dกลับมาอีกครั้งกับ Test & Go เปิดลงทะเบียนอีกครั้ง 1 ก.พ. 65 ไม่จำกัดประเทศ

หลังจากการมาของโอมิครอนเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน และเริ่มพบผู้ติดเชื้อจนนำมาสู่การระบาดระลอกใหม่ในเดือนธันวาคม เป็นเหตุให้ ศบค. มีคำสั่งยุติการลงทะเบียนรับผู้เดินทางจากต่างประเทศรายใหม่ ตั้งแต่ 22 ธันวาคม 2564 เป็นต้นมา  กอปรกับการผ่อนคลายที่มีมาก่อนหน้าเริ่มส่งผลต่อการระบาดโควิดโอมิครอนและเดลต้าเดิม ในวงกว้างขวางมากขึ้น และเป็นที่วิตกกังวลของหลายฝ่าย ว่าช่วงเวลาเทศกาลปลายปีต่อต้นปี จะทำให้สถานการณ์ระบาดรุนแรงขึ้นหรือไม่ หรือมากเพียงใด   ผ่านเดือนมกราคมไปแล้วครึ่งเดือน ตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นมาแตะระดับ 8 พันรายต่อวัน และเริ่มทรงตัว ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยยะ รวมทั้งจำนวนผู้หายป่วยก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่มากขึ้นเช่นกัน ทำให้เชื่อว่าเป็นแนวโน้นที่ค่อนข้างไปในเชิงบวก ข้อมูลผู้ติดเชื้อที่พบในช่วงเดือนที่ผ่านมาไม่พบความรุนแรงหรือมีแต่น้อยมาก จำนวนไม่น้อยไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย มาตรการ Home Isolation ทำงานได้อย่างได้ผลทั้งการดูแลผู้ป่วยและจำกัดการแพร่กระจายเชื้อไปพร้อมกัน ที่สำคัญจำนวนผู้ได้รับวัคซีนในไทยทั้ง 3 แบบครบโดส และเข็มกระตุ้นรวมกัน เกิน 110 ล้านโดส ทั่วประเทศ ภาพรวมทั้งประเทศค่อนข้างเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเทียบกับคาดการณ์ การเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ จะกลับเข้าสู่เส้นทางเดิมอีกครั้ง 20 มกราคม 2565 ศบค.เปิดเผยผลการประชุมที่เป็นมาตรการสำคัญต่อการเปิดประเทศ นั่นคือ การอนุมัติให้เริ่มกับมาเปิดรับลงทะเบียนผู้เดินทางแบบ Test and Go ได้แล้ว และรอบนี้เปิดรับจากทุกประเทศ ไม่จำกัดเฉพาะ 64 ประเทศแบบรอบแรกLanjutkanLanjutkan membaca “dกลับมาอีกครั้งกับ Test & Go เปิดลงทะเบียนอีกครั้ง 1 ก.พ. 65 ไม่จำกัดประเทศ”

5 วิธีป้องกันตัวในช่วงตรุษจีน

กรมอนามัย แนะนำการป้องกัน COVID ช่วงเทศกาลตรุษจีน วางแผนก่อนซื้อ หรือเลือกซื้อของไหว้ จากตลาดที่ผ่านการประเมิน Thai Stop COVID Plus หรือจากร้านค้าที่ให้บริการระบบออนไลน์เมื่อไปตลาดใช้เวลาให้สั้นที่สุด รักษาระยะห่าง เลี่ยงจุดบริการที่มีคนแออัดเมื่อกลับถึงบ้านเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำทันทีจัดสถานที่ไหว้ ให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สวมหน้ากากอนามัยล้างมือทุกครั้งก่อน – หลัง ทำพิธี แยกภาชนะปักธูป เลี่ยงการปักลงในอาหาร ลดการเผากระดาษไหว้อุ่นอาหารไหว้ หรือล้างทำความสะอาดอีกครั้ง ก่อนนำมารับประทานการเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ  ต้องสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์  รักษาระยะห่างขณะใช้บริการหรือควรเลี่ยงหากสถานที่มีผู้คนแออัด กลับถึงบ้านเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำทันที

