5 ปัจจัยเพิ่มความสูงลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรู้

ภาวะตัวสูงใหญ่ยักษ์ อาการ สาเหตุ ตายไว

สำหรับการเพิ่มความสูงในปัจจุบัน เราจะเห็นว่า เด็กสมัยนี้ ตัวเล็กกว่าสมัยก่อนเยอะมาก

หากย้อนไปเมื่อซัก 10 ปีก่อน มาตรฐานผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ จะมีส่วนสูงเฉลี่ย 155 ซม. ดูกระทัดรัด น่ารัก
แต่มายุคนี้ ส่วนสูงของเด็กรุ่นใหม่ต่างกับยุคนั้นลิบลับ ใครไม่สูงนี่ถือว่าเชย

วันนี้ Tallsters จึงขอรวบรวม 5 ปัจจัย ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ (เพราะบางท่านก็ยังไม่รู้ ว่าบางเรื่อง ถ้าทำแบบนี้ตั้งแต่แรก ลูกจะสูงขึ้นแน่นอน)

1. พันธุกรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญประการแรกสุด

  • ถ้าพ่อแม่ตัวสูง…ลูกก็จะสูง
  • พ่อแม่ไม่สูงเลยทั้งคู่…ลูกก็จะไม่ค่อยสูง
  • ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูง…ลูกก็จะมีความสูงในระดับกลาง ๆ

👉 โดยผลวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า
พันธุกรรมทางแม่ มีผลต่อการกำหนดส่วนสูงของลูกมากกว่าพ่อ
❗️แต่..แต่..แต่

>>ความลับอยู่ตรงนี้ค่ะ<<

บางกรณีที่พ่อแม่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในวัยเด็ก ทำให้ตัวเล็ก ซึ่งไม่เกี่ยวกับพันธุกรรม และถ้าลูกได้รับสารอาหารที่เพียงพอกว่า อาจจะตัวสูงกว่าพ่อแม่ได้ “Genetics ของคุณพ่อคุณแม่ ไม่ได้หมายความว่าเป็นตัวกำหนด Genetics ของลูกเสมอไป “

2.การเลี้ยงดู

ได้แก่ อาหารและการออกกำลังกาย
อาหารที่ช่วยให้กระดูกลูกแข็งแรงและมีการเติบโตได้ดีนั้น ก็คืออาหารที่มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่

>>>ความลับคือตรงนี้ค่ะ<<<

ซึ่งไม่ได้หมายถึงให้มาเริ่มกันตอนนี้นะคะ แต่ต้องเริ่มกันตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างการตั้งครรภ์ ว่าได้รับสารอาหารเพียงพอแค่ไหน ส่วนการออกกำลังกายสำคัญมาก ถ้าลูกได้ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง กระโดด โดยเฉพาะกระโดด จะช่วยกระตุ้นให้กระดูกมีการเติบโตดี และมีการหลั่งฮอร์โมนช่วยเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น

3.ไม่ขาดฮอร์โมน

การที่กระดูกคนเราจะเจริญเติบโตเต็มที่หรือไม่นั้น มีกลไกควบคุมอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งก็คือ growth hormone ซึ่งควบคุมการเติบโต ที่ผลิตมาจากต่อมใต้สมองฮอร์โมนเหล่านี้จะควบคุมสมดุลของการสร้างกระดูก และทำให้เด็กตัวสูงตามกรรมพันธุ์กำหนดไว้ โดยมีอาหารที่รับประทานเข้าไปเป็นตัวเสริมด้วย

>>ความลับไขข้อข้องใจอยู่ตรงนี้ค่ะ<<

กำลังคิดอยู่ใช่ไหมคะ แล้วถ้าฮอร์โมนไม่พอ ฉีดเพิ่มได้ไหม?
การฉีดฮอร์โมนช่วยสูง ต้องระวัง❗️เพราะมีพ่อแม่บางรายเข้าใจผิด ทั้งที่ส่วนสูงลูกก็ปกติตามเกณฑ์ดี
แต่อยากเพิ่มส่วนสูงอีก จะได้เหมือนนางแบบ หยุดก่อนค่ะ 🤚
เพราะถ้าเด็กไม่ได้ขาดฮอร์โมน แต่เราฉีดเข้าไป จะมีผลเสียมากกว่า เช่น ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง หากฉีดไปนานๆ เด็กอาจมีสิทธิเป็นเบาหวานได้

4.ภาวะเจ็บป่วย

หากเด็กไม่สบายบ่อย มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น เป็นหอบ หืด ต้องรักษากันยาวนานและมีการใช้ยาบางอย่าง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตแน่นอน

>>ความลับอยู่ตรงนี้<<<

ออกกำลังกายค่ะ ไม่ใช่แค่ช่วยให้โรคที่เป็นอยู่ดีขึ้น แต่การเจริญเติบโต จะค่อยๆดีขึ้นค่

5.ความเครียด

อาจเครียดจากสภาพแวดล้อมในครอบครัว โรงเรียน
โดยเฉพาะการเรียนในปัจจุบันมุ่งเน้นผลสำเร็จ และการแข่งขันสูง ส่งผลให้เด็กเครียดมากขึ้น
“ความเครียด” นี่แหละค่ะ มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ

[Total: 7 Average: 4.9]

Leave a Reply