โรคพิษสุราเรื้อรัง

โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) คือการดื่มสุราและการติดสุรา ปัจจุบันนี้เรียกว่าความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์ที่มากจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้

ผู้ที่มีความผิดปกติในการดื่มแอลกอฮอล์จะยังคงดื่มต่อไปแม้ว่าการดื่มจะก่อให้เกิดผลเสีย เช่นการสูญเสียงานหรือทำลายความสัมพันธ์กับคนที่รัก ถึงแม้เหตุการเหล่านี้จะเกิดขึ้นแต่ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังจะไม่สามารถหยุดดื่มแอลกอฮอล์ได้

สาเหตุ โรคพิษสุราเรื้อรัง

แน่นอนว่าสาเหตุของโรคพิษสุราเรื้อรัง ย่อมมาจากการดื่มสุรา หรือแอลกอฮอล์เป็นประจำ แต่สาเหตุของการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจมีได้หลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในจิตใจ

  • ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
  • สุขภาพจิตย่ำแย่ อยากปลอดปล่อย จึงหันหน้าเข้าแอลกอฮอล์ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า เครียดจากงาน ครอบครัว เรื่องส่วนตัว ฯลฯ
  • มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ต้องการเป็นที่ยอมรับจากสังคมรอบข้าง
  • อยู่ในสังคมที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

โรคพิษสุราเรื้อรังอาจส่งผลต่อตับของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก มีผู้ป่วยหลายรายที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังต้องกลายเป็นโรคตับแข็ง และนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดโรคร้ายอื่น ๆ ทางร่างกายได้อีก เช่น : 

อาการ โรคพิษสุราเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรังอาจมีอาการแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไป อาการบ่งชี้ของโรคนี้มี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะแรก

  • หันไปพึ่งแอลกอฮอล์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา
  • ต้องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกมึนเมา
  • จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้
  • ไม่ต้องการแบ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับผู้อื่น
  • รู้สึกอยากดื่มแอลกอฮอล์ตลอดเวลา
  • รู้สึกผิดหลังจากดื่มแอลกอฮอล์

ระยะกลาง

  • ไม่สามารถควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ได้ แม้รู้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ หรือส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว
  • ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองออกจากการดื่มแอลกอฮอล์
  • มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปและมีอารมณ์แปรปรวน

ระยะรุนแรง

การรักษา โรคพิษสุราเรื้อรัง

การรักษาความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์ มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน  แต่ละวิธีมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยการรักษาโรคพิษสุราเรื้อรังสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ :

  • การล้างพิษหรือการถอนเพื่อให้ผู้ป่วยได้เลิกหรือจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพและการปรับปรุงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์
  • การเข้ารับคำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาทางอารมณ์ที่อาจเป็นสาเหตุของการดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการอยากดื่มแอลกอฮอล์

มียาหลายชนิดที่อาจช่วยลดความผิดปกติของการใช้แอลกอฮอล์ได้คือ:

  • Naltrexone (ReVia) ช่วยให้อารมณ์เย็นลงเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ มักใช้หลังจากดีทอกซ์หลังจากล้างพิษแอลกอฮอล์ โดยยาประเภทนี้ออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นสารรับบางตัวในสมอง แพทย์มักให้ยานี้ร่วมกับการให้คำปรึกษาในการงดเหล้า
  • Acamprosate เป็นยาที่ปรับเคมีในสมองให้เป็นปกติ ใช้ร่วมกับการบำบัด
  • Disulfiram (Antabuse) เป็นยาที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว (เช่นคลื่นไส้ อาเจียนและปวดหัว) เมื่อดื่มแอลกอฮอล์

หลังจากการรักษาและอาการดีขึ้นแล้วผู้ป่วยยังคงต้องเข้ารับการบำบัดหรือการให้คำปรึกษาต่อไปเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกลับไปใช้แอลกอฮอล์อีก

[Total: 0 Average: 0]