COVID-19: สธ.เผยเบื้องต้น 3 เดือนรู้ผลตรวจภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน

คืบหน้าตรวจภูมิคุ้มกันกลุ่มฉีดวัคซีนโควิด19 ทั้งประชากร บุคลากรการแพทย์ ผู้ป่วยภูมิฯน้อย คาด 3 เดือนรู้ภูมิคุ้มกันขึ้นมากน้อยแค่ไหน เมื่อวันที่ 17 มี.ค. นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจภูมิคุ้มกันผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด ว่า สำหรับการตรวจภูมิคุ้มกันในผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดไปแล้วนั้น ขณะนี้ นพ.ยง ภู่วรวรรณ ติดตามภูมิฯ ด้วยการเจาะเลือดของประชากรทั่วไปทั้งวัคซีนซิโนแวค และแอสตราเซเนกา ส่วนศิริราชจะดูในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์  และรพ.รามาธิบดีและสถาบันมะเร็งแห่งชาติจะดูในกลุ่มผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยโรคมะเร็ง  นอกจากนี้ ยังมีการติดตามเรื่องเชื้อกลายพันธุ์โดยนพ.ยงเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามเชื้อกลายพันธุ์ ทั้งหมด  “สำหรับการตรวจภูมิคุ้มกันคนฉีดวัคซีนโควิดนั้น ทั้งประชากรทั่วไป  บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยมะเร็ง ฯลฯ คาดว่าจะทราบผลภูมิคุ้มกันของผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคที่ฉีดครบ 2 เข็มภายใน 3 เดือน ส่วนวัคซีนแอสตราเซเนกาน่าจะทราบว่าจะภูมิฯขึ้นหรือไม่ในเข็มแรก” นพ.สมศักดิ์ กล่าว นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในเรื่องของวัคซีนพาสปอร์ตนั้น ขณะนี้มีโปรเจ็กต์ใหญ่เป็นความร่วมมือระดับอาเซียน โดย HITAP จะเป็นเจ้าภาพหลักในการทำนโยบายผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด19 หรือที่เรียกว่า CORESIA StudyLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: สธ.เผยเบื้องต้น 3 เดือนรู้ผลตรวจภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน”

COVID-19: OMICRON ทำไมถึงต้องจับตามอง

ไวรัสโควิดกลายพันธุ์ที่กำลังเป็นที่สนใจตัวล่าสุด ณ ขณะนี้ COVID สายพันธุ์ Omicron (B.1.1.529) หรือเรียกกันว่า “โอมิครอน” (หรืออาจได้ยินในชื่อ โอไมครอน) เพราะอะไรทั่วโลกต่างให้ความสนใจไวรัสสายพันธุ์นี้? สายพันธุ์โอมิครอน ถ้าติดแล้วอาการจะรุนแรงไหม? จะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า (Delta) หรือเปล่า? เชื้อสายพันธุ์นี้ดื้อต่อวัคซีน ดื้อต่อยาไหม? การวินิจฉัยทำได้อย่างไร? และเราจะต้องดูแลตัวเองต่างไปจากเดิมอย่างไรบ้าง? โอมิครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์น่ากังวล แพร่เชื้อเร็ว COVID สายพันธุ์โอมิครอน หรือ B.1.1.529 ได้ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแอฟริกา โดยพบว่ามีการแพร่ระบาดไปตามจุดต่างๆ ทั่วโลก หลายประเทศตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ภายในไม่กี่วัน โดยพบผู้ติดเชื้อจากทั้งคนที่เคยไปแอฟริกา และไม่เคยไปแอฟริกา ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อในกว่า 57 ประเทศทั่วโลก (ข้อมูลจาก WHO ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2564) COVID โอมิครอน โควิดสายพันธุ์ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับสายพันธุ์โอมิครอนเป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC)LanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: OMICRON ทำไมถึงต้องจับตามอง”

