HealthTag ได้รับรับรางวัลชนะเลิศในหมวด Cross Category – Start-Up ในงาน Asia Pacific ICT Alliance Awards (APICTA) 2022

health me now blog best website covid 19 time โรงพยาบาลที่ดีที่สุด

HealthTag เครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง ยกระดับระบบการรักษาพยาบาลในไทย โดยมีแนวคิดเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลจากแบบรวมศูนย์ (ศูนย์กลางอยู่ที่สถานพยาบาลแต่ละแห่ง) มาเป็นแบบกระจายศูนย์ (ศูนย์กลางอยู่ที่ตัวบุคคล) ด้วยการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเป็นเจ้าของข้อมูลสุขภาพของตนเองอย่างแท้จริง

HealthTAG คือ เครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ โดยมีกุญแจฝังอยู่ในชิปเข้ารหัสแบบพิเศษที่ใช้เป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูล เป็นบัตรประจำตัวสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายกับบัตรประชาชนด้านสุขภาพที่บันทึกข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Health Record) ที่อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยทางข้อมูล (Data Privacy) ซึ่งคนที่มีสิทธิเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้คือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของ กับ บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับอนุญาติให้เข้าถึง

โครงสร้างที่เกิดขึ้นทำให้เกิดทางด่วนข้อมูลเส้นใหม่ ที่มีความเป็นอธิปไตยและเป็นโครงสร้างแบบเปิด ที่นอกจากตัวผู้ใช้และสถานพยาบาลจะได้รับประโยชน์แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือแพลตฟอร์มต่างๆก็สามารถมาใช้งานได้ เกิดเป็น Ecosystem แบบใหม่ที่ตั้งอยู่บนความเป็นส่วนตัวและมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

ไทม์ไลน์ HealthTAG

HealthTAG เริ่มพัฒนาต้นปี 2563 ตรงกับช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนักพอดี ได้มีโอกาสไปเสนอโครงการสาธารณสุขจังหวัด ได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อย แต่สุดท้ายเมื่อโควิดเงียบลง (ในตอนนั้น) หน่วยงานภาครัฐก็เงียบตามไปด้วย ทำให้เช้าใจว่าการจะผลักดันระบบให้เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องง่าย

หลังจากนั้น HealthTAG ได้พัฒนาต่อมาจนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น พร้อมกับความเชื่อที่ว่าโลกของข้อมูลคือสิ่งสำคัญ การบันทึกข้อมูลสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น จนได้ไปนำเสนอโครงการที่โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลในเครือทั้ง โรงพยาบาลศิริราชปิยะมหาราชการุณย์ และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ซึ่งสนใจและซื้อไอเดีย

นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการ 5G และ กสทช. ที่จะทำโครงการ Smart Hospital เพื่อเป็นต้นแบบก่อนขยายผลไปเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนแพทย์ซึ่งมีโรงพยาบาลกว่า 20 แห่ง จึงได้มีโอกาสพูดคุยและต่อยอดไปยังโรงเรียนแพทย์ในหลายๆภูมิภาค

ตลอดปี 64 สถานการณ์โควิดมีทั้งช่วงที่หนักขึ้นและเบาลง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช่วงแรกเน้นในที่ข้อมูลโควิด แต่จากนั้นได้เรียนรู้ว่า หัวใจสำคัญหลักของ HealthTAG อยู่ที่การเก็บข้อมูลสุขภาพที่เชื่อมโยงกับสถานพยาบาลมากกว่า

จากนั้นในปี 65 จึงเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีโรงพยาบาลหลายแห่งใช้ผลิตภัณฑ์ HealthTAG เชื่อมโยงข้อมูล เช่น ข้อมูลยา การแพ้ยา ประวัติการรักษา และสิทธิการรักษา โดยไม่ต้องถามประวัติซ้ำหลายรอบ เพียงแค่คนไข้มีบัตร คุณหมอใช้ระบบโรงพยาบาลเดิม เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ตั้งแต่การรักษา การรับยา และการเบิกเคลมจ่าย ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน กลางปี 66 จะเร่ิมมีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้นในโรงเรียนแพทย์หลายแห่ง และจากนั้นในอีก 2-3 ปี เชื่อว่าการใช้งานจะขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น

