โรคกระดูกข้อสะโพกตาย

คือภาวะที่เซลล์กระดูกในหวสะโพกตายจากสาเหตุต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงกระดูก
หัวสะโพก ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดการยุบตัวของกระดูกหัวสะโพกตามมา หากไม่ได้รับการรักษาโรคจะดาเนินไปเรื่อย ๆ จนเกิดภาวะขอสะโพกเสื่อมตามมาและเป็นสาเหตุสำคัญอันดับแรกที่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนขอสะโพกเทียม

โรคกระดูกข้อสะโพกตาย พบได้ในช่วงอายุ 30-40 ปี เกิดจากเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวกระดูกข้อสะโพกเกิดการอุดตัน หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้เลือดไม่สามารถนำสารอาหารมาหล่อเลี้ยงหัวกระดูกข้อสะโพกได้จนทำให้เซลล์หัวกระดูกข้อสะโพกค่อยๆ ตาย และผิวข้อสะโพกเสีย หลังจากนั้นหัวกระดูกข้อสะโพกจะไม่สามารถรับน้ำหนักร่างกายได้จึงเกิดการยุบตัวของหัวกระดูก สร้างความเจ็บปวดต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และทำให้ไม่สามารถเดินได้ตามปกติ

สาเหตุ โรคกระดูกข้อสะโพกตาย

การเกิดสภาวะดังกล่าว อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้

  • สาเหตุอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่กระดูกสะโพกที่พบบ่อยคือ กระดูกหัก หรือเคลื่อนหลุด
  • สาเหตุอันเกิดจากภาวะที่กระดูกตายอันเนื่องมาจากโรคประจำตัวหรือได้รับสารพิษบางประเภท เช่น แอลกอฮอล์ในปริมาณมากรวมถึงการได้รับยาบางประเภท

อาการ โรคกระดูกข้อสะโพกตาย

ในระยะแรกที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดที่ขาหนีบหรือข้อสะโพก และเวลาเดินจะมีอาการปวดมากขึ้น ต่อมาจะยืนเดินลำบากมาก และรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อขยับข้อสะโพก

ความรุนแรงแบ่งเป็นหลายระดับ อาการแรกที่พบได้คือปวดสะโพก และอาจจะนำไปสู่การปวดแบบตื้อหรือปวดตุ๊บๆที่บริเวณขาหนีบหรือสะโพก หากเป็นมากขึ้นจะทำให้คนไข้ยืนได้ลำบากมากขึ้น เพราะว่าต้องทิ้งน้ำหนักลงบนสะโพกข้างนั้น และทำให้ปวดมากขึ้นเมื่อเวลาต้องขยับข้อสะโพก

ระยะเวลาการดำเนินไปของโรคจากระดับความรุนแรงระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งมีตั้งแต่ หลายเดือนไปจนถึงเป็นปี หากได้รับการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ อาจจะทำให้ได้รับผลดีกว่า

การรักษา โรคกระดูกข้อสะโพกตาย

สำหรับการรักษาโรคนี้โดยการทำกายภาพบำบัด เป็นเพียงประคับประคองตามอาการเท่านั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดข้อสะโพก  แต่จะผ่าตัดเล็กหรือผ่าตัดใหญ่ขึ้นอยู่กับการตรวจพบเร็วแค่ไหน ดังนั้นถ้ามีอาการที่สงสัยหรือทำให้เกิดการกังวลอย่านิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์และรักษาทันที

ระยะที่ 1-2 ระยะที่หัวสะโพกยังคงรูปร่างเดิมอยู่ สามารถรักษาโดยการผ่าตัดระบายความดันในหัวสะโพก (core decompression) เพื่อรักษาหัวสะโพกเดิมไว้ โดยในช่วงแรกหลังผ่าตัด จะต้องใช้ไม้ค้ำยันเพื่อไม่ลงน้ำหนักที่สะโพกข้างนั้น ให้สะโพกข้างนั้นได้มีการฟื้นฟูสภาพและลดโอกาสการยุบตัวของกระดูกหัวสะโพก                       

ระยะที่ 3-4 เมื่อหัวสะโพกมีการยุบตัวหรือเสื่อมแล้ว การรักษาจะเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (hip arthroplasty) เพื่อทดแทนหัวสะโพกเดิมที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพก, สูญเสียการเคลื่อนไหวไปซึ่งถือว่าเป็นการผ่าตัดที่ให้ผลการรักษาที่ดีมากในปัจจุบัน

[Total: 0 Average: 0]