สาเหตุ ความดันโลหิตสูง

1.ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 95) จะไม่พบโรคหรือภาวะผิดปกติหรือสิ่งที่เป็นต้นเหตุของความดันโลหิตสูง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ (primary hypertension) หรือความดันดลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (essential  hypertension)
              แต่อย่างไรก็ตาม มักพบว่าปัจจัยทางกรรมพันธุ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค กล่าวคือ ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่ไม่ประวัติดังกล่าวประมาณ 3 เท่า
               นอกจากนี้  อายุมากความอ้วน การกินอาหารเค็มจัดหรือมีเกลือโซเดียมสูง  และการดื่มแอลกอฮอล์จัด ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมของการเกิดโรคนี้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะเริ่มเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่ออายุประมาณ 25-55 ปี พบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้นก็มีโอกาสพบได้มากขึ้น

2.ส่วนน้อย (ประมาณร้อยละ 5) อาจตรวจพบโรคหรือภาวะผิดปกติหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงชนิด   ทุติยภูมิ (secondary hypertension) หรือความดันโลหิตสูงชนิดมีสาเหตุ
                ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อ ไปนี้

  • ความดันช่วงบนหรือช่วงล่าง   มม.ปรอท
  • มีความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที
  • ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นก่อนอายุ  30 ปี หรือหลังอายุ 50 ปี พบภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น หัวใจห้องล่างซ้ายโต มีค่าครีอะตินีนในเลือด 1.5 มก./ดล.
  • จอตาเสื่อม (hypertension  retnopathy) ระดับ 3 หรือ 4
  • คุมความดันไม่ได้หลังจากเคยคุมได้ดีมาก่อนหรือใช้ยาลดความดันหลายชนิดแล้วยังคุมความดันไม่ได้ 
  • มีอาการสงสัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ 

3.ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว มักพบในผู้สูงอายุ (ยิ่งอายุมาก ก็ยิ่งมีโอกาสพบได้มากขึ้น)โรคคอพอกเป็นพิษ ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ   (coarctation of aorta) ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (aortic insufficiency)

4.ความดันโลหิตอาจสูงได้ชั่วคราว เมื่อมีภาวะที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น  เช่น ไข้ ซีด ออกกำลังกายใหม่ ๆ อารมณ์เครียด (เช่น โกรธ  ตื่นเต้น) เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องรักษา จะหายไปได้เองเมื่อปัจจัยเหล่านี้หมดไป

[Total: 0 Average: 0]