การรักษา ไมเกรน

1.ขณะที่มีอาการกำเริบ ให้ยาบรรเทาปวด ได้แก่ ยาแก้ปวด หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ในรายที่เป็นรุนแรงอาจให้ยารักษาไมเกรน เช่นคาเฟอร์กอต แทน

ถ้ามีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนให้ยาแก้อาเจียน เช่น เมโทโคลพราไมด์ ดอมเพอริโน 

ข้อสำคัญ การให้ยาบรรเทาปวด ต้องรีบกระทำทันทีเมื่อเริ่มรู้สึกมีอาการ จึงได้ผลดี และควรแนะนำให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนพักในห้องมืดและเงียบ ๆ

2.ถ้าปวดรุนแรงปวดติดต่อกันนานเกิน 72 ชั่วโมง แขนขาอ่อนแรงหรือหมดสติ หรือสงสัยเกิดจากสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ เช่น ต้อหินเฉียบพลัน)โรคหลอดเลือดสมองแตก ศีรษะได้รับบาดเจ็บ/เลือดออกใน สมองเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว อาจจำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เจาะหลัง ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ถ้าตรวจพบว่าเป็นไมเกรน ก็จะให้ยารักษาไม-เกรนสำหรับชนิดปวดรุนแรง ได้แก่ ซูมาทริปแทน (su matriptan) กินขนาด 50-100 มก.ครั้งเดียว ส่วนใหญ่ อาการมักทุเลาภายใน 4 ชั่วโมงหลังให้ยา ในกรณีที่มีอาการปวดไมเกรนนานเกิน 72 ชั่วโมง (ซึ่งพบได้น้อย) แพทย์อาจต้องให้ยานี้ซ้ำหลายครั้ง (แต่ไม่ควรเกิน 300 มก./24 ชั่วโมง) ร่วมกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์

ในบางกรณี แพทย์อาจพิจารณาให้ยาอื่นแทน เช่น ฉีดไดโดรเออร์โกตามีน (chlorpromazine) 25-30 มก.เข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเดกซาเมทาโซน 4- 8 มก.เข้าหลอดเลือดดำ หรือให้เพร็ดนิโซโลน กินวันละ 60 มก.วันละครั้ง  เป็นระยะเวลา 3-4 วัน

ในกรณีที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงหรือหมดสติ (เป็นอาการแสดงของไมเกรนชนิดรุนแรง ซึ่งพบได้น้อยมาก) ก็จำเป็นต้องให้การรักษาแบบประคับประคอง อาการจะเป็นอยู่ชั่วคราว และหายได้เอง

3.ในรายที่มีอาการมากกว่าเดือนละ 3 ครั้ง ควรให้ยาป้องกัน ถ้าใช้ยาไม่ได้ผล หรือมีอาการปวดแทบทุกวัน (มากกว่า 15วัน/เดือน) ซึ่งถือว่าเป็นไมเกรนเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุ

[Total: 0 Average: 0]