อาการ มาลาเรีย

                อาการจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อโดยถูกยุงก้นปล่อง กัดประมาณ 9 – 17 วัน (แต่อาจนานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนก็ได้) ใน  2 – 3  วันแรก อาจมีอาการไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเดินร่วมด้วย  ต่อมาจึงจะมีอาการไข้ยับสั้นเป็นเวลา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมาลาเรีย

 อาการจับไข้  แบ่งออกเป็น 3 ระยะ  ดังนี้

1. ระยะหนาวสั่น  มีอาการหนาวสั่นมากและไข้ เริ่มขึ้น ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด อาจมีคลื่นไส้  อาเจียน เบื่ออาหาร ระยะนี้กินเวลา 20 - 60 นาที

2. ระยะร้อน ไข้ขึ้นสูงประมาณ 40

 ปวดศีรษะมาก  อาจปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา  หน้าแดง ตาแดง กระสับกระส่ายเพ้อ  กระหายน้ำ  ชีพจรเต้นเร็ว  อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ในเด็กอาจชักได้  กินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (อาจนาน 3-8 ชั่วโมง)

3. ระยะเหงื่อออก จะมีเหงื่อออกซุ่มทั้งตัวไข้จะ ลดลงเป็นปกติ  แต่จะรู้สึกอ่อนเพลียและหลับไป กินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดไวแวกซ์  มักจับไข้วันเว้นวันหรือทุก 48 ชั่วโมง เวลาไม่จับไข้จะรู้สึกสบายดี  มักจะ คลำได้ม้ามโตในปลายสัปดาห์ที่ 2 ถ้าไม่ได้รับการรักษา จะมีไข้วันเว้นวันอยู่ประมาณ 6 สัปดาห์ถึง 3 เดือน (หรืออาจนานกว่านั้น) แล้วจะหายไปเอง ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง  แม้ว่าไข้จะหายไปแล้วแต่ก็อาจกลับเป็นได้ใหม่หลังจากหารไป 2 – 3 สัปดาห์ หรือ 2 – 3 เดือน แตะอาการจะน้อยกว่าครั้งแรก  ผู้ป่วยอาจมีอาการกำเริบเป็นๆ หาย ๆ บ่อย และมักไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง บางรายอาจกินเวลานานถึง 2 – 3 ปีกว่าจะหายขาด
จึงเรียกว่า มาลาเรียเรื้อรัง

ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม  มักจับไข้ทุกวัน หรือทุก 36 ชั่วโมง แต่อาจจับไม่เป็นเวลา  อาจจับทั้งวัน หรือวันละหลายครั้ง  ระยะไม่จับไข้ก็ยังรู้สึกไม่ค่อยสบาย และอาจมีไข้ต่ำๆ อยู่เรื่อยๆ บางรายอาจมีอาการปวดท้องท้องเดินร่วมด้วย  ม้ามจะโตในวันที่ 7 –10  ของไข้ 
ถ้าได้ รับการรักษาอย่างถูกต้อง ไข้จะลงภายใน 3 – 5 วัน ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงถึงตายได้  จึงเรียกว่า  มาลาเรียชนิดร้ายแรง

[Total: 0 Average: 0]