COVID-19: Thai COVID Pass คืออะไร

4 เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ไอเทมยอดฮิตประจำปี covid-19 คือ รักษา วัคซีน โอไมครอน โควิด เดลต้า

Thai Covid Pass คือ มีเอกสารที่รับรองว่าฉีดวัคซีนแล้ว จะไปที่ไหนอะไรยังไงทั้งหลาย ก็จะได้เห็นภาพการใช้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีน

“ยกตัวอย่างเช่นการไปที่ร้านอาหาร สามารถที่จะเปิดบริการได้ โดยเฉพาะห้องแอร์ คนที่มีวัคซีนฉีดครบแล้วก็จะสามารถไปใช้บริการได้ อันนี้เป็นตัวอย่าง ซึ่งก็ทำกันอยู่ในหลายประเทศใช้ Vaccine Passport เราก็จะมีเรื่องนี้เกิดขึ้น”

Vaccine Passport คืออะไร

Vaccine Passport คือ หลักฐานที่รับรองว่าบุคคลได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 หรือเคยติดโรคนี้แล้ว เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมีภูมิคุ้มกันในร่างกายที่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคโควิด-19 ได้ และทำให้มีแนวโน้มจะติดหรือแพร่เชื้อโรคนี้ได้น้อยกว่าคนทั่วไป ช่วยให้พวกเขามีอิสระมากขึ้นในการเดินทางท่องเที่ยว ไปซื้อของ หรือไปทำงาน ในพื้นที่ที่ใช้มาตรการควบคุมโรค

Vaccine Passport อาจอยู่ในรูปของใบรับรองหรือในรูปแบบดิจิทัลที่อยู่ในแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์สมาร์ตโฟนก็ได้

ในอังกฤษนั้น รัฐบาลต้องการให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ข้อบังคับที่ถูกคนต้องปฏิบัติตาม และขณะนี้คณะรัฐมนตรีกำลังพิจารณาวิธีการที่ประชาชนจะใช้ในการแสดงหลักฐานยืนยันว่าตนเองมีภูมิต้านทานโรคโควิด-19

ผู้สื่อข่าวบีบีซีรายงานว่า Vaccine Passport อาจถูกบรรจุไว้ในแอปพลิเคชันสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ของอังกฤษ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้โทรศัพท์มือถือแสดงหลักฐานว่าตนเองมีภูมิต้านทานโรคได้

มีประเทศไหนใช้ Vaccine Passport แล้วบ้าง

อิสราเอล ออกแอปพลิเคชัน “กรีนพาส” (Green Pass) ที่ให้ผู้ได้รับวัคซีนครบ หรือติดโรคโควิด-19 และหายแล้ว สามารถเข้าใช้บริการโรงยิม โรงแรม โรงหนัง และศาสนสถานได้

เดนมาร์ก กำลังพัฒนาพาสปอร์ตวัคซีนในรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้พิสูจน์ว่าได้รับวัคซีนแล้วได้

เอสโตเนีย และองค์การอนามัยโลกกำลังพัฒนาใบรับรองการฉีดวัคซีนอิเล็กทรอนิกส์ (e-vaccination certificate) ที่เรียกว่า “บัตรเหลืองอัจฉริยะ” (smart yellow card)

ส่วนกรีซ เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปใช้ระบบการรับรองที่จะเปิดทางให้ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 แล้วสามารถเดินทางได้โดยเสรี ขณะที่สเปนกำลังรวบรวมข้อมูลคนที่ปฏิเสธการรับวัคซีน ซึ่งจะมีการแบ่งปันข้อมูลนี้ให้แก่สหภาพยุโรปต่อไป

ประเทศจีนเปิดตัวแอปพลิเคชัน Virus Passport ซึ่งอยู่ในแพลตฟอร์ม Social Media ชื่อดังอย่าง WeChat และแพลตฟอร์มอื่น ๆ บนสมาร์ตโฟน โดยจะมี QR health code ที่ช่วยแสดงข้อมูลสุขภาพของผู้เดินทางไปต่างประเทศ หรือใช้เพื่อเข้าพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ในประเทศจีน อีกทั้ง แอปพลิเคชันนี้ยังสามารถใช้ติดตามตำแหน่งของผู้ใช้งานได้อีกด้วย โดยผู้ที่สุขภาพดีและไม่ได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจะแสดงสัญลักษณ์เป็นสีเขียว

Vaccine Passport ประเทศไทย

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบการลดวันกักตัวสำหรับชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทย สำหรับชาวต่างชาติที่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีต่อทิศทางการท่องเที่ยวของไทย โดยหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม และ กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการจัดทำ Vaccine Passport พร้อมกับติดตามความคืบหน้าจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในการจัดทำเรื่องนี้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข[10] ได้ให้เหตุผลว่าการทำ Vaccine Passport นั้น จำเป็นต้องรอหลักเกณฑ์มาตรฐานโลกที่ออกโดยองค์การอนามัยโลก ทำให้ระหว่างที่รอ ประเทศไทยจะออก Vaccine Certificate สำหรับบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 เรียบร้อยตามที่กำหนดก่อน เพื่อเริ่มเสนอให้ทำได้ทันที หาก WHO ออกมาตรฐานโลกมาเมื่อไร ประเทศไทยก็จะสามารถปรับให้เข้ากับมาตรฐานโลกได้อย่างรวดเร็ว

ต่อมา ในวันที่ 20 เมษายน 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้ตีพิมพ์แบบหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หรือ Vaccine Certificate กรณีโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ แต่ต้องเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยาของราชอาณาจักรไทย หรือได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกเท่านั้น และจะต้องมีลายมือชื่อของอธิบดีกรมควบคุมโรคหรือผู้ที่อธิบดีกรมควบคุมโรคมอบหมายให้ออกเอกสารรับรอง พร้อมประทับตราหน่วยงานของผู้ที่ออกเอกสารรับรองนั้น โดยเอกสารรับรองนี้จะรับรองเป็นรายบุคคลเท่านั้น ซึ่งหนังสือรับรองนี้มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย ชื่อ และข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวกับการได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ Vaccine Certificate และ Vaccine Passport มีความแตกต่างกันเล็กน้อยในด้านการใช้งาน คือ Vaccine Passport นั้น คาดหมายว่าประเทศอื่น ๆ จะให้การยอมรับและปฏิบัติต่อผู้ถือ Vaccine Passport เหมือน ๆ กัน ขณะที่ Vaccine Certificate นั้น แต่ละประเทศอาจมีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันไปตามข้อตกลงของแต่ละหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศนั้น ซึ่งถ้าอ้างอิงตามนิยามนี้จะพบว่า Vaccine Passport ที่หลายประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในเวลานี้เป็น e-Vaccine Certificate หรือ ใบรับรองการฉีดวัคซีนอิเล็กทรอนิกส์ ในสมาร์ตโฟน ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่ามีการฉีดวัคซีนจริง เพื่อให้สอดรับกับโลกยุคปัจจุบันที่เป็นโลกยุคดิจิทัล ในขณะที่ประเทศไทยนั้น ในกรณีที่จะเดินทางไปต่างประเทศจะต้องนำเอกสารรับรองมาขอสมุดเล่มเหลืองที่รับรองการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 หรือ Vaccine Passport ได้ที่สถานพยาบาลที่ทำการฉีด โดยมีทั้งในรูปแบบเป็นเล่มกระดาษ และเป็นเล่มดิจิทัล

[Total: 2 Average: 4.5]

Leave a Reply