ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia)

ภาวะกล้ามเนื้อบิด (Dystonia) คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อโดยไม่ตั้งใจ ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวช้า และซ้ำ ๆ โดยสามารถทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้

  • ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของคุณเกิดการบิด
  • เคลื่อนไหวด้วยท่าทางผิดปกติ

โดยอวัยวะที่มักจะเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง ได้แก่ ศีรษะ คอ ลำตัว และแขนขา ภาวะนี้ไม่รุนแรง แต่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

ประเภทของภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก

  • ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งที่เกิดบางส่วนของร่างกาย
  • ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งที่เกิดเกือบจะทั้งหมดของร่างกาย
  • ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งที่เกิดสองส่วนของร่างกายในบริเวณใกล้เคียงกัน

สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ทางแพทย์คาดว่าอาจจะมาจากพันธุกรรม หรือความผิดปกติบางสิ่งของสมอง

ภาวะที่เกี่ยวข้อง

ภาวะทางสมอง และเส้นประสาทที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งได้แก่:

  • โรคไข้สมองอักเสบ
  • สมองพิการ
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคฮันติงตัน
  • โรควิลสัน
  • วัณโรค
  • สมองได้รับบาดเจ็บ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • เนื้องอกในสมอง
  • การได้รับบาดเจ็บทางสมองระหว่างการคลอด
  • ได้รับสารพิษคาร์บอนมอนอกไซด์
  • ได้รับสารพิษโลหะหนัก

สาเหตุอื่นๆ

  • สาเหตุอื่นๆ ที่เชื่อว่าสามารถทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งได้คือ :
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาบางชนิด
  • เนื้อเยื่อหรืออวัยวะสำคัญขาดออกซิเจน
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองผิดพลาด

อาการของภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งจะแสดงอาการต่างๆ  ดังนี้

  • เริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจจะอาการเกร็งแขนขา หรือลำคอ ในบางครั้งอาจจะมีอาการเกร็งทั้งตัวร่วมด้วย
  • เกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น เขียนหนังสือ
  • หากมีความเครียดหรือวิตกกังวล อาการจะยิ่งแย่ลง
  • อาการจะชัดเจนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

ยังไม่มีการรักษาภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็งโดยเฉพาะ แต่ยา และการบำบัดอย่างสามารถจัดการกับอาการได้

การฉีดโบท็อกซ์ (Botox)

การฉีดโบท็อกซ์บริเวณกล้ามเนื้อที่มีปัญหา สามารถช่วยแก้ไขได้ โดยต้องฉีดทุกๆ 2-3 เดือน และมีผลข้างเคียงคือ อาการปากแห้ง เสียงที่เปลี่ยน ฯลฯ

ยาชนิดรับประทาน

ยากลุ่ม โดพามีน สามารถช่วยในเรื่องของการสื่อสารของเซลล์สมอง และทำให้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

กายภาพบำบัด

การนวด หรือการออกกำลังกายเบาๆ สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้

การบำบัดทางเลือก

การบำบัดทางเลือกที่สามารถช่วยผ่อนคลายอาการกล้ามเนื้อบิดเกร็งมีดังนี้

  • การฝังเข็ม
  • โยคะที่ควบคุมลมหายใจ และทำสมาธิ
  • บำบัดด้วยกระแสไฟฟ้ากระตุ้น
[Total: 0 Average: 0]