ช็อก

ช็อก ในทางการแพทย์ หมายถึง ภาวะที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้รับเลือดซึ่งมีสารอาหารและออกซิเจน ไปเลี้ยงไม่เพียงพอ อันสืบเนื่องมาจากระบบไหลเวียนของ โลหิตล้มเหลวด้วยสาเหตุต่าง ๆ ทำให้อวัยวะสำคัญ ๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง ตับ ไต ลำไส้  เป็นต้น
มีภาวะ ขาดเลือดและทำหน้าที่ไม่ได้ ซึ่งในที่สุดเกิดภาวะล้มเหลว (failure) ของอวัยวะเหล่านี้จนเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้

                มักพบเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงของการเจ็บป่วย ต่าง ๆ ที่มีอาการรุนแรงหรือขาดการดูแลรักษาที่เหมาะสม ตั้งแต่แรก  

                ผู้ป่วยมักมีประวัติได้รับบาดเจ็บ เป็นโรคติดเชื้อ มีการเจ็บป่วยอื่น ๆ หรือมีการใช้ยามาก่อน

สาเหตุ ช็อก

                สาเหตุมีหลากหลายประการ ขึ้นกับชนิดของช็อก ซึ่งแบ่งเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ ภาวะช็อกจากปริมาตร ของเลือดลดลง  (hypovolemic/oligemic shock) ภาวะช็อกจากความผิดปกติของหัวใจ (cardiogenic shock) ภาวะช็อกจากภาวะอุดกั้นนอกหัวใจ (extracardiac obstructive shock) และภาวะช็อกจากปัจจัยที่ทำให้หลอด เลือดขยายตัว (distributive shock) แต่ละชนิดก็อาจมีสาเหตุได้ต่าง ๆ ภาวะเหล่านี้ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ความดันโลหิตต่ำ อวัยวะสำคัญขาดเลือดจนเซลล์ตาย เกิดอาการที่รุนแรงมากมาย

อาการ ช็อก

อาการขึ้นกับสาเหตุ ระยะ และความรุนแรงของโรค

ผู้ป่วยมักมีประวัติและอาการแสดงของภาวะ การเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุนำมาก่อน เช่น การบาดเจ็บ เลือดออก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร) ท้องเดิน อาเจียน กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อยมาก (เบาหวาน เบาจืด) ปวดท้องรุนแรง (ครรภ์นอกมดลูก) เจ็บหน้าอก (กล้ามเนื้อหัวใจตาย) เป็นไข้ จากโรคติดเชื้อ เป็นต้น

                ผู้ป่วยที่เริ่มเข้าสู่ภาวะช็อกในระยะแรก ๆอาจมีอาการไม่เด่นชัด จนกระทั้งระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวและอวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยง  จึงจะปรากฏอาการเด่นชัด

                อาการที่พบได้บ่อยก็คือ อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย เวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม อาจรู้สึกใจหวิว ในสั่นร่วมด้วย อาการจะเป็นมากเวลาลุกนั่งจนต้องล้ม ตัวลงนอนราบผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำปัสสาวะออกน้อย ตัวเย็นและมีเหงื่อออก ริมผีปากและเล็บเริ่มเขียวคล้ำ เจ็บแน่นหน้าอกหายใจตื้นและถี่

                ต่อมาจะมีอาการซึม สับสน เพ้อ กระหายน้ำมากปัสสาวะไม่ออก ผิวหนังซีดคล้ำ ตัวเย็นจัด หายใจหอบ ค่อย ๆ ซึมลงจมหมดสติในที่สุด

การป้องกัน ช็อก

การป้องกันภาวะช็อก  สามารถทำได้โดย

  1. วินิจฉัยและให้การรักษาอาการเจ็บป่วย (เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ท้องเดิน ไข้เลือดออก การบาดเจ็บ) ให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
  2. มีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะช็อก เช่น โรคหัวใจขาดเลือด การหลีกเลี่ยงการใช้สตีรอยด์อย่างไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร  ระวังการแพ้ยา เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกโดยตรวจหาสาเหตุไม่ได้ชัดเจน (เช่น ตกเลือด โรคหัวใจ) หรือพบว่ามีไข้สูงร่วมด้วย ควรนึกถึงภาวะติดเชื้อและต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน

สำหรับต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน (ภาวะต่อมหมวกไตวิกฤติ) เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งคราวส่วนน้อยทีเกิดจากโรคแอดดิสัน   ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้สตีรอยด์  รักษาโรคในขนาดสูงนานเกิน 1 สัปดาห์ หรือใช้ในขนาดต่ำติดต่อกันเป็นแรมเดือน แรมปี ที่พบบ่อยก็คือ การใช้ยาชุด ยาลูกกลอนที่มีสตีรอยด์ผสมรักษาตัวเองเมื่อเป็นโรคปวดข้อ (เช่น ข้อเข่า เสื่อม) โรคภูมิแพ้หรือโรคหืด จนเกิดโรคคุชชิง และต่อมหมวกไตฝ่อหรือบกพร่องเรื้อรัง ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะช็อกเมื่อมีการหยุด (ถอน) ยาทันที  หรือมีภาวะเครียด เช่น ติดเชื้อ ท้องเดิน อุบัติเหตุ ผ่าตัด อดอาหาร เป็นเวลานาน เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน  สับสนหมดสติ ความดันโลหิตต่ำ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจเสียชีวิตในเวลารวดเร็ว หากได้รับสตีรอยด์  ฉีดเข้าร่างกายก็จะฟื้นตัวและหายเป็นปกติได้

                ดังนั้น เมื่อพบผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน หรือให้การรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ควรคิดถึง โรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีประวัติว่ากินยาสตีรอยด์ยาชุด หรือยาลูกกลอนอยู่เป็นประจำ หรือตรวจพบลักษณะอาการของโรคคุชชิง เช่น อ้วนฉุ หน้าอูม แขนขาลีบ มีไขมัน (หนอกควาย) ที่หลังคอ เป็นต้น

การรักษา ช็อก

                ถ้าพบผู้ป่วยมีภาวะช็อก ควรรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ระหว่างนั้นควรให้การรักษาขึ้นต้น

                แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลทำการค้นหาสาเหตุโดยการตรวจเลือดปัสสาวะ เอกซเรย์คลื่นหัวใจ และตรวจพิเศษอื่น ๆ  

การรักษา ให้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้น้ำเกลือนอร์มัลหรือริงเกอร์แล็กเทตให้เลือด ใส่ท่อ หายใจ ให้ออกซิเจน  เป็นต้น

                ในรายที่ให้สารน้ำแล้วความดันโลหิตยังต่ำ แพทย์จะให้สารกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด เช่น โดบูทามีน (dobutamine) โดพามีน (dopamine) หรือ นอร์เอพิเนฟรีน (norepinephrine)

                นอกจากนี้จะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น

  • ให้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
  • ผ่าตัดผู้ป่วยที่เป็นครรภ์นอกมดลูก
  • ให้การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบฉุกเฉิน 
  • เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบัลลูน
  • สำหรับภาวะช็อกจากต่อมหมวกไตบกพร่อง เฉียบพลัน ฉีดไฮโดรคอร์ติโซน 100 มก.เข้าหลอดเลือดดำทุก 6 - 8  ชั่วโมง
  • สำหรับภาวะช็อกจากการแพ้  ฉีดอะดรีนาลิน โดยผสมยานี้ 0.1 มล.ในน้ำเกลือ10 มล.ฉีดเข้าหลอดเลือดดำใน 5 -10 ฉีดไดเฟนไฮดรามีน 25 - 50 มก.(เด็กให้ขนาด 1 มก./กก.) เข้าหลอดเลือดดำ ฉีดรานิทิดีน 50 มก.(เด็กให้ขนาด 0.5 มก./กก.) เข้าหลอดเลือดดำ และฉีดเมทิลเพร็ดนิโซโลน 125 มก.(เด็กให้ขนาด 1-2  มก./กก) เข้าหลอดเลือดดำ

            ผลการรักษา ขึ้นกับความรุนแรงของโรค และระยะ ของโรคที่เริ่มให้การรักษา ถ้าสามารถให้การรักษาตั้งแต่ ระยะแรกเริ่มในขณะที่มีอาการรุนแรงไม่มาก ก็มักจะได้ ผลดีหรือหายเป็นปกติ  ถ้าสามารถให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มในขณะที่มีอาการรุนแรงไม่มาก ก็มักจะได้ผลดีหรือหายเป็นปกติ แต่ถ้าปล่อยให้อวัยวะสำคัญขาด เลือดจนเกินภาวะล้มเหลว ก็มักจะเสียชีวิต โดยทั่วไปภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และภาวะโลหิตเป็นพิษ มักมีอัตราตายค่อนข้างสูง


[Total: 0 Average: 0]