การรักษา หัดเยอรมัน

  1. สำหรับหัดเยอรมันที่พบในเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไป(ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์) ให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้  พาราเซตามอล ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสียงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม ถ้าข้ออักเสบให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ถ้าคันทายาผดผื่นคัน โดยทั่วไปมักจะหายภายใน 3-5วัน หรือ ประมาณ1สัปดาห์
  2. ถ้าสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น สมอง อักเสบ ไขสันหลังอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภาวะตกเลือด เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาลด่วนในการยืนยันการวินิจฉัยโรคนี้ อาจกระทำโดยการทดสอบทางน้ำเหลือง เพื่อตรวจหาระดับสารภูมิต้านทานต่อเชื้อหัดเยอรมัน หรือการตรวจเพาะเชื้อจากจมูกและคอหอย
  3. ถ้าพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการไข้และมีผื่นขึ้นหรือสงสัยเป็นหัดเยอรมัน หรืออยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคหัดเยอรมัน ควรแนะนำไปโรงพยาบาล แพทย์มักจะเจาะเลือดตรวจ เพื่อทำการทดสอบทางน้ำเหลือง ซึ่งอาจต้องตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง

ถ้าพบว่าเป็นหัดเยอรมัน สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ในระยะ 3 เดือนแรก แพทย์จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ส่วนครรภ์ในระยะเดือนที่ 7-9 ทารกมักจะปลอดภัยส่วนครรภ์ในระยะเดือนที่ 4-6 ทารกอาจมีโอกาสพิการได้น้อยกว่า 3 เดือนแรก แพทย์จะตัดสินใจเป็นราย ๆ ว่าจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์หรือไม่

ในรายที่ไม่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ แพทย์อาจพิจารณาฉีดอิมมูนโกลบูลินแก่ผู้ป่วย วิธีนี้แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อของซากในครรภ์ แต่ก็ช่วยลดความรุนแรงของโรคที่เกิดกับทารกได้

[Total: 0 Average: 0]