มดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน ( Prolapsed Uterus) คือ เกิดจากมดลูกมีการเคลื่อนย้ายต่ำลงจากตำแหน่งเดิมมาจนถึงปากมดลูก อาจยื่นออกมาจากช่องคลอด อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่ลองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน หากมีความรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นได้เช่นกันเช่น ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ทวารหนัก และ มดลูกต่ำ ( Pelvic Organ Prolapse ) หรือมดลูกหย่อน

สาเหตุ มดลูกหย่อน

เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานที่อยู่ในภาวะหย่อนยานเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการคลอดบุตรบ่อยๆ มีบุตรมาก ทารกตัวใหญ่ การเข้าสู่ภาวะวัยทองที่ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ท้องผูกมากจนทำให้เกิดการเบ่งอุจจาระแรงๆ หรือแม้แต่การมีน้ำหนักตัวมาก รวมถึงโรคเนื้องอกในมดลูกแล้วถ่วงจนทำให้มดลูกหย่อนยาน การยกของหนัก และการผ่าตัดมดลูกก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน

อาการ มดลูกหย่อน

ภาวะมดลูกหย่อนหรือมดลูกต่ำจะแสดงอาการที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ผู้ที่เกิดมดลูกหย่อนเพียงเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ส่วนผู้ที่เกิดภาวะมดลูกหย่อนค่อนข้างรุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก อาจมีอาการ ดังนี้

  • รู้สึกหน่วงเหมือนถูกถ่วงที่อุ้งเชิงกราน หรือรู้สึกมีบางสิ่งโผล่ออกมาจากช่องคลอด ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องดันกลับเข้าไปข้างในช่องคลอด รวมทั้งรู้สึกคล้ายนั่งทับลูกบอลเล็ก ๆ
  • มีเนื้อเยื่อโผล่ออกมาจากช่องคลอด หรือมองเห็นมดลูกโผล่ออกมาจากช่องคลอด
  • เลือดออกจากช่องคลอด
  • มีตกขาวมากขึ้น
  • รู้สึกไม่สบายหรือลำบากเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะได้ช้า รู้สึกปัสสาวะไม่สุดและต้องการปัสสาวะตลอดเวลาหรือปัสสาวะเล็ดเมื่อไอ จาม หรือออกกำลังกาย
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบหลายครั้ง
  • ท้องผูก
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • เดินไม่สะดวก

หากอาการดังกล่าวไม่ทุเลาและแย่ลงเรื่อย ๆ ปัสสาวะและขับถ่ายลำบาก หรือมดลูกหย่อนออกมาทั้งหมด ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ผู้ที่ประสบภาวะมดลูกหย่อนและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเสี่ยงมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ในระยะยาวได้

การรักษา มดลูกหย่อน

การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย หากอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของผู้ป่วยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยแพทย์แนะนำให้รักษาอาการมดลูกต่ำโดยไม่ต้องผ่าตัดแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ลดน้ำหนักกรณีคนอ้วน หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ป้องกันไม่ให้ท้องผูก

  • การบำบัดทางกายภาพของอุ้งเชิงกราน เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงโดยการฝึกขมิบช่องคลอด
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการหย่อนของมดลูก
  • การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด
  • การผ่าตัด ในกรณีเกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด
[Total: 0 Average: 0]