Telemedicine กับโรงพยาบาลในประเทศไทย

Telemedicine คือ ประโยชน์ บริการ ข้อจำกัด เริ่ม ดีที่สุด โทรเวชกรรม

ปัจจุบันมีโรงพยาบาล 2 แห่งในประเทศไทยที่ให้การรักษาพยาบาลโดยใช้ Telemedicine คือ

  • โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ – อาศัยสัญญาณโทรศัพท์และระบบอินเทอร์เน็ตของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการส่งข้อมูลผู้ป่วย
  • โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน – ใช้ระบบการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม

ซึ่งทั้งสองแห่งใช้งานผ่านระบบ Video conference เหมือนกัน โดยทั้งสองแห่งเป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย และสถานีอนามัยที่ตนเองรับผิดชอบเป็นลูกข่าย (ปัจจุบันสถานีอนามัยเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล)

Telemedicine กับโรงพยาบาลเอกชน

สำหรับภาคเอกชน มีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งที่นำระบบ Telemedicine มาใช้

TELEMEDICINE กับโรงพยาบาลกรุงเทพ

ล่าสุดคือกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพที่นำนวัตกรรม ROBO DOCTOR หรือคุณหมอหุ่นยนต์จากประเทศสหรัฐอเมริกา มาเสริมศักยภาพการรักษาพยาบาล ซึ่งจะเริ่มใช้กับโรงพยาบาล 4 แห่งของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้แก่

  • ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ (ซอยศูนย์วิจัย)
  • โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
  • โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน
  • โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

โดยเริ่มนำร่องใช้สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาท โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เนื่องจากโรคกลุ่มนี้เมื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการรักษาที่รวดเร็วมากเท่าใด ยิ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้รวดเร็วยิ่งขึ้น(6) ซึ่งทั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลาง ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลเครือข่าย รวมถึงผู้ป่วยและญาติ สามารถซักถามโต้ตอบกันแบบเห็นหน้า ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษาแบบ Real Time Interactive ซึ่งนี่ก็คือประโยชน์ของ Telemedicine

TELEMEDICINE กับโรงพยาบาลสมิติเวช

Samitivej Virtual Hospital เปรียบเสมือน โรงพยาบาลบนโลกออนไลน์ ที่ให้บริการ Telemedicine ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time มุ่งให้เกิดความสะดวกสบายสำหรับผู้รับบริการเป็นสำคัญ ซึ่งบริการทั้งหมดจะให้บริการโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง พยาบาล และทีมสหสาขาวิชาชีพจากสมิติเวช ด้วยมาตรฐานการบริการระดับสากลภายใต้การเป็นสมาชิกของ American Telemedicine Association ตั้งแต่ปี 2562

บริการใหม่ดังกล่าวจะรองรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น โดยบริการนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพบแพทย์ได้ทุกเวลา เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เฟสแรกนี้ จะมีทีมแพทย์ 10 คน ในการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ตลอด 24 ชม. ส่วนระยะเวลาการให้คำปรึกษา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที ในอัตรา 500 บาท คาดว่าเบื้องต้นจะมีผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 30-50 ราย

TELEMEDICINE กับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนรายแรก ๆ ที่กระโดดเข้ามาในตลาดนี้ เริ่มจากการลงทุนใน iDoctor Pte. Ltd. ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่น ในสิงคโปร์ และได้เริ่มทำแอปพลิเคชั่น “Raksa-ป่วยทัก รักษา” โดยแอปพลิเคชั่นนี้เปิดให้บริการในไทยแล้ว ภายใต้การดำเนินการของบริษัท ดอกเตอร์ รักษา จำกัด บริการให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยคิดค่าบริการ 2 รูปแบบ คือ โทร.สนทนา หรือวิดีโอคอล 15 นาที ราคา 300-500 บาท/ครั้ง และแชต 200 บาท/ครั้ง

TELEMEDICINE กับโรงพยาบาลธนบุรี

มีแผนจะนำระบบเทเลเมดิซีนมาทดลองใช้กับโรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง ในย่านรังสิต และประชาอุทิศ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง หากประสบความสำเร็จก็จะขยายต่อในอนาคตด้วย ซึ่งระบบเทเลเมดิซีนจะช่วยประหยัดค่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น ผู้ป่วยไข้หวัด ที่รักษาผ่านระบบนี้จะเสียค่ารักษาเพียง 700 บาท ขณะที่กรณีไปรักษาที่โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 บาท

[Total: 12 Average: 4.8]

6 thoughts on “Telemedicine กับโรงพยาบาลในประเทศไทย

Leave a Reply