ความดันตกในท่ายื่น

ในคนปกติ เมื่อลุกขึ้นยืนจะทำให้มีเลือดคั่งที่เท้า เป็นเหตุให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนในกระแสเลือดลดลง ร่างกายจะเกิดการปรับตัวโดยอัตโนมัติ ให้หลอดเลือดแดงหดตัวทันที เพื่อให้ความดันโลหิตอยู่ในภาวะปกติ

แต่ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถปรับตัวได้ตามปกติ ดังนั้น ขณะที่เปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่ายืนจะมีภาวะ ความดันต่ำกว่าปกติทันที ทำให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียน  คล้ายเป็นลมชั่วขณะเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เราเรียกภาวะความดันต่ำขณะที่ลุกขึ้นนี้ว่า ความดันตกในท่ายืน(postural/orthostatic hypotension) อัตราการเต้นของชีพจร (เช่น โพรพราโนลอล ให้ต่ำลง  เพื่อลดแรงดันต่อหลอดเลือด รูปริที่ผนังหลอดเลือดจะ ปิดได้เองในที่สุด เมื่ออาการหายดีแล้ว แพทย์จะนัดมาตรวจทุก 3-6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยดี พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 30 อาจเกิดภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในระยะต่อมา ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

ส่วนน้อยที่พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนหรือมีการลุก-ลามมากยิ่งขึ้น  แพทย์จะทำการผ่าตัดแก้ไขโดยด่วน แบบเดียวกับชนิดเอ ซึ่งมีอัตราการอยู่รอดเกิน 5 ปี ร้อยละ 50-70

ผู้ป่วยที่เป็นภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ชนิดบี หากไม่ได้รับการรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเลย มีอัตราตายประมาณร้อยละ 10-20 จากผนังหลอดเลือดแตก และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ


สาเหตุ ความดันตกในท่ายื่น

ที่พบบ่อย ได้แก่ อายุมาก ปริมาตรของเลือดลดลงจากภาวะตกเลือด (เช่น มีเลือดออก ถ่ายอุจจาระดำ) หรือภาวะขาดน้ำ (เช่น ท้องเดิน อาเจียนรุนแรง) การใช้ยา (เช่น ยาลดความดัน ยากลุ่มไนเทรตที่ใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ยาขับปัสสาวะ ยานอนหลับ ยาแก้ซึมเศร้า ยาเลโวโดพาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน) ประสาท อัตโนมัติเสื่อม (ANS neuropathy) จากเบาหวานหรือโรคพิษสุราเรื้อรัง

นอกจากนี้ ยังอาจพบในผู้ป่วยที่ขาดอาหาร ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ โรคแอดดิสัน โรคพาร์กินสัน กลุ่มอาการกิลเลนบาร์เรเนื้องอกของต่อมหมวกไตฟีโอโครโมไซโตมา ภาวะหัวใจวายรุนแรง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (arotic stenosis) บางรายอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการ ความดันตกในท่ายื่น

มีอาการหน้ามืด วิงเวียน จะเป็นลมขณะที่ลุกขึ้น นั่งหรือยืนทุกครั้ง อาจรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า ตาลายร่วมด้วย สักครู่หนึ่งก็หายเป็นปกติ ในรายที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการหมดสติ หรือชัก ร่วมด้วย เมื่อล้มตัวลงนอนก็จะหายได้เอง

ข้อแนะนำ ความดันตกในท่ายื่น

  1. ภาวะความดันตกในท่ายืน เป็นเพียงอาการที่ ปรากฏให้เห็น ไม่ใช้โรค ดังนั้นจึงควรค้นหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
  2. ควรแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าให้ขาดน้ำ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ (ซึ่งมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้)ควรให้ผู้ป่วงลุกขึ้นช้า ๆ จากท่านอนเป็นท่านั่ง แล้วจากท่านั่งจึงค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน การขยับขาก่อนลุกขึ้นก็อาจทำให้เกิดอาการ น้อยลงเนื่องเพราะสามารถเพิ่มปริมาตรเลือดไหลกลับ เข้าสู่หัวใจได้ นอกจากนี้ การนอนศีรษะสูงหรือใช้ถุงรัดน่อง (compressive stocking) ก็อาจมีส่วนช่วยลด อาการได้
  3. ควรแยกออกจากอาการเวียนศีรษะ กลุ่ม ที่มีสาเหตุไม่ชัดเจน ซึ่งบางครั้งอาจตรวจพบความดันโลหิตต่ำกว่าคนทั่วไปได้ควรทำการวัดความดันในท่ายืน เทียบกับท่านอนดูว่าเข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะ ความดันตกในท่ายืนหรือไม่ ทั้ง 2 กลุ่มนี้มีสาเหตุและการรักษาที่แตกต่างกัน

การรักษา ความดันตกในท่ายื่น

  1. ถ้าตรวจพบสาเหตุชัดเจน ก็ให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น ภาวะขาดน้ำหรือตกเลือดก็ให้น้ำเกลือหรือ ให้เลือด ถ้าเกิดจากยาก็ปรับการใช้ยาให้เหมาะสม เช่น  ลดขนาดของยาลดความดัน เวลาจะอมยากลุ่มไรเทรต (ไอโซซอร์ไบด์ หรือไนไตรกลีเซอรีน) ก็ควรนั่งลงก่อน อย่าลุกขึ้นยืน
    เป็นต้น
  2. ถ้าตรวจไม่พบสาเหตุชัดเจน แนะนำให้ไปโรง-พยาบาล อาจต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และอื่น ๆ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

 ในรายที่มีอาการบ่อย ๆ แพทย์อาจให้ยากลุ่ม mi-neralocorticoid เช่น ฟลูโดรคอร์ติโซน (fludrocortisone) 0.1- 0.2 มก.วันละ 1ครั้ง หรือให้ยาหดหลอดเลือด เช่น เอฟีดรีน (ephedrine) 15-30 มก.หรือไมโดดรีน (midodrine) 2.5-10 มก.วันละ 3 ครั้ง

 ผลการรักษาขึ้นกับสาเหตุ บางอย่างก็ได้ผลดีหรือ หายขาด บางอย่าง (เข่น ถ้าพบในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย) ก็อาจได้ผลไม่ดีนัก

[Total: 0 Average: 0]