน จึงจะได้ผลต่อการควบคุมยุงลาย
3. หาวิธีป้องกันอย่าให้ยุงลายกัด ทั้งในเวลากลาง วันและกลางคืน
การรักษา ไข้เลือดออก
1. ถ้าอาการไม่รุนแรง (มีอาการในขั้นที่ 1) คือเพียงแต่มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร โดยยังไม่มี อาการเลือดออกหรือมีภาวะช็อก ควรให้การรักษาตามอาการ ดังนี้
- ให้ผู้ป่วยพักผ่อนมาก ๆ
- หากมีไข้สูง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และให้ยาลดไข้-พาราเซตามอล คำนวณขนาดตาม น้ำหนักตัวหรือตามอายุ ให้ได้ไม่เกิน 4 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง ห้ามให้แอสไพรินเพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้น หรืออาจทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรมได้อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ให้ยาลดไข้ บางครั้งไข้ ก็อาจจะไม่ลดก็ให้ได้ ระวังอย่าให้พาราเชตามอลถี่กว่า กำหนดอาจมีพิษต่อตับได้
- ให้อาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นม น้ำหวาน
- ให้ดื่มน้ำมากๆ จนปัสสาวะออกมากและใสอาจเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำอัดลม (ควรเขย่าฟองออกก่อน)หรือละลาย น้ำตาล เกลือแร่
- ควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด อาจต้อง นัดผู้ป่วยมาตรวจดูอาการทุกวัน ควรจับชีพจร วัดความดัน และตรวจดูอาการเลือดออก รวมทั้งการทดสอบ ทูร์นิเคต์ ถ้าวันแรกๆ ให้ผลลบ ก็ต้องทำซ้ำในวันต่อๆ มา
เมื่อพ้น 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็มักจะทุเลา และฟื้นตัวได้ หากมีเลือดออกหรือสงสัยเริ่มมีภาวะช็อก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
2. ถ้าผู้ป่วยอาเจียนมากหรือมีภาวะขาดน้ำ ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ควรให้น้ำเกลือชนิด 5% D/1/2 NSS หรือ5% D/Ringer acetate ประมาณ 6-10 มล./กก./ ชั่วโมง ไประหว่างทางด้วย ผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์จะทำการเจาะเลือดตรวจวัดระดับฮีมาโทคริต นับจำนวนเม็ดเลือดขาวและจำนวนเกล็ดเลือด (พบว่าต่ำกว่าปกติทั้งคู่) เพื่อประเมินความรุนแรง เป็นระยะๆ พร้อมทั้งในน้ำเกลือเป็นระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง (ปริมาณน้ำเกลือคำนวณตามน้ำหนักตัว และปรับลดปริมาณและความเร็ว ตามระดับฮีมาโทคริตที่ตรวจพบโดยทั่วไป ปริมาณน้ำเกลือที่ควรได้รับใน 24 ชั่วโมง สำหรับน้ำหนักตัว 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45, 50, 55 และ 60 กก.ประมาณ 1,500, 2,000, ,500, 2,800,3,200, 3,500, 3,800, 4,000, 4,200, 4,400, และ 4,600มล ตามลำดับ)
3. ถ้าผู้ป่วยมีภาวะช็อกหรือเลือดออก (ขั้นที่ 3 และ 4) ควรส่งโรงพยาบาลด่วนโดยให้ 5% D/NSS หรือ 5% D/Ringer ประมาณ 10-20 มล./กก./ชั่วโมง ไประหว่างทางด้วย
แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการเจาะเลือดตรวจฮีมาโทคริต เพื่อดูความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะๆ ถ้าเลือดข้นมากไป เช่น ฮีมาโทคริตมีค่ามากกว่า 50% ขึ้นไปก็แสดงว่าปริมาตรของเลือดลดน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุ ของภาวะช็อกได้ ควรให้น้ำเกลือจนกว่าความเข้มข้นของเลือดกลับลงเป็นปกติ (ฮีมาโทคริตประมาณ 40-45%)
นอกจากนี้ อาจต้องตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด เริ่มต่ำประมาณวันที่ 3-4 ของไข้ โรคยิ่งรุนแรงเกล็ด เลือดจะยิ่งต่ำ) ตรวจอิเล็กโทรไลต์ในเลือด ตรวจการทำงานของตับ มักพบ AST และ ALT สูง ตรวจภาวะการแข็งตัวของเลือด (congulation study) ตรวจปัสสาวะเอกซเรย์ปอด เป็นต้น
ในรายที่ยังวินิจฉัยไม่ได้แน่ชัด อาจต้องทำ การทดสอบทางน้ำเหลือง เพื่อดูสารภูมิต้านทานต่อเชื้อไข้เลือดออกโดยวิธี (สามารถทราบผลจากการตรวจเพียงครั้งเดียว) หรือวิธี hemagglutination inhibition (HI ซึ่งต้องตรวจ 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์) โรงพยาบาลบางแห่งอาจทำการตรวจหาเชื้อในเลือดหรือปัสสาวะโดยวิธี PCR หรือการแยกเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง
การรักษา ให้น้ำเกลือรักษาภาวะช็อก ถ้าจำเป็น อาจให้พลาสมาหรือสารแทนพลาสมา (เช่น แอลบูมิน หรือเดกซ์แทรน) และให้เลือดถ้ามีเลือดออก