โรคหนังยืดผิดปกติ

โรคหนังยืดผิดปกติ (Ehlers Danlos Symdrome) คือโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกาย ซึ่งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทำหน้าที่ช่วยคงความยืดหยุ่นและโครงสร้างของผิวและหลอดเลือดรวมถึงกระดูกและอวัยวะต่างๆของร่างกาย นอกจากนี้มีหน้าที่สร้างเซลล์เส้นใยและโปรตีนที่เรียกว่าคอลลาเจน โรคหนังยืดผิดปกติเป็นกลุ่มโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการผลิตคอลลาเจนบกพร่อง

โรคหนังยืดผิดปกติแบ่งย่อยออกมาได้ 13 ชนิด ดังต่อไปนี้:

  • classic
  • classic-like
  • cardiac-valvular
  • vascular
  • hypermobile
  • arthrochalasia
  • dermatosparaxis
  • kyphoscoliotic
  • brittle cornea
  • spondylodysplastic
  • musculocontractural
  • myopathic
  • periodontal

โรคหนังยืดผิดปกติแต่ละชนิดส่งผลกระทบกับส่วนต่างๆของร่างกายที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม โดยปกติโรคหนังยืดทุกแบบจะมีอาการที่เหมือนกันอยู่หนึ่งอย่างนั้นคืออาการ hypermobility หมายถึงภาวะข้อและเอ็นหลวมหรือเคลื่อนไหวได้มากกว่าปกติ

ตามข้อมูลจากวรสารทางการแพทย์เกี่ยวกับกลุ่มโรคทางพันธุกรรมพบว่าโรคหนังยืดผิดปกติเกิดขึ้นได้ 1 ใน 5000 คนทั่วโลก โดยโรคผิวหนังยืดชนิด Hypermobility และชนิด classic เป็นประเภทที่พบได้บ่อยมากที่สุด ส่วนโรคผิวหนังยืดชนิดอื่นพบได้ยาก เช่น ชนิด dermatosparaxis เป็นประเภทที่พบเจอในเด็กประมาณ 12 คนจากทั่วโลก

สาเหตุของโรคหนังยืดผิดปกติ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหนังยืดผิดปกติเกิดจากโรคทางพันธุกรรม น้อยรายที่จะพบว่าไม่ได้มาทางพันธุกรรม นั้นหมายความว่าโรคเกิดขึ้นผ่านการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ยีนทั้งหมดตามรายชื่อด้านล่างเป็นยีนที่ทำหน้าที่สร้างคอลลาเจน ยกเว้น ADAMTS2 โดยยีนทั้งหมดนี้จะสร้างโปรตีนที่ส่งผลต่อการทำงานของคอลลาเจน ดังนั้นยีนเหล่านี้จึงเป็นสาเหตุของโรคหนังยืดผิดปกติได้ ถ้าหากพบว่าเกิดความผิดปกติกับยีนเหล่านี้ ซึ่งได้แก่

  • ADAMTS2
  • COL1A1
  • COL1A2
  • COL3A1
  • COL5A1
  • COL6A2
  • PLOD1
  • TNXB

อาการของโรคหนังยืดผิดปกติมีอะไรบ้าง

บางครั้งการที่พ่อแม่อาจมียีนที่บกพร่องเป็นสาเหตุของโรคหนังยืดผิดปกติอยู่ในตัวเองโดยไม่รู้ตัว นั้นหมายความว่าพ่อหรือแม่อาจไม่เคยมีอาการใด ๆ จากโรคดังกล่าวออกมาให้เห็น จึงไม่เคยทราบมาก่อนว่าตนเป็นพาหะของยีนที่บกพร่องนี้ แต่บางครั้งยีนก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคผิดหนังยืดได้เอง

อาการของโรคชนิด classic EDS

  • ข้อต่อหลวม
  • ผิวหนังยืด
  • ผิวหนังบาง
  • ผิวเกิดรอยช้ำได้ง่าย
  • เกิดริ้วรอยพับที่ดวงตา
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • กล้ามเนื้อล้า

การรักษาโรคผิวหนังยืดผิดปกติ

ทางเลือกในการรักษาโรคผิวหนังยืดผิดปกติมีหลายประเภท เช่น:

  • การรักษาความผิดปกติของร่างกาย (ด้วยการฟื้นฟูความไม่มั่นคงของข้อต่อหรือเส้นเอ็นที่หลวมและกล้ามเนื้อ)
  • การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมข้อต่อที่เสียหาย
  • ใช้ยาเพื่อลดอาการเจ็บปวดให้เกิดน้อยที่สุด

ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาประเภทอื่นเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับระดับของอาการเจ็บปวดและอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรคหนังยืด

แพทย์จะใช้การตรวจหลายรูปแบบในการวินิจฉัยโรค EDS (ยกเว้นสำหรับชนิด hEDS)  เพื่อวินิจฉัยแยกโรคออกจากโรคที่มีความคล้ายกัน นอกจากนี้ยังสามารถทำการตรวจความผิดปกติของดีเอ็นเอในยีนและการตัดชิ้นเนื้อบริเวณผิวหนังรวมถึงการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งการตรวจดังกล่าวทำให้แพทย์ทราบได้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย

การนำตัวอย่างเลือดจากแขนไปตรวจเพื่อหาการกลายพันธ์ของยีน การตัดชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อตรวจหาสัญญานของความผิดปกติในการผลิตคอลลาเจน ทำโดยเอาตัวอย่างผิวหนังเล็กๆไปตรวจเช็ดด้วยเครื่องไมโครสโคป

ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เพื่อป้องกันการเกิดอาการบาดเจ็บจากภาวะข้อต่อหลวม ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ
  • หลีกเลี่ยงการยกน้ำหนัก
  • ใช้ครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิว
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่รุนแรงที่อาจส่งผลให้ผิวแห้งหรือเป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
  • ใช้เครื่องช่วยในการทำกิจกรรมเพื่อลดแรงกดกับข้อต่อให้มากที่สุด

หากผู้ป่วยเป็นเด็กที่มีภาวะโรค EDS ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อเป็นการป้องกันอาการบาดเจ็บและปกป้องข้อต่อของผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยเด็กผู้ปกครองควรใส่แผ่นรองการบาดเจ็บให้เด็กก่อนเด็กขี่จักรยานหรือตอนกำลังหัดเดิน

[Total: 0 Average: 0]