สำหรับการทำงานของ HealthTAG เป็นแบบสตาร์ทอัพ ที่พัฒนาขึ้นมาโดย “หมอ” ที่เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และมีความต้องการผลักดันให้ MedTech Ecosystem ในประเทศไทยเติบโต ที่สำคัญมาอย่างถูกที่ถูกเวลา ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 เป็นความจำเป็นของข้อมูลการรักษาพยาบาลที่ต้องเชื่อมถึงกัน

ล่าสุดเตรียมระดมเงินทุนเพื่อขยายบริการให้มากขึ้น ตอกย้ำจุดยืนการเป็น MedTech ที่มาจากฝีมือ ความคิด และการทำงานจริงของแพทย์ไทย อยากให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ตรงกัน 4 ส่วน

คนไข้: ได้รับการบริการที่สมบูรณ์มากขึ้น ลดความผิดพลาด ลดการตกหล่นของข้อมูล ได้เห็นประวัติสุขภาพและเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบเรียลไทม์

บุคคลากรทางการแพทย์: ลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลดขั้นตอนเกี่ยวกับเอกสาร โฟกัสกับการรักษาได้มากขึ้นและแม่นยำขึ้น

ระบบสาธารณสุข: มีระบบการรักษาในประเทศแบบไร้รอยต่อและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับคนไข้ต่างชาติได้ง่ายขึ้น รายได้เข้าประเทศ สร้างความมั่นใจให้คนไข้ทั้งไทยและต่างชาติ

สตาร์ทอัพ: เกิด Open Data หรือข้อมูลที่มาจากการได้รับความยินยอม ในการนำไปพัฒนานวัตกรรม ทางการแพทย์ง่ายขึ้น


เอทีซีไอนำผลงานเทคโนโลยีดิจิทัลไทยเข้าร่วมแข่งขันในการประกวดระดับนานาชาติโดยประเทศไทยคว้ารางวัลขึ้นเป็นอันดับ 3 จาก ผู้เข้าแข่งขัน 16 กลุ่มประเทศ ในงาน Asia Pacific ICT Alliance Awards (APICTA) 2022

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) ดำเนินจัดโครงการ Thailand ICT Awards อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 ถึงปัจจุบัน เพื่อเฟ้นหาผลงานทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมไทยที่ดีเด่นในการเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ

นายสุภัค ลายเลิศ นายกสมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ประธานในพิธีมอบรางวัล TICTA2022 กล่าวว่า “ในการแข่งขัน Asia Pacific ICT Alliance Awards (APICTA) 2022 ประเทศไทยได้ส่งทีมที่มีศักยภาพเข้าร่วมจำนวน 14 ผลงาน ซึ่งเป็นทีมได้ผ่านการคัดเลือกจากโครงการ Thailand ICT Awards (TICTA) 2022 ทั้งสิ้น โดยผู้เข้าแข่งขันไทยได้รับรางวัลจาก APICTA ทั้งสิ้น 10 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลชนะเลิศ 6 รางวัล และ รองชนะเลิศ 4 รางวัล

ซึ่งทำให้ผลรางวัลรวมของประเทศไทยขึ้นเป็นอันดับ 3 จาก 16 กลุ่มประเทศ ซึ่งผลงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไทยเป็นเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ เอทีซีไอขอขอบคุณผู้เข้าแข่งขันทุกทีม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีความตั้งใจในการผลักดัน ตลอดจนพัฒนาผลงานที่โดดเด่นเพื่อเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ”

สำหรับผู้ได้รับรางวัลมีรายละเอียดดังนี้คือ

  • บริษัท ดิจิตอล ไดอะล็อก จำกัด ผลงาน CUBIKA Big Insights ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในหมวด Business Services – ICT Solutions และ รางวัลรองชนะเลิศในหมวด Technology – Big Data

ดิจิตอล ไดอะล็อก ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Data Analytics, Data Quality, BI, Government & Enterprise Solution บริษัทได้จับมือกับพันธมิตรระดับโลกในการบริหารจัดการข้อมูลให้กับองค์กรที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย

  • บริษัท อีซีไรช์ ดิจิทัล เทคโนโลยี จำกัด ผลงาน AI solution for Rice quality and paddy varieties Inspection ได้รับรางวัลชนะเลิศในหมวด Industrial – Agriculture and Sustainability , Environment รางวัลชนะเลิศ ในหมวด Technology: Artificial Intelligence และรางวัลรองชนะเลิศในหมวด Cross Category – Start-Up

อีซีไรช์ ตั้งขึ้นโดยกลุ่มของนักวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี ดำเนินการภายใต้ภาพลักษณ์การเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลทางด้านเกษตรกรรมโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมเกษตร และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย

  • บริษัท เค.จี. แอนด์ แพทริค จำกัด และ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ ชื่อผลงาน Wang: Data Market ได้รับรางวัลชนะเลิศในหมวด Business Services – Professional Services and Marketing Solution

Wang (ว่าง) คือ Crowdsourcing platform ตลาดข้อมูลออนไลน์ที่นำเจ้าของข้อมูล และคนว่างมาพบกัน เมื่อเจ้าของข้อมูลที่มีข้อมูลจำนวนมากและต้องการคนช่วยจัดการกับข้อมูล หรือให้ข้อมูล เช่น ช่วยระบุประเภทข้อมูล ช่วยคัดเลือกคำชนิดต่าง ๆ ช่วยตัดภาพ หรืออื่นใด สามารถนำงานมาฝากไว้กับว่าง เพื่อให้ผู้ที่มีเวลาว่างมาสร้างรายได้ด้วยการจัดการกับข้อมูลเหล่านั้น เจ้าของข้อมูลอาจเป็นบริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ (Machine learning) นักวิจัยในวงการการศึกษา นักวิจัยทางการตลาด หรือใครก็ได้ที่ต้องการคนช่วยจัดการหรือให้ข้อมูล ส่วนคนว่างจะเป็นใคร อยู่ที่ใดในโลกก็ได้ ที่พอมีเวลาช่วยตอบคำถาม และช่วยจัดการข้อมูลตามที่เจ้าของระบุ

  • บริษัท ชิปป๊อป จำกัด ชื่อผลงาน SHIPPOP ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในหมวด Consumer – Retail and Distribution & Marketplaces

SHIPPOP เป็นบริษัท Startup ที่ก่อตั้งด้วยทีมงานคนไทย สร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ข้ามาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ Ecommerce ลดเวลาตนทุน และมีเวลาในการไปขยายธุรกิจให้เติบโตตามการเติบโตอย่างมากของธุรกิจ โดยสามารถเข้าถึง โดยช่องทาง Online และร้านแฟรนไชน์ กว่า 1200 สาขาทั่วประเทศ

  • โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ผลงาน GreenWaste : make microgarden happen พัฒนาโดยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับรางวัลชนะเลิศในหมวด Junior Student

GreenWaste เปลี่ยนเศษอาหาร ให้เป็นวัสดุปลูกออแกนิค สำหรับคนที่ใส่ใจสุขภาพใน 20 ชั่วโมง

  • โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ผลงาน O-RA พัฒนาโดยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับรางวัลชนะเลิศในหมวด Senior Student

O-RA ออร่า เป็นแพลตฟอร์มแรกและแพลตฟอร์มเดียว ที่ช่วยผู้สูงอายุในการทำกายภาพบำบัดโรคข้อเสื่อมได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ยั่งยืนและมีความสุข โดยใช้ AI ที่ประยุกต์กับหลักทางคณิตศาสตร์ และเกมมิฟิเคชัน

[Total: 1 Average: 5]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading