การรักษา โรคปวดข้อรูมาตอยด์

หากสงสัย ควรแนะนำไปโรงพยาบาล การตรวจเลือดจะพบค่าอีเอสอาร์ (ESR) สูง และมักจะพบรูมาตอยด์แฟกเตอร์ (rheumatoid factor) เอกซเรย์ข้อจะพบมีการสึกกร่อนของกระดูก และความผิดปกติของข้อ

การรักษา ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ตัวที่ใช้ได้ผลดีและราคาถูก ได้แก่ แอสไพริน ผู้ใหญ่วันละ 4-6 กรัม (12-20 เม็ด) เด็กให้ขนาด 60-80 มก./กก./วัน โดยแบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และกินร่วมกับรานิทิดีน เพื่อป้องกันมิให้โรค แผลเพ็ปติก

ยานี้ต้องกินติดต่อกันทุกวัน นานเป็นเดือน ๆ หรือ ปี ๆ จนกว่าอาการจะทุเลา (โดยทั่วไปต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 เดือน) ขณะเดียวกันก็ควรให้การักษาทางกายภาพบำบัด รวมไปด้วย เช่น การใช้น้ำร้อนประคบ การแช่หรืออาบน้ำอุ่น ซึงมักจะแนะนำให้ทำในตอนเช้านาน 15 นาที

ผู้ป่วยควรพยายามขยับข้อต่าง ๆ อย่างช้า ๆ ท่าละ 10 ครั้ง ทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง จะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ หลังจากให้กินแอสไพรินได้ 1 สัปดาห์ ควรแนะนำ ให้ผู้ป่วยทำการฝึกกายบริหารในท่าต่าง ๆ ซึ่งควรทำเป็น ประจำทุกวัน จะช่วยให้ข้อทุเลาความฝืดและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยควรหาเวลาพักผ่อน สลับกับการ ทำงาน หรือการออกกำลังกายเป็นพัก ๆ

ในรายที่เป็นรุนแรง อาจต้องนอนพักรักษาตัวใน โรงพยาบาล นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน และอาจต้อง เข้าเฝือกเพื่อให้ข้อที่ปวดได้พักอย่างเต็มที่

ในรายที่ใช้แอสไพรินไม่ได้ผล ควรเปลี่ยนไปใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์  ตัวอื่น

ถ้ายังไม่ได้ผล อาจต้องให้ไฮดรอกซีคลอโรควีน (hydroxychloroquine) หรือสารเกลือของทอง (gold salt) เช่น ออราดนฟิน (auranofin) ควบด้วย เพื่อลดการอักเสบ ซึ่งมักจะได้ผลค่อนข้างดี
ในบางรายอาจต้องให้สตีรอยด์ เพื่อลดการอักเสบ (แต่จะกินเป็นระยะสั้น) หรือให้ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive) เช่น เทโทเทรกเซต (methotre-xate) ไซโคลฟอสฟาไมด์ (cyclophosphamide) เป็นต้น

[Total: 0 Average: 0]