แผลเบาหวานเท้า (Diabetic Foot)

แผลเบาหวานเท้า (Foot ulcers) คือ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยของโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการควบคุมที่ดี เป็นผลมาจากการที่เนื้อเยื่อผิวหนังแตกตัว และเผยให้เห็นชั้นใต้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดแผลอยู่ใต้นิ้วเท้า และเท้าของผู้ป่วยและอาจส่งผลไปถึงกระดูก

ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนสามารถเกิดแผลที่เท้านี้ได้ แต่การดูแลเท้าที่ดีสามารถช่วยป้องกันได้ การรักษาแผลที่เท้าจากเบาหวาน และอาการปวดเท้าจะแตกต่างกันไป โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง เนื่องจากแผลที่ติดเชื้ออาจส่งผลให้ต้องตัดแขนหรือขาได้

สาเหตุของแผลที่เท้าจากเบาหวาน

แผลเบาหวานเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • การไหลเวียนเลือดไม่ดี
  • น้ำตาลในเลือดสูง 
  • เส้นประสาทเสียหาย
  • เท้าเป็นแผล หรือมีอาการระคายเคือง

การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ส่งผลให้เลือดไม่ไหลเวียนไปที่เท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การไหลเวียนไม่ดี นั้นทำให้แผลหายได้ยากขึ้น

ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขัดขวางกระบวนการรักษาของแผลที่เท้าที่ติดเชื้อ ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มักจะต่อสู้กับการติดเชื้อจากแผลได้ยาก

การที่เส้นประสาทได้รับความเสียหาย จะส่งผลกระทบในระยะยาว และอาจทำให้เท้าสูญเสียการรับรู้ได้ เส้นประสาทที่ถูกทำลายอาจรู้สึกเสียว และเจ็บปวดในตอนแรก  แต่ความเสียหายของเส้นประสาทจะทำให้ความไวต่อการรับรู้ความเจ็บปวดลดลง

ผิวแห้งนั้นพบได้บ่อยในโรคเบาหวาน เท้าสามารถแตกได้ง่ายขึ้น อาจทำให้เกิดแผลผุผองและเลือดออกได้

อาการ แผลเบาหวานที่เท้า

ระยะแรก อาจไม่มีอาการใดๆ เมื่อมีการตีบตันมากขึ้นจะเริ่มมีปัญหาการปวดที่ขาเวลาเดินได้ซักระยะหนึ่งจนจำเป็นต้องหยุดพัก   

ระยะต่อมา :  การตีบตันเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มเดินได้น้อยลงเพราะความปวด อาจมีแผลเกิดขึ้นซึ่งแผลรักษาไม่หายด้วยการรักษาปกติ จนไปถึงนิ้วเท้าดำ ตาย เสียขาได้ มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ที่ไม่มีอาการปวดขาใดๆ เลยจนกระทั่ง เกิดแผลไม่หาย หรือ นิ้วเท้าดำตาย ซึ่งโรคได้ดำเนินไปมากแล้ว

การรักษา แผลเบาหวานเท้า

ไม่ใช้งานเท้าในส่วนที่เป็นแผลที่เท้าจากเบาหวานจนเกินไป การใช้งานหนักจากการเดินทำให้การติดเชื้อแย่ลง และแผลขยายขนาด สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากการกดทับ ก็เป็นสาเหตุของการปวดข้อเท้า

  • ดูแลเหมือนแผลทั่วไปตามคำแนะนำและการรักษาของแพทย์เฉพาะทาง
  • รักษาที่ต้นเหตุหรือสิ่งที่ทำให้เกิดแผล ได้แก่ ควบคุมน้ำตาล ดูแลเส้นเลือดตีบ ดูแลเส้นประสาทที่เสื่อม หากเท้าผิดรูปควรแก้ที่รองเท้า ระวังไม่ให้เกิดแรงกดทับบริเวณ Callus เช่น หนุนตรงอื่นไม่ให้ถูกกดทับ เป็นต้น
  • การบำบัดรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy – HBOT) โดยให้ผู้ป่วยหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% ขณะนอนอยู่ในห้องที่มีความดันภายในมากกว่าความกดดันของบรรยากาศ (Hyperbaric Chamber) เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่าการให้ออกซิเจนตามปกติ เมื่อออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้น ออกซิเจนละลายอยู่ในเลือดสูงกว่า จะสามารถแก้ภาวะพร่องออกซิเจน ลดการบวมของเนื้อเยื่อ ส่งเสริมการซ่อมแซมบาดแผล ทำให้แผลหายเร็ว โดยผู้ป่วยจะเข้าไปในเครื่อง HBOT วันละ 1 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมงครึ่ง

ดูแลหลังรักษาแผลเบาหวาน

  • ควบคุมเบาหวานให้ดี
  • ทำความสะอาดเท้าทุกวัน
  • ตรวจเท้าและฝ่าเท้าทุกวัน เช็กดูว่ามีแผลที่เท้าหรือมีรอยถลอกหรือไม่
  • ทาครีมไม่ให้เท้าแห้งแตก ยกเว้นซอกนิ้วเท้าไม่ต้องทาต้องให้แห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ถ้าเท้าผิดรูปอาจต้องตัดรองเท้าให้รับกับรูปเท้า

การดูแลรักษาแผลเบาหวานทั้งที่เท้าและบริเวณอื่น ๆ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรีบรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้แผลลุกลามรุนแรงจนเกินเยียวยา ซึ่งการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการดูแลบาดแผลที่พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีในการรักษา พร้อมทั้งการติดตามดูแลรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านโรคเบาหวาน  ย่อมช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น และทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น

[Total: 0 Average: 0]