นวัตกรรมฟาสต์แทร็ก พัฒนา ‘วัคซีนไข้มาลาเรีย’ ลดเวลาจาก 30 ปีเหลือ 10 ปี

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือนักวิจัยด้านไข้มาลาเรียจากนานาชาติดำเนินโครงการ “การศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย” ด้วยนวัตกรรมฟาสต์แทร็ก ชี้ลดเวลาการพัฒนาและประเมินวัคซีนจาก 30 ปี เหลือ 10 ปี สร้างแพลทฟอร์มใหม่การพัฒนาวัคซีนของโลก รศ.ดร.นพ.ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึง โครงการ “การศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย” (Malaria Infection Study Thailand: MIST) ว่าเป็นความร่วมมือของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดยหน่วยวิจัยมหิดลไวแว็กซ์ (MVRU) และหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด (MORU) กับนักวิจัยนานาชาติ พัฒนากระบวนการในการประเมินวัคซีนด้วยการใช้ “นวัตกรรมแบบเร่งด่วน หรือ ฟาสต์แทร็ก” มาช่วยลดระยะเวลาจากเดิมที่ต้องใช้เวลาถึง 20 – 30 ปี ให้เหลือเพียง 10 – 15 ปี โครงการนี้จะเริ่มจากการพัฒนากระบวนการในการทดสอบวัคซีนไข้มาลาเรียสายพันธุ์ไวแว็กซ์ ซึ่งเป็นการตัดตอนที่ต้นเหตุของโรค หากประสบความสำเร็จกระบวนการนี้จะถูกนำไปใช้กับการพัฒนาวัคซีนของโรคชนิดอื่นๆ ซึ่งจะช่วยยกระดับการพัฒนาวัคซีนของโลกและประเทศไทยได้รวดเร็วขึ้น “สาเหตุที่เริ่มจากการทดสอบวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรีย เพราะปัจจุบันทั่วโลกกำลังวิตกกับสถานการณ์เชื้อดื้อยาของไข้มาลาเรียที่กลับมาแพร่ระบาด ขณะที่รัฐบาลไทยก็ให้ความสำคัญและตั้งเป้ากำจัดไข้มาลาเรียให้หมดจากประเทศภายในปี 2567 สอดคล้องกับที่องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าจะให้ไข้มาลาเรียหมดไปจากโลกภายในปี 2573 ด้าน ดร.นิโคลัส เดย์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ดLanjutkanLanjutkan membaca “นวัตกรรมฟาสต์แทร็ก พัฒนา ‘วัคซีนไข้มาลาเรีย’ ลดเวลาจาก 30 ปีเหลือ 10 ปี”

5 ข้อแนะนำห่างไกลมาลาเรีย

1. อาการของมาลาเรีย อาจไม่ตรงไปตรงมา ผู้ป่วย อาจมีไข้สูง โดยไม่มีอาการหนาวสั่น หรือหนาวสั่นวันละ หลายครั้งได้ บางรายอาจมีไข้สูงตลอดเวลา อาจมี อาการปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจพบในโรคอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ทุกราย ควรถามถึงพฤติกรรม เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีประวัติเข้าป่าหรือมีประวัติเคยได้รับเลือดมาภายใน 2 สัปดาห์ ถึง 2 ปี หรือสงสัยว่าจะเป็นมาลาเรียจากการติดเชื้อทางอื่น (เช่น ลูกที่เกิดจากมารดาที่เคยเป็นมาลาเรีย เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการเลี้ยงยุงก้นปล่อง เจ้าหน้าที่ที่ตรวจเลือด หรือบุคคลที่บ้านอยู่ใกล้สนามบินซึ่งเครื่องบินอาจยุงก้นปล่องมาจากประเทศอื่น เป็นต้น) ก็ควรจะต้องเจาะเลือด ตรวจหาเชื้อมาลาเรีย 2. ผู้ป่วยมาลาเรีย อาจตรวจเลือดไม่พบเชื้อก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นโรคในระยะแรก ๆ (เชื้อมาลาเรียมีจำนวนน้อย) ดังนั้น ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจเลือดซ้ำอีกครั้ง ภายใน 12-24 ชั่วโมง หรือขณะมีไข้ การตรวจ เลือดบ่อย ๆ จะมีโอกาสพบเชื้อได้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่กินยาป้องกันมาลาเรียมาก่อน หรือกินยารักษามา บ้างแล้ว ก็จะทำให้ตรวจพบเชื้อมาลาเรียได้ลำบากมากขึ้น เพราะจะเห็นเชื้อมาลาเรียไม่ชัดเจนดังนั้นLanjutkanLanjutkan membaca “5 ข้อแนะนำห่างไกลมาลาเรีย”