COVID-19: รวมสายด่วนทั้ง 50 เขต ในกทม. 6 กลุ่มเขตร่วมใจพิชิตโควิด

กทม.ได้แจ้งเบอร์โทร สายด่วนโควิด ทั้ง 50 เขต แบ่งเป็น 6 กลุ่มเขต หรือติดต่อสายด่วนศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ โทร. 1669 ไลน์ @BKKCOVID19CONNECT กรุงเทพมหานคร เตรียมความพร้อมของบุคลากร สำรองเตียงพยาบาล ยาเวชภัณฑ์ เครื่องมือทางการแพทย์ และได้เปิดช่องทางการแจ้งข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนได้เข้าสู่ระบบการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วและปลอดภัย ได้แก่ สายด่วนศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ โทร. 1669ไลน์ @BKKCOVID19CONNECT  ซึ่งจะมีระบบคัดกรองประเมินอาการผู้ป่วยเบื้องต้น มีทีมแพทย์ให้คำปรึกษาในการดูแลตนเอง และส่งต่อผู้ป่วยเข้าระบบ Home Isolation หรือส่งต่อผู้ป่วยเข้าศูนย์พักคอย (CI) รวมทั้งการหาเตียงใน Hospitel หรือโรงพยาบาลสนาม ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก (ผู้ป่วยสีแดง) จะถูกส่งต่อไปที่ศูนย์เอราวัณเพื่อเร่งนำส่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ประชาชนสามารถใช้บริการได้โดยกดเพิ่มเพื่อน @BKKCOVID19CONNECT ในโทรศัพท์มือถือผ่านแอปพลิเคชันไลน์  สายด่วนโควิด ทั้ง 50 เขต กทม.ได้แจ้งเบอร์โทร สายด่วนโควิด ทั้ง 50 เขต แล้วดังนี้  กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ จตุจักรLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: รวมสายด่วนทั้ง 50 เขต ในกทม. 6 กลุ่มเขตร่วมใจพิชิตโควิด”

สถานการณ์โควิดยังคงเป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลกไปอีกอย่างน้อยๆ 2 ปี

ธนาคารโลก (World Bank) ประเมินว่าปี 2022 เศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัว โดยมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 4.1% ลดลงจากการประเมินครั้งก่อน.ส่วนถัดไปในปี 2023 สถานการณ์อาจยังดีขึ้นไม่มาก ทำให้อัตราเติบโตน้อยลงไปอีก อยู่ที่เพียง 3.2% ซึ่งสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์โควิดนั่นเอง.ปี 2020 เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตโควิดรอบแรก ขณะที่ธุรกิจใหญ่ๆ ทั่วโลก เช่น สายการบิน ค้าปลีกและอุตสาหกรรมน้ำมันก็ซบเซาอย่างหนัก.จากนั้นนักลงทุนทั่วโลกก็ตกเป็นฝ่ายตั้งรับต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และลงทุนอย่างระมัดระวัง เพราะแทบทุกครั้งที่ชีพจรเศรษฐกิจโลกดีขึ้น ไม่นานก็เกิดการระบาดอีก นี่ทำให้เศรษฐกิจโลกคล้ายคนไข้ที่อาการมีแต่ทรงกับทรุด.ช่วงปลายปี 2021 การระบาดลดลงไปมาก จนเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่แล้วข่าวร้ายก็ปรากฏ โดยโควิดเกิดการพันธุ์เป็นสายพันธุ์โอไมครอน และระบาดลามไปทั่วโลก.นอกจากนี้ยังมีรายงานการผสมกับโรคอื่นๆ เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ทั้งโควิดและไข้หวัดใหญ่ ที่เรียกว่า ฟลอโรน่าในอิสราเอล.ส่วนประเทศใหญ่ๆ ก็มีรายงานผู้ติดเชื้อรายวันแบบสูงสุดเป็นสถิติใหม่ (New High) ให้เห็น ล่าสุดคือในฝรั่งเศส โดย 11 มกราคมจำนวนผู้ติดเชื้อ อยู่ที่ราว 368,000 คน ทำลายสถิติเดิมที่ราว 332,000 คนของเมื่อ 5 มกราคม.ด้านจีนแม้ยังรับมือการระบาดได้ดี แต่จำนวนเมืองที่จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ก็กำลังเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มต้องประกาศใช้เพิ่มขึ้นอีกLanjutkanLanjutkan membaca “สถานการณ์โควิดยังคงเป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลกไปอีกอย่างน้อยๆ 2 ปี”

