การตรวจจอประสาทด้วยเครื่องส่องดูตา (ophthalmoscopy) เป็นการตรวจโดยใช้กล้องส่องขยายดูหลอดเลือดและเนื้อเยื่อเส้นประสาทบริเวณฐาน (fundus) ของลูกตา ประกอบด้วย ออพติค ดิสค์ (optic disc) หรือจุดบอด คือบริเวณที่ปรากฏบนเรตินาหรือจอประสาทตา ซึ่งเมื่อแสงไฟกระทบตา ณ บริเวณนี้ จะทำให้ไม่สามารถเห็นภาพได้เนื่องจากเป็นทางออกของเส้นเลือดและเส้นประสาท จึงไม่มีเซลล์รับแสงปรากฏอยู่ เส้นเลือดของจอประสาทตา (retinal vessel) จุดสีเหลือง (yellow spot) ซึ่งเป็นจอตาที่อยู่บริเวณหลังสุดจองจอตา เป็นส่วนที่มีจำนวนเซลล์ cone cell (macula) และเรตินา (retina) การตรวจนี้หากพบสิ่งผิดปกติอาจทำการถ่ายภาพจอตาโดยวิธีฉีดสี (fluorescein angiography) ด้วย
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมินความผิดปกติของลูกตา
ข้อควรระวัง
อย่าหยอดยาขยายรูม่านตาในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา หรือมีต้อหินชนิดมุมปิด (angle – closure glaucoma)
ผลการตรวจที่เป็นปกติ
ด้วยลำแสงของไฟจากล้องออพธัลโมสโคปส่งตรงไปที่ม่านตาของผู้ป่วยจะเห็นการหดตัวของรูเปิดเล็ก ๆ ของม่านตา เห็นออพตอคดิสค์เป็นสีชมพู มีขอบมืดกว่า มีรูปร่างเหมือนถ้วย ตรงกลางของออพติคดิสค์ซีด ขนาดไม่แน่นอน โดยที่ขนาดจะใหญ่ กว่าในผู้ป่วยสายตาสั้น (myopia) และขนาดเล็กกว่าในผู้ป่วยตาเหล่ลง (hypertopia)
เห็นเรตินามีลักษณะกึ่งโปร่งใสอยู่รอบ ๆ ออพติคดิสค์ มีแขนงออกจากดิสค์คือเส้นเลือดที่มาเลี้ยงเรตินา (retinal vessels) รวมทั้งหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงฝอยที่เล็กกว่า หลอดเลือดแดงจะมีสีแดงปานกลาง ส่วนหลอดเลือดดำจะเห็นเป็นสีแดงคล้ำหรือน้ำเงิน
ส่วนของแมคูลาเป็นส่วนที่ดำมืดมากที่สุดของเรตินา บริเวณตรงกลางเป็นจุดดำมืดเล็ก ๆ เรียกว่า โฟเวีย (fovea) เมื่อมีการหดตัวเล็กน้อยแสงสามารถส่องเข้าไปเห็นโฟเวีย
ไม่พบหรือมีปฏิกิริยาต่อแสงเล็กน้อย เนื่องจากมีรอยโรคที่กระจกตาและน้ำหรือวุ้นในลูกตาขุ่น เช่น มีเลือดออกในลูกตา มีต้อกระจก (cataracts) หรือมีความผิดปกติของเรตินา น้ำวุ้นลูกตาขุ่น อาจมีสาเหตุจากมีการอักเสบของจานแสง (optic disk) จอตา (retina) หรือม่านตา (uvea) ถ้ามีแผลที่จอตาควรถ่ายภาพไว้ เพื่อการศึกษาต่อไป
เส้นประสาทตาอักเสบที่มีสาเหตุจากออพติคดิสค์ จะเห็นเส้นเลือดมากขึ้นอาจเห็นจุดเลือดออกเล็ก ๆ เส้นประสาทตาฝ่อจะเห็นออพติคดิสค์มีสีขาว มีขั้วประสาทตาบวม (papilledema) อาจเนื่องจากมีความดันในลูกตามากซึ่งมีสาเหตุจากมีความผิด ปกติของดิสค์ (disk) เห็นขบของดิสค์ไม่ชัด พบเส้นเลือดโป่งพองและมีเลือดออก
ในต้อหิน (glaucoma) จะเห็นรูปถ้วยใหญ่และมีสีเทาขอบสีขาว ถ้าเรตินา มีสีขาวคล้ายนมเป็นลักษณะเฉพาะของการมีการอุดตันของเลือดที่มาเลี้ยงเรตินาในระยะเฉียบพลัน โฟเวียจะเห็นแมคูลาขาดเลือดไปเลี้ยง เห็นเป็นจุดแดงสว่าง ตรงกลางของหลอดเลือดดำที่เรตินาส่วนที่อุดตันเห็นเลือดออกเป็นวงกว้าง ๆ มีแผ่นสีขาว และดิสค์ยกสูงขึ้น
โรคจอประสาทตาลอก (retinal detachments) พบบริเวณเกรย์ (gray) ยกสูงขึ้น เยื่อโครอยด์มีเส้นเลือดสีแดงเปิดเข้าไปยังเรตินาที่ฉีกขาด มองเห็นก้อนเนื้องอกของโครอยด์มีรอยผลดำ
หลอดเลือดที่เรตินาส่วนใหญ่ใช้ประเมินเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคที่เกิดในอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง เกิดจากหลอดเลือดหดเกร็ง หลอดเลือดแข็ง และหลอดเลือดที่เรตินาอุดตันซึ่งนำไปสู่การบสมของเรตินาและมีเลือดออก และมีประสาทตาบวม (papilledema)โรคเบาหวานอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากพังผืดที่เรตินา มีแผ่นขาว และมีหลอดเลือดเล็กๆ โป่งหลังจากประเมินด้วยการตรวจส่องภายในลูกตา (ophthalmoscopy) แล้วจะส่งต่อให้แพทย์ทางอายุรศาสตร์เพื่อพิจารณาให้ยาต่อไป