รวมลิสต์โรงพยาบาลตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว

ประโยชน์ apple cider vinegar แอปเปิ้ล น้ำ ผลไม้ อาหารโภชนาการ

รายชื่อโรงพยาบาลตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว ในกรุงเทพ 12 แห่ง และเอกสารประกอบ

เฉพาะแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาหลังวันที่ 25 มกราคม 2564

ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2564 การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว เพื่อ ต่อวีซ่า ต่อใบอนุญาตทำงาน ทุกประเภท นอกจากการตรวจโรคสำคัญ 6 โรคเดิมแล้ว ต้องมีผลการตรวจโควิด-19 ด้วย (กฏกระทรวงมหาดไทย 25 ธ.ค. 63)

 

รายชื่อโรงพยาบาล ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว

1. โรงพยาบาลเลิดสินถ.สีลม แขวงศรีเวียง เขตบางรัก กทม.โทรศัพท์ 02539801 ต่อ 9621 – 2
2.โรงพยาบาลราชวิถี36 ถ.พญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม.โทรศัพท์ 023548108 – 36
3.โรงพยาบาลกลางถ.หลวง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม.โทรศัพท์ 022208000
4.โรงพยาบาลตากสินถ.สมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กทม.โทรศัพท์ 024370123
5.โรงพยาบาลวชิระถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตถุสิต กทม.โทรศัพท์ 022443000
6.โรงพยาบาลนพรัตนถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม.โทรศัพท์ 025174270 – 9
7.โรงพยาบาลเจริญกรุงถ.เจริญกรุง แขวงบางคอแหล่ม เขตบางคอแหลม กทม.โทรศัพท์ 022897000
8.โรงพยาบาลสิรินธร สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครเลขที่20 ชอยอ่อนนุช 90 แขวงประเวศ ขตประเวศ กทม.(กล้โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 7 ลาดกระบัง)โทรศัพท์ 023286901 – 19
9.โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี (โรงพยาบาลหนองจอก)สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครเลขที่ 38/2 ถ.เลียบวารี แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กทม.โทรศัพท์ 025431307 029884100 – 110.โรงพยาบาลลาดกระบัง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครเลขที่ 2 ซอยลาดกระบัง 15 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม. (ใกล้ศูนย์เยาชนลาดกระบัง)โทรศัพท์ 023269995 , 0 23267711

11.โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครเลขที่ 18 ถพุทธมณฑลสาย 3 ชอย 10 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กทม.โทรศัพท์ 024212222 , 024440163
12.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครเลขที่ 6 ซอยหนองแขม – ศรีนวล 1 แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม.(สุดสายถเมล์ปรับอากาศ สาย 80)โทรศัพท์ 024293575

 

เอกสารประกอบการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว [รพ. ราชวิถี]


หน่วยแรงงานต่างด้าว โรงพยาบาลราชวิถี
เปิดบริการรับนัดตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวทุกวันราชการ (ยกเว้น วันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 08.00-12.00 น. และเวลา13.00-16.00 น. ณ ฝ่ายประกันสุขภาพอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ และให้บริการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 16.00-20.00 น. ณ ห้องตรวจแรงงานไทยไปต่างประเทศ ชั้น 1 ตึกอำนวยการเก่า 
1.เอกสารที่ต้องเตรียมในวันรับนัด1.1 สำเนาพาสปอร์ต (Passport) หรือสำเนาบัตรประจำตัวคน ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) 1.2 สำเนาบัตรอนุญาตทำงาน (Workpermit) 1 ฉบับ1.3 สำเนาใบโควตาหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน นายจ้าง 1 ฉบับ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้1.4 สำเนาบัตรประกันสังคมกรณีผู้มีสิทธิประกันสังคม2. เอกสารที่ต้องนำมาในวันตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว2.1 ใบนัดตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว พร้อมเอกสารในข้อ 1.1-1.42.2 เงินค่าตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว 500 บาทค่าประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว 3,200 บาท(ค่าประกันสุขภาพ 2 ปี) รวมเป็นเงิน 3,700 บาท
3. เอกสารที่ท่านจะได้รับจากโรงพยาบาลราชวิถีในวันตรวจสุขภาพ3.1 ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง 1 ฉบับ3.2 ใบนัดรับผลการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว4. เอกสารที่ต้องนำมาในวันรับผลการตรวจสุขภาพ
ตามข้อ 3.1–3.2 แรงงานไม่จำเป็นต้องมารับผลการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง ให้ผู้แทนมารับแทนได้ เอกสารที่ท่านจะได้รับคือ4.1 ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง 1 ฉบับ4.2 บัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว 1 ใบ

 

ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวใบรับรองแพทย์ต้องระบุตรวจผ่านให้ครบทั้ง 6 โรค

  1. โรคเรื้อน
  2. วัณโรค ระยะอันตราย
  3. โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
  4. โรคพิษสุราเรื้อรัง
  5. โรคติดยาเสพติด
  6. โรคเท้าช้าง
  7. การตั้งครรภ์ *เฉพาะผู้หญิง*

ขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว 2561 [รพ.นพรัตนราชธานี]


ขั้นตอนที่ 1 ตรวจเอกสาร และรับใบนัด

เอกสารตัวจริง (ลูกจ้าง)

  1. พาสปอร์ต (สำเนา 2 ชุด)
  2. บัตรสีชมพู(สำเนา 1 ชุด)
  3. ใบจับคู่นายจ้างลูก (สำเนา 1 ชุด)
  4. เบอร์โทรศัพท์

เอกสารนายจ้าง โควตา (สำเนา 1 ชุด) (ในเขตกทม.เท่านัน้ )

  1.  บัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน (สำเนา) หรือถ้าไม่มีโควตา(สำเนา 1 ชุด)
  2. ถ้าเป็นสถานประกอบการให้นำหนังสือรับรองสถานประกอบการ(สำเนา 2 ชุด)
  3. เบอร์โทรศัพท์

ขั้นตอนที่2 ทำประวัติ

ขั้นตอนที่3 ชำระเงิน

สิทธิ์การทำประกัน1. สิทธิ์ประกันสังคม (ต้องมีเอกสารสถานประกอบการขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้ว
ค่าบริการ- ค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท- ค่าประกันสขภาพ 500 บาท (ใช้สิทธิ์ถึง 30 มิถุนายน 2561)2. สิทธิ์บัตรประกันสุขภาพ ,- ประมง- เกษตรและปศุสัตว์- ผู้รับใช้ในบ้าน- ค้าขายแผงลอย
ค่าบริการ– ค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท- ค่าประกันสุขภาพ 3,200 บาท (ใช้สิทธิ์ถึง 31 มีนาคม 2563)- บัตรประกันสุขภาพ 20 บาท – รวม 3,720 บาท3. แรงงานต่างด้าวกิจการประมงทางทะเล และแปรรูปสัตว์น้ำค่าบริการ– ค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท – ค่าประกันสุขภาพ 3,000 บาท (ใช้สิทธิ์ถึง 31 มีนาคม 2562)- บัตรประกันสุขภาพ 20 บาท- รวม 3,520 บาท4. ผู้ติดตามอายุต่ำกว่า 7 ปี
ค่าบริการ
– ค่าประกันสุขภาพ 730 บาท (ใช้สิทธิ์ถึง 31 มีนาคม 63) – บัตรประกันสุขภาพ 20 บาท – รวม 750 บาท5. ผู้ติดตามอายุมากกว่า 7 ปี
ค่าบริการ 
– ค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท- ค่าประกันสุขภาพ 3,200 บาท (ใช้สิทธิ์ถึง 31 มีนาคม 2563)- บัตรประกันสุขภาพ 20 บาท- รวม 3,720 บาท

กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง กำหนด โรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2563 [ทำเนียบรัฐบาล]

กระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวง กำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร พ. ศ. 2563 :: มีผลใช้บังคับ 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 25 ธ.ค.63 เล่มที่ 137 ตอนที่ 105ก หน้า 12-13) โรคตามมาตรา 12 (4) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 25221 โรคเรื้อน 2 วัณโรคในระยะอันตราย 3 โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม 4 โรคยาเสพติดให้โทษ 5 โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 6 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 โรคตามมาตรา 44 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 25221 โรคเรื้อน2 วัณโรคในระยะอันตราย3 โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม 4 โรคยาเสพติดให้โทษ 5 โรคพิษสุราเรื้อรัง 6 โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 7 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19     ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีมาตรการในการคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้าประเทศ ตั้งแต่เริ่มมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยกฎกระทรวงฯ นี้ ได้กำหนดโรคโควิด-19 เป็นโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวที่จะเข้ามาในประเทศหรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย มีผลใช้บังคับ 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

[Total: 0 Average: 0]

Leave a Reply