ไวรัสเห็บ: ในจีนต่อคิวจาก Covid

ข่าวสุขภาพ อัพเดต สาธาณสุข

โรค SFTS เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ severe fever with thrombocytopenia syndrome virus (SFTSV) เป็นเชื้อไวรัสใหม่ ชนิด RNA อยู่ใน genus phlebovirus, family Bunyaviridae1

การติดเชื้อ SFTSV พบมากใน 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อุบัติการณ์การเกิดโรคสูงสุดในประเทศจีน คือ 0.12 – 0.73 ต่อแสนประชากร2 รองลงมาคือ เกาหลีใต้ (0.07 ต่อแสนประชากร)3 และญี่ปุ่น (0.05 ต่อแสนประชากร)4 ตามลำดับ ยังไม่มีรายงานโรคนี้ในประเทศไทย

ผู้ป่วยติดเชื้อ SFTSV พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 ที่มณฑลอานฮุน ประเทศจีน 5 หลังจากนั้นก็มีการระบาดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552 พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อดังกล่าวทั้งหมด 171 ราย ระบาดไปทั่วทั้ง 6 มณฑล ได้แก่ มณฑลเหลียวหนิง ซานตง เหอหนาน อานฮุน เจียงซู และหูเป่ย์6 ต่อมาก็มีการระบาดอย่างต่อเนื่องทุกปีในพื้นที่ทางตอนกลางและตะวันออกของประเทศ (รูปที่ 1) ในช่วงปี พ.ศ.2556 – 2559 พบผู้ป่วยถึง 7,419 ราย เสียชีวิต 355 ราย อัตราการตายเฉลี่ยร้อยละ 5.35

การติดต่อของโรคไวรัสเห็บ

เชื้อ SFTSV ติดต่อโดยมีเห็บ (tick) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีประวัติถูกเห็บกัดก่อนเกิดอาการ และ สามารถตรวจพบเชื้อ SFTSV จากเห็บ และจากสัตว์ที่อยู่บริเวณที่อยู่อาศัยของผู้ป่วย เชื้อชนิดนี้มีวงจรการติดต่อแบบ enzootic tick – vertebrate – tick cycle มีการวนเวียนของเชื้อระหว่างเห็บและสัตว์ที่เป็นรังโรค ชนิดของเห็บที่เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญคือ H. longicornis ส่วนสัตว์ที่เป็นรังโรค ได้แก่ แพะ แกะ หมู วัว ควาย สุนัข ไก่ นกบางชนิด หนู และสัตว์ป่าชนิดต่างๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานการก่อโรคในสัตว์

การติดต่อจากคนสู่คนยังไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่มีการรายงานการเกิดโรคในครอบครัวเดียวกัน และมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยก่อนเกิดอาการของโรค

[Total: 11 Average: 4.8]

Leave a Reply