นวัตกรรมฟาสต์แทร็ก พัฒนา ‘วัคซีนไข้มาลาเรีย’ ลดเวลาจาก 30 ปีเหลือ 10 ปี

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือนักวิจัยด้านไข้มาลาเรียจากนานาชาติดำเนินโครงการ “การศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย” ด้วยนวัตกรรมฟาสต์แทร็ก ชี้ลดเวลาการพัฒนาและประเมินวัคซีนจาก 30 ปี เหลือ 10 ปี สร้างแพลทฟอร์มใหม่การพัฒนาวัคซีนของโลก รศ.ดร.นพ.ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึง โครงการ “การศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย” (Malaria Infection Study Thailand: MIST) ว่าเป็นความร่วมมือของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดยหน่วยวิจัยมหิดลไวแว็กซ์ (MVRU) และหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด (MORU) กับนักวิจัยนานาชาติ พัฒนากระบวนการในการประเมินวัคซีนด้วยการใช้ “นวัตกรรมแบบเร่งด่วน หรือ ฟาสต์แทร็ก” มาช่วยลดระยะเวลาจากเดิมที่ต้องใช้เวลาถึง 20 – 30 ปี ให้เหลือเพียง 10 – 15 ปี โครงการนี้จะเริ่มจากการพัฒนากระบวนการในการทดสอบวัคซีนไข้มาลาเรียสายพันธุ์ไวแว็กซ์ ซึ่งเป็นการตัดตอนที่ต้นเหตุของโรค หากประสบความสำเร็จกระบวนการนี้จะถูกนำไปใช้กับการพัฒนาวัคซีนของโรคชนิดอื่นๆ ซึ่งจะช่วยยกระดับการพัฒนาวัคซีนของโลกและประเทศไทยได้รวดเร็วขึ้น “สาเหตุที่เริ่มจากการทดสอบวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรีย เพราะปัจจุบันทั่วโลกกำลังวิตกกับสถานการณ์เชื้อดื้อยาของไข้มาลาเรียที่กลับมาแพร่ระบาด ขณะที่รัฐบาลไทยก็ให้ความสำคัญและตั้งเป้ากำจัดไข้มาลาเรียให้หมดจากประเทศภายในปี 2567 สอดคล้องกับที่องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าจะให้ไข้มาลาเรียหมดไปจากโลกภายในปี 2573 ด้าน ดร.นิโคลัส เดย์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ดLanjutkanLanjutkan membaca “นวัตกรรมฟาสต์แทร็ก พัฒนา ‘วัคซีนไข้มาลาเรีย’ ลดเวลาจาก 30 ปีเหลือ 10 ปี”