การรักษา อีสุกอีใส

1.แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เช่น พักผ่อน  ดื่มน้ำมาก ๆ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด  ถ้าตุ่มคันให้ใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบหรืออาบน้ำเย็นบ่อยๆ (ถ้าไม่ทำให้หนาวสั่น) และอยู่ในที่ ๆ อากาศเย็นสบาย  ถ้าเจ็บปากหรือปากเปื่อยลิ้นเปื่อยใช้น้ำเกลือกเย็น  ๆ  กลั้วคอ กินอาหารเหลว หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด เปรี้ยว เคี้ยวยาก ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และหลีกเลี่ยงการการแกะหรือเกาตุ่มที่คัน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียกลายเป็นแผลเป็นได้

2.ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ถ้าทีไข้สูงให้พาราเซตามอลผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ชินโดรม ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้หรือไดอะซีเพม  และทายาแก้ผดผื่นคัน 

3.ถ้าตุ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่น เป็นแผลพุพอง)ให้ทาด้วยขี้ผึ้งเตตราไชคลีน หรือเจนเชียนไวโอเลต ถ้าเป็นมากให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไดคล็อกซาซิลลิน  อีริโทรไมซิน  หรือร็อกซิโทรไมซิน

4.ถ้ามีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น หอบ ชัก ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว เลือดออก เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาลด่วน  ส่วนผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์  หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่นเอดส์ มะเร็ง) ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

5.การให้ยาต้านไวรัส  สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และมีสุขภาพแข็งแรง ไม่จำเป็นต้องให้ยากลุ่มนี้  แพทย์จะพิจารณาให้เฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง  เช่น  ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคเรื้อรังทางปอดหรือโรคผิวหนัง ได้แก่ ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้  หรือผู้ที่ได้รับยาแอสไพรินหรือสตีรอยด์อยู่ประจำ โดยผู้ใหญ่ให้กินยาอะไซโคลเวียร์ ขนาด 8000 มก. วันละ 5 ครั้ง (เด็กอายุต่ำกว่า 12  ปี ให้ขนาด 20 มก./กก./ครั้ง สูงสุด 800 มก. ทุก 6 ชั่วโมง) นาน 5 วัน  ควรรีบให้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผื่นขึ้น จะช่วยลดความรุนแรงและระยะของโรคลง

                ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำร่วมด้วย  แพทย์จะใช้อะไซโคลเวียร์ฉีดเข้าหลอดเลือด  เด็กให้ขนาด 1,500 มก./ตร.ม./วัน  ผู้ใหญ่ให้ขนาด 30  มก./กก./วัน แบ่งให้ 3 ครั้ง  นาน 7-10  วัน

6.ในการวินิจฉัยโรคนี้  ส่วนใหญ่ดูจากลักษณะอาการเป็นสำคัญ ในกรณีจำเป็นต้องวินิจฉัยให้แน่ชัด  แพทย์จะทำการทดสอบน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อไวรัสอีสุกอีใส  หรือตรวจหาเชื้อจากตุ่มน้ำ

[Total: 0 Average: 0]