อาการของ Flurona คืออะไร? คนเป็นไข้หวัดและโควิดในเวลาเดียวกัน

กรณีของ “flurona” ซึ่งผู้คนเป็นไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 ในเวลาเดียวกัน กลายเป็นพาดหัวข่าวมากมายในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เมื่อเดือนธันวาคมศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ( CDC ) รายงานว่ากรณีไข้หวัดใหญ่ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น หน่วยงานด้านสุขภาพในหลายรัฐ รวมถึงแคลิฟอร์เนียเท็กซัส และแคนซัส ได้รายงานกรณีของ flurona หลังจากมีผู้ป่วยในอิสราเอลในปี 2564 Flurona ไม่ใช่โรคที่ชัดเจนในตัวของมันเอง และไม่ใช่โรครูปแบบใหม่บางประเภท ดิ แอตแลนติกรายงานกรณีของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และโควิดในเวลาเดียวกัน ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญก็ยังสงสัยว่าการติดเชื้อไวรัสร่วมเช่นนี้อาจทำให้คนมีอาการรุนแรงขึ้นหรือไม่ เมื่อเทียบกับการติดเชื้อเพียงครั้งเดียว การศึกษาหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 พบว่าการเป็นไข้หวัดใหญ่อาจทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ปอดระหว่างการติดเชื้อร่วม ดร.สแตนลีย์ เพิร์ลแมน ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา จำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อวาดภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่เคยเป็นเช่นนี้ตลอดช่วงการระบาดใหญ่ เขาบอกกับNewsweekว่า: “มีเหตุผลทางทฤษฎีที่คิดว่า [ผู้ป่วย flurona] จะป่วยมากขึ้น เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ที่แนะนำว่าการติดเชื้อหนึ่งครั้งสามารถป้องกันโรคร้ายแรงในครั้งที่สอง ฉันคิดว่าเราต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาสิ่งนี้ . “แน่นอนว่าถ้าคนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคทั้งสอง ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่โรคร้ายแรงจะส่งผลให้เกิด แต่แน่นอนว่าสิ่งนี้ต้องการข้อมูลจากคลินิกด้วย” สิ่งที่ยากในการตรวจหาไข้หวัดใหญ่และโควิดคือโรคทั้งสองชนิดอาจมีอาการคล้ายคลึงกัน CDC ระบุว่าความแตกต่างระหว่างพวกเขาไม่สามารถระบุได้จากอาการเพียงอย่างเดียวและจำเป็นต้องมีการทดสอบ แม้ว่าระบุไว้ว่าโควิดอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงมากขึ้น และยังทำให้ผู้คนติดต่อกันได้นานขึ้นด้วย จากข้อมูลของ CDC อาการทั่วไปที่ COVID-19 และไข้หวัดใหญ่มีร่วมกัน ได้แก่ มีไข้หรือรู้สึกไข้/หนาวสั่นLanjutkanLanjutkan membaca “อาการของ Flurona คืออะไร? คนเป็นไข้หวัดและโควิดในเวลาเดียวกัน”

