เคมีบำบัด (Chemotherapy)

การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) หมายถึง การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง การออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดนั้นอยู่บนพื้นฐานความรู้เรื่องการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต ดังนั้นหากเราให้ยาเคมีบำบัดที่สามารถไปยับยั้งการแบ่งเซลล์ดังกล่าวนี้ ก็จะสามารถทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไปได้

ยาเคมีบําบัด หรือที่คนโดยส่วนใหญ่เรียกสั้นๆ ว่า “คีโม” ย่อมาจาก “คีโมเทอราปี” (Chemotherapy) หมายถึง สารเคมีหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ต้าน หรือทําลายเซลล์มะเร็ง โดยมีเป้าหมายสําคัญ คือ ยาเคมีบําบัดจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งหลายรูปแบบที่แบ่งตัวเร็ว และต่อเนื่อง ทําให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวต่อไป และตายในที่สุด

อย่างไรก็ดีเนื่องจากยาเคมีบำบัดไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งเท่านั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติของร่างกายทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนายาเคมีบำบัดรุ่นใหม่ๆ จากองค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งโดยตรง (Targeted Chemotherapy) ทำให้มีประสิทธิภาพในการรักษาดีขึ้นกว่าในอดีต ช่วยลดผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

ทำไมต้องให้ยาเคมีบำบัด?

โดยทั่วไปการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด มีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • รักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคมะเร็ง และไม่กลับมาเป็นซ้ำ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะเริ่มต้น
  • ควบคุมโรค ให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้น และไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น
  • บรรเทาอาการจากโรค สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ทั้งนี้ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วย โรคประจำตัว รวมถึงการทำงานของอวัยวะระบบต่างๆ เพื่อพิจารณาเลือกให้ยาเคมีบำบัด ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด และมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อยที่สุดด้วย

ยาเคมีบำบัดเป็นเช่นไร ?

            ยาเคมีบําบัด มีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่เป็นยาฉีดโดยการหยดร่วมกับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดํา ยาเคมีบําบัดแบบรับประทานช่วยในการบริหารยาสะดวกมากขึ้น ลดการนอนพักเพื่อให้ยาเคมีบําบัดในโรงพยาบาล การให้ยาเคมีบําบัดในรูปแบบอื่นพบไม่บ่อย เช่น การให้ยาเคมีบําบัดทางหลอดเลือดแดง ในโรคมะเร็งตับจะให้ยาเคมีบําบัดทางช่องไขสันหลังที่มีน้ำไขสันหลัง เพื่อจัดการมะเร็งที่กระจายเข้าไปในเยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลัง

เพราะเหตุใดจึงต้องมีช่วงเวลาพักในการให้ยาเคมีบำบัด?

            เซลล์ ปกติในร่างกายบางชนิดมีการแบ่งตัวต่อเนื่อง อาทิ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินอาหาร เส้นผม ดังนั้น การทําลายเซลล์มะเร็งของยาเคมีบําบัด อาจทําลายเซลล์ปกติในร่างกายที่กําลังแบ่งตัวด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วเซลล์ปกติของร่างกายจะมีกําลังที่จะสามารถฟื้นตัวได้ในภายหลังจากหยุดพักยาเคมีบําบัดชั่วคราว การให้ยาเคมีบําบัดจึงต้องมีระยะเวลาพักยา เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวจากผลข้างเคียงของยา สูตรยาเคมีบําบัดจึงเป็นการให้ยาเป็นระยะ สำหรับสภาวะร่างกายหลังได้รับยาเคมีบำบัดการฟื้นตัว อาการจากผลข้างเคียงของยาเคมีบําบัดที่จะเกิดขึ้นในแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของเคมีบําบัดที่ได้รับ สภาพร่างกายก่อนที่ได้รับยาเคมีบําบัด ชนิด และระยะของโรคมะเร็ง จะพบว่าผลข้างเคียงที่มักพบได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่คือ อาการอ่อนเพลีย ซึ่งอาจจะเกิดประมาณ 3-7 วันหลังจากได้รับยาเคมีบําบัด หากผู้ป่วยรู้สึกว่าหายจากอาการอ่อนเพลีย และผลข้างเคียงต่างๆ จากยาเคมีบําบัด ก็สามารถทำงานที่รับผิดชอบได้ตามปกติ

[Total: 2 Average: 5]