โรคลมจากความร้อน (โรคลมเหตุร้อน) เป็นภาวการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉินชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจาก ร่างกายสูญเสียกลไกปรับอุณหภูมิ ไม่สามารถจำกัด ความร้อน เป็นเหตุให้มีการสะสมความร้อนภายในร่างกายสูงมากจนส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่ผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง หัวใจ ตับและไต ซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิต
โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ (มากกวา 65 ปี) ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง(เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน พาร์กินสัน โรคผิวหนังบางชนิด เช่น scleroderma เป็นต้น) ผู้ที่กินยาบางชนิดที่ขัดขวางกลไกการจำกัดความร้อนอกจากร่างกาย (เช่น ยารักษาโรคจิต ยาแก้แพ้ ยาที่ออกฤทธิ์แอนติโคลินเนอร์จิก) ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพยา (โคเคน แอมเฟตามีน) คนอ้วน
1. เกิดจากการเผชิญกับอากาศร้อน เช่น การเกิด คลื่นอากาศร้อนมากกว่า 39.2๐ซ.(102.5๐ฟ.) ติดต่อกัน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปอาจทำให้เกิดโรคลมจากความร้อนในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอจากภาวการณ์เจ็บป่วย ซึ่งอยู่ในห้องที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ หรือถ่ายเทอากาศไม่ดี (เมื่อปี พ.ศ.2546 คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นไปประเทศฝรั่งเศสทำให้มีผู้ที่ตายจากโรคนี้ถึง 14,800 คน)
ในเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 6 ปี) ที่ติดอยู่ในรถยนต์ที่ปิดประตูหน้าต่างอยู่กลางแดดเปรี้ยง ก็อาจได้รับ อันตรายจากความร้อนร่วมกับภาวะขาดอากาศหายใจ
2. เกิดจากการออกกำลังกายหรือทำงานใช้แรงกาย อย่างหนักท่ามกลางอากาศร้อนและชื้นหรือในห้องที่ร้อน และปิดมิดชิดมักพบในนักกีฬา นักวิ่งไกล คนงาน ทหาร ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อายุไม่มาก ร่างกายจะสร้างความ ร้อนมากเกินกว่าที่สามารถกำจัดออกไปได้
เหล่านี้เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถจำกัดความร้อน ทำให้มีอุณหภูมิแกน (core temperature) โดยการวัดทางทวารหนัก) ขึ้นสูงมากกว่า 41๐ซ. (106๐ฟ.) ความร้อนจะทำให้อวัยวะต่างๆ ถูกทำลายจนทำหน้าที่ผิดปกติไป และเกิดปฏิกิริยาการอักเสบของร่างกาย ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงจัด ร่วมกับอาการทางสมอง (เช่น เดินเซ สับสน พฤติกรรมแปลก ๆ ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง ชักหมดสติ) และมีประวัติเผชิญคลื่นความร้อน ออกกำลังหรือใช้แรงกายในที่ที่อากาศร้อน หรือติดอยู่ในรถยนต์ที่จอดอยู่กลางแดดร้อนนานๆ
บางรายก่อนมีอาการทางสมองนับเป็นนาทีๆ ถึงชั่วโมง อาจมีอาการอื่นๆ นำมาก่อน เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ เวียนศีรษะตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตามกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว กระสับกระส่าย เป็นต้น
ในการป้องกันอันตรายจากความร้อน (อากาศร้อน) ควรปฏิบัติดังนี้
เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จำเป็นต้องให้การรักษา อย่างเร่งด่วนและรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ
แพทย์จะรีบแก้ไขภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับการหายใจ (เช่นให้ออกซิเจน ใช้เครื่องช่วยหายใจ)ให้น้ำเกลือ และหาวิธีลดอุณหภูมิร่างกาย (เช่น ถอดเสื้อผ้าออกใช้น้ำก๊อก ธรรมดาพ่นตามตัว ใช้พัดลมขนาดใหญ่เป่าวางน้ำแข็ง ตามซอกคอ รักแร้ และขาหนีบ) ให้เกลือ 40๐ซ.ควรหยุดทำเมื่ออุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 40๐ซ.
ทำการตรวจพิเศษ เช่นตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เป็นต้นเพื่อ ประเมินอาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แล้วทำการ แก้ไขภาวะผิดปกติตามที่ตรวจพบ
ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาลดไข้ (นอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ยังอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น แอสไพรินส่งเสริมให้เลือดออก พาราเซตามอลอาจมีพิษต่อตับ) และยาที่ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ เช่น ยาที่ออกฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก
ผลการรักษาขึ้นกับความรุนแรงและระยะเวลาที่เป็นก่อนมาถึงโรงพยาบาล ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูก ต้องได้เร็ว ก็มีโอกาสรอดชีวิต ถึงร้อยละ 90 แต่ถ้าปล่อยให้มีอาการนานเกิน 2 ชั่วโมง จึงได้รับการรักษา มีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 70
บางรายเมื่อรักษาจนฟื้นตัวดีแล้ว อาจมีอุณหภูมิ แกว่งขึ้นลงอยู่นานนับสัปดาห์ บางรายอาการทางสมอง อาจหายไม่สนิท มีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป ท่าทางงุ่มง่าม หรือกล้ามเนื้อทำงานประสานกันไม่ดี