สหรัฐฯ รายงานจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วย COVID สูงสุดนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด

ปัจจุบัน เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสำหรับ COVID-19 มากขึ้นกว่าเดิม อัตราการรับเด็กเข้าใหม่สูงที่สุดนับตั้งแต่การระบาดใหญ่ จำนวนเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วย COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจาก Omicron ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เป็นบวกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ณ วันอังคาร เด็กและวัยรุ่นเฉลี่ย 766 คนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกวันเนื่องจาก COVID-19 ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม อัตราการรักษาในโรงพยาบาลของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเพิ่มขึ้นจาก 2.5 ต่อ 100,000 เป็นสี่ต่อ 100,000 Dr. Rochelle Walensky ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ( CDC ) กล่าวว่าเด็ก ๆ ยังคงมีจำนวนการรักษาในโรงพยาบาลสำหรับ COVID-19 น้อยที่สุดในทุกกลุ่มอายุ แต่โรงพยาบาลเด็กมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เคย ดร.เจนนิเฟอร์ คูสมา กุมารแพทย์ที่โรงพยาบาลเด็กลูรีในชิคาโก กล่าวว่า เธอได้เห็นจำนวนเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเนื่องจากตัวแปรโอไมครอน อย่างไรก็ตาม เด็กส่วนใหญ่ไม่ได้ป่วยหนัก ปัจจุบันเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีไม่มีสิทธิ์รับวัคซีน COVID-19 ไฟเซอร์กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่ายาสองโดสแบบเดิมไม่มีการป้องกันเพียงพอในเด็กอายุ 2 ถึง 4 ปี “ในฐานะกุมารแพทย์ ฉันหวังว่าเราจะมีวัคซีนสำหรับเด็กเล็กเหล่านี้แล้ว” กุสมากล่าว แนวโน้มที่น่าเป็นห่วงในเด็กที่อายุน้อยเกินกว่าจะรับการฉีดวัคซีนได้ตอกย้ำถึงความจำเป็นที่เด็กโตและผู้ใหญ่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันคนรอบข้างLanjutkanLanjutkan membaca “สหรัฐฯ รายงานจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วย COVID สูงสุดนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด”

COVID-19: Pangkas Nilai Vaksin di Singapura dengan data kematian akibat COVID

Menteri Kesehatan Singapura Ong Ye Kung mengatakan vaksin yang tersedia di negara itu jauh lebih efektif daripada tidak melakukan apa-apa, saat ia memohon agar tidak disuntik dalam menghadapi gelombang varian virus corona Omicron yang diperkirakan. Hampir 70% dari mereka yang meninggal karena Covid-19 tahun lalu di negara kota itu tidak sepenuhnya divaksinasi, menurut Ong, meskipunLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: Pangkas Nilai Vaksin di Singapura dengan data kematian akibat COVID”

Ada kemungkinan kesalahan deteksi bahkan jika korona baru “Stok deltakron” muncul di tren “Ada koalesensi seperti itu”

Varian baru dari virus corona baru telah ditemukan di Siprus ,  sebuah negara pulau di Mediterania timur, dan telah menjadi topik hangat. Bloomberg melaporkan bahwa tim peneliti di Universitas Siprus telah menemukan ” strain Deltacron ” yang menggabungkan sifat-sifat dari strain Delta dan Omicron . Varian perhatian ” Deltacron “Strain dikatakan memiliki infektivitas yang kuatLanjutkanLanjutkan membaca “Ada kemungkinan kesalahan deteksi bahkan jika korona baru “Stok deltakron” muncul di tren “Ada koalesensi seperti itu””

Jangan panik, deltakron mungkin saja terkontaminasi.

Pusat Genom Medis Rumah Sakit Ramathibodi Mengungkapkan informasi melalui halaman penggemar Facebook Center for Medical Genomics tentang isu COVID-19 “Deltacron”  bahwa dari jumlah orang yang bertanya di Pusat Genom Rumah Sakit Ramathibodi, kelahiran Apakah munculnya galur hibrida “Deltacron” di Siprus? Jawabannya mungkin tidak. Berkat  Dr. Tom Peacock, ahli decoding genetik Virus global, Inggris  telah men-tweet bahwa berdasarkan kode genetik, ada kemungkinan besarLanjutkanLanjutkan membaca “Jangan panik, deltakron mungkin saja terkontaminasi.”

COVID-19: วัคซีนไฟเซอร์ ส่งถึงหลายพื้นที่! บุคลากรรับเข็ม 3 แล้วกว่า 1.75 แสนราย

กรมควบคุมโรค เผยคืบหน้ากระจายวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้ง กทม. และต่างจังหวัด โดยวันที่ 6-7 ส.ค. ส่งอีก 68 จ. และ กทม. ล่าสุดหลายจังหวัดได้รับวัคซีนแล้ว เช่น สมุทรปราการ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เป็นต้น  เมื่อวันที่ 6 ส.ค. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเกี่ยวกับแผนการกระจายวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ที่ได้รับบริจาคจากประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า  ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดส่งในลอตแรกระหว่างวันที่ 4-7 สิงหาคม 2564 เพื่อฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ให้เป็นไปตามเกณฑ์และความจำเป็นของพื้นที่  โดยส่งให้หน่วยให้บริการรักษาพยาบาลต่างๆ โดยตรง และส่งให้สำนักอนามัย กรุงเทพฯ เพื่อนำไปกระจายให้หน่วยงานที่อยู่ในสังกัดของ กทม. หรือหน่วยงานอื่นที่แจ้งความประสงค์ไว้กับ กทม. อาทิ สถานพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก รพ.จุฬาลงกรณ์, ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาคลินิกเวชกรรม การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นต้น  นพ.โอภาส กล่าวว่าLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: วัคซีนไฟเซอร์ ส่งถึงหลายพื้นที่! บุคลากรรับเข็ม 3 แล้วกว่า 1.75 แสนราย”

COVID-19: กทม.เผาศพแล้วกว่า 3 พันศพ จากภาวะปกติเผาได้ 184 ศพต่อวัน ภาวะวิกฤตเผา 368 ศพต่อวัน

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยผลตรวจสอบเตาเผาศพผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 พื้นที่กทม. ปทุมธานี และนนทบุรี รวม 189 วัด พบศักยภาพ 1 เตาเผาได้ 4 ศพต่อวัน ขณะที่วัดในกทม.เผาศพแล้ว 3,067 ศพ ซึ่งภาวะปกติเผาได้ 184 ศพต่อวัน ภาวะวิกฤต เผาได้ 368 ศพต่อวัน ปัญหาคือ มีการเผาศพบางวัดเป็นพิเศษ ทำให้การใช้งานสูง ขณะนี้ได้แจ้งข้อมูลกับวัด สถานพยาบาล และพนักงานการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อเป็นข้อมูลให้ญาติทราบเพื่อกระจายการเผาแล้ว เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 ส.ค. นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กล่าวถึงการดำเนินการตรวจสอบเตาเผาศพ ว่า กองวิศวกรรมการแพทย์ของกรม ร่วมมือกับวิศวกรอาสาดำเนินการตรวจสอบเตาเผาศพผู้เสียชีวิตจากโควิด 19ในวัดในกทม. ปทุมธานีและ นนทบุรี โดยมีเป้าหมายจำนวน 189 วัด แยกเป็น กรุงเทพฯ 92 วัด ปทุมธานี 55LanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: กทม.เผาศพแล้วกว่า 3 พันศพ จากภาวะปกติเผาได้ 184 ศพต่อวัน ภาวะวิกฤตเผา 368 ศพต่อวัน”

COVID-19: หวั่นโควิด-19 ลามครอบครัว โพลอนามัย ชี้ ไม่ประเมินความเสี่ยงของคนในบ้าน สูง 83.4 %

ผลโพล จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชี้ ครอบครัวไม่มีการประเมินความเสี่ยงต่อการติดและแพร่เชื้อโควิด-19 ของคนในบ้านสูงถึงร้อยละ 83.4 แนะการป้องกันที่ดีที่สุดคือ สวมหน้ากากในบ้าน เว้นระยะห่าง และงดกินอาหารร่วมกัน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่พบมีการติดเชื้อกันเองภายในครอบครัวร้อยละ 20 มีการติดเชื้อกันภายในชุมชนร้อยละ 20 และจากข้อมูลการเสียชีวิตของผู้ป่วยในช่วง​ 14​ วันที่ผ่านมา พบผู้เสียชีวิตติดเชื้อในครอบครัว ร้อยละ 18 ติดจากเพื่อนบ้านในชุมชน​ ร้อยละ 23 และติด​จากการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงหรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยง ​ร้อยละ 51 อีกทั้งจากผลสำรวจอนามัยโพลประเด็น “การประเมินความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันโรคของครอบครัว” ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2564 พบว่าคนในครอบครัวไม่มีการประเมินความเสี่ยงของสมาชิกในบ้าน เช่น ไม่มีการสังเกตอาการเบื้องต้น ตรวจวัดอุณหภูมิ หรือไม่ใช้แอปพลิเคชัน ไทยเซฟไทย เป็นต้น สูงถึงร้อยละ 83.4  สำหรับในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พบว่า ประชาชนไม่มีการประเมินความเสี่ยงของคนในบ้าน ร้อยละ 67.5 ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในบ้านที่ประชาชนเห็นด้วยและสามารถทำได้มากที่สุดคือ การแยกกันกินเมื่ออยู่ในบ้านLanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: หวั่นโควิด-19 ลามครอบครัว โพลอนามัย ชี้ ไม่ประเมินความเสี่ยงของคนในบ้าน สูง 83.4 %”

COVID-19: กรมวิทย์เผยไทยพบเดลตาแล้วกว่า 91% ส่วนกทม.พบกว่า 95%

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือน! การตรวจหาภูมิคุ้มกัน ยังไม่มีข้อกำหนดป้องกันได้ขนาดไหน เป็นเพียงการยืนยันว่ามีภูมิคุ้มกันเท่านั้น จึงยังไม่มีที่ไหนบอกว่าจำเป็นต้องตรวจภูมิคุ้มกันหรือไม่ ขณะที่อธิบดีกรมวิทย์ เผยเจาะลึกสายพันธุ์เดลตา 76 จังหวัด เว้นสุพรรณบุรียังไม่เจอ แต่อาจจะยังตรวจไม่เจอ จึงไม่ได้แปลว่าไม่มี สรุปคือ เดลตาพบแล้วทุกจังหวัด เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ในการแถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด-19 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ข้อมูลการจำแนกตามสายพันธุ์ที่เฝ้าระวังช่วง สัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 31 ก.ค.- 6ส.ค. 2564 มีการสุ่มตรวจสายพันธุ์ทั่วประเทศ ประมาณ 1,632 ตัวอย่าง พบว่าเป็นสายพันธุ์เดลตา ประมาณ 1,499 ตัวอย่าง อัลฟา 129 ตัวอย่าง และเบตา 4 รายในพื้นที่ภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ สัดส่วนสายพันธุ์โดยเอาสถานการณ์ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นตัวแทนสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ภาพรวมทั้งประเทศ เป็นสายพันธุ์เดลตา 91.9 % อัลฟา 7.9 %LanjutkanLanjutkan membaca “COVID-19: กรมวิทย์เผยไทยพบเดลตาแล้วกว่า 91% ส่วนกทม.พบกว่